Quantcast
Channel: ประชาชื่น –มติชนออนไลน์
Viewing all articles
Browse latest Browse all 6405

อาชญากรรมรัฐในอุษาคเนย์ เหยื่อในความเงียบ ‘ไม่เคยลืม’

$
0
0

ความขัดแย้งในสังคมเป็นสิ่งธรรมดา แต่ความผิดพลาดจะเกิดขึ้นเมื่อมีการเริ่มต้นใช้ความรุนแรง โดยเฉพาะความรุนแรงที่รัฐใช้กับคนเห็นต่างในสังคม จนกลายเป็นการสังหารหมู่

และจะน่าเศร้ากว่านั้นหากผู้คนในสังคมยังคงเชื่อว่าเป็นสิ่งถูกต้อง หรือมีการลบความทรงจำของคนรุ่นใหม่ไม่ให้จดจำเรื่องนี้ได้ จนกลายเป็นเหตุการณ์เล็กๆ ที่สังคมลืมเลือน

ดินแดนในอาเซียนก็เกิดเหตุการณ์สังหารหมู่หลายครั้ง เช่นเดียวกับภูมิภาคอื่นทั่วโลก เหตุการณ์โหดร้ายที่ชัดเจนคงเป็น ยุคเขมรแดง ของกัมพูชา (1975-1979) แต่ช่วงก่อนหน้านั้นสิบปีที่ดินแดนอินโดนีเซียก็เกิดเหตุสังหารหมู่อันน่าเสะเทือนใจไม่แพ้กัน

ปี 1965-1966 เกิดเหตุการณ์กวาดล้างคอมมิวนิสต์ในอินโดนีเซีย จุดเหตุในวันที่ 30 กันยายน 1965 ทหารระดับสูง 6 คนถูกสังหารโดย เกสตาปู หรือขบวนการ 30 กันยายน นายพลซูฮาร์โต ปราบปรามกลุ่มเกสตาปูใน 2 วัน แล้วออกมาประกาศว่าเบื้องหลังการรัฐประหารที่ล้มเหลวครั้งนี้มีพรรคคอมมิวนิสต์อยู่เบื้องหลัง ภายหลังท่าทีของนายซูการ์โน ประธานาธิบดี ที่บอกว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องภายในกองทัพ ทำให้คะแนนนิยมของเขาลดฮวบ จนถูกบีบออกจากตำแหน่ง และนายพลซูฮาร์โตขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีคนที่สอง

นำสู่กระบวนการกวาดล้างคอมมิวนิสต์ในอินโดนีเซีย

นายพลซูฮาร์โตจัดตั้งกลุ่มยุวชนปัญจศิลา (Pancasila Youth) กองกำลังชาวบ้านชาตินิยมกึ่งทหาร และให้ใบอนุญาตฆ่า ส่งผลให้มีการสังหารหมู่คอมมิวนิสต์ในอินโดนีเซีย จำนวนผู้เสียชีวิตไม่แน่นอน โดยมีการคาดการณ์ตัวเลขตั้งแต่ 5 แสนถึง 2 ล้านคน

Documentary Club นำสารคดี 2 เรื่องเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ The Act of Killing : ฆาตกรรมจำแลง และ The Look of Silence : ฆาตกรเผยกาย ภาพยนตร์เกี่ยวกับนักฆ่าในเหตุการณ์สังหารหมู่ และเหยื่อที่ยังคงต้องเร้นกายในความเงียบจนถึงปัจจุบัน โดยผู้กำกับ Joshua Oppenheimer ชาวอเมริกันที่ลงพื้นที่ทำสารคดีเรื่องนี้หลายปี

pra01220259p2

ไม่มีที่ทางให้ความทรงจำของเหยื่อ

พวงทอง ภวัครพันธุ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในปี 1965-1966 โดยมีคนเสียชีวิต 5 แสนถึง 1 ล้านคน มีคนถูกคุมขังมากกว่า 1 ล้านคน ถูกขังตั้งแต่ไม่กี่ปีจนสูงสุด 32 ปี โดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรม

“การมีประชาธิปไตยในอินโดนีเซียตั้งแต่ซูฮาร์โตลงจากอำนาจ ไม่เกี่ยวข้องกับการเอาคนผิดมาลงโทษ ไม่มีความพยายามรื้อฟื้นความยุติธรรม จึงเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่เรื่อยๆ จึงอาจเรียกได้ว่าเป็น Illiberal Democracy ก็ได้ ผลกระทบของคนที่ถูกจับเมื่อได้รับการปล่อยตัวกลับถูกลงโทษซ้ำจากชุมชน ไม่สามารถเข้ารับราชการได้ ต้องรายงานตัวกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเป็นประจำ ยิ่งครอบครัวที่เป็นคอมมิวนิสต์เด็กที่เกิดมาใหม่ในครอบครัวจะโดนผลกระทบด้วย

“ความทรงจำของเหยื่อไม่มีที่ทางในสังคม ถูกปราบให้อยู่ในความเงียบ ซ้ำผู้กระทำยังไม่รู้สึกผิด เพราะผู้ชนะยังอยู่ในอำนาจอีก 32 ปี และยังบอกว่านี่เป็นการกระทำของคอมมิวนิสต์ ถ้าปล่อยให้อินโดนีเซียเป็นคอมมิวนิสต์ก็คือการทำลายชาติ การกระทำกองทัพและประชาชนที่เกี่ยวข้อง เป็นการรักชาติ ปกป้องชาติ เกิดการผลิตภาพยนตร์และแบบเรียนที่ทำให้คนเชื่อว่าคอมมิวนิสต์เป็นพวกโรคจิต ไม่มีศาสนา มั่วคู่นอน เลวร้าย ซึ่งเป็นการสร้างความเป็นธรรมให้กับความรุนแรงในปี 1965”

ภาพยนตร์อาจทำให้คนดูรู้สึกว่าคนอินโดนีเซียเป็นพวกกระหายเลือด ซึ่งพวงทองมองว่ามีคำอธิบายได้มากกว่านี้ ไม่ได้มีแค่กลไกรัฐหรือทหารที่เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ยังมีมวลชนที่เป็นชาวบ้านด้วย มีการจัดตั้งกลุ่มปัญจศิลาที่มีสมาชิกราว 3 ล้านคน สูงสุดถึง 10 ล้านคน คนเหล่านี้อาจเทียบได้กับลูกเสือชาวบ้านหรือกระทิงแดง โดยปัญจศิลามีกองทัพหนุนหลังชัดเจน กลุ่มปัญจศิลาเข้าไล่ล่าคนที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ รางวัลที่ได้คือ สถานะทางการเมืองและสังคม ตั้งตัวเป็นแก๊งสเตอร์รีดไถคนทำธุรกิจโดยรัฐทำเอาหูไปนาเอาตาไปไร่

“ระบอบซูฮาร์โตไม่ต้องการให้คนลืมเหตุการณ์นี้ แต่ต้องการให้จำในแบบที่เขาต้องการ ทำให้เหยื่อรู้สึกว่า คอมมิวนิสต์ถูกล่าและพร้อมจะถูกลงโทษเสมอ เมื่อเหยื่อไม่สามารถทำอะไรได้ สิ่งที่ดีที่สุดคือการลืม แต่รัฐบาลอินโดนีเซียต้องการให้เรื่องนี้ฝังลึกในความทรงจำของเหยื่อ ซึ่งโหดร้ายมาก
“มีการสำรวจพบว่านักศึกษาในมหาวิทยาลัยกว่าครึ่งไม่รู้จักเหตุการณ์นี้เลย และไม่มีการขอโทษอย่างตรงไปตรงมา มีเพียงการแสดงเชิงสัญลักษณ์ นำเหยื่อมาจัดงานร่วมกับกลุ่มมุสลิมเพื่อแสดงถึงความเท่าเทียม เป็นการแสดงให้เห็นการต่อสู้ของเหยื่อเพื่อกลับมาเป็นมนุษย์อีกครั้ง แม้แต่โจโก วิโดโด ประธานาธิบดีปัจจุบัน ก็ไม่ขอโทษในเรื่องนี้ เพราะระบอบซูฮาร์โตยังมีชีวิตและอิทธิพลทางการเมืองมาจนปัจจุบัน จึงยากจะคืนความยุติธรรมให้กับเหยื่อ เป็นปัญหาร่วมในหลายสังคมรวมถึงไทย ในกรณีที่คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความรุนแรงยังมีชีวิตอยู่” พวงทองกล่าว

pra01220259p3
(ซ้าย) ฉากจาก The Act of Killing นำอดีตนักฆ่ามาสวมบทบาทเหยื่อ จำลองฉากการฆ่าในปี 1965-1966 (ขวา) ฉากจาก The Look of Silence เผยเรื่องราวของครอบครัวเหยื่อที่กลับมาเผชิญหน้ากับกลุ่มนักฆ่าและผู้เกี่ยวข้อง

ตราบใดมีวิชาประวัติศาสตร์ จะมีการรื้อฟื้น

อีกความเห็นหนึ่งจากนักประวัติศาสตร์ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ให้ความเห็นภายหลังจากดูภาพยนตร์เรื่อง The Act of Killing จบว่า มีหนังบางเรื่องที่เราดูแล้วคิดอะไรไม่ออก เหมือนโดนสะกดจิต เช่นเดียวกับ The Act of Killing นี่คือส่วนหนึ่งของอาชญากรรมที่รัฐก่อในดินแดนอุษาคเนย์ ในไทยเองก็มีเหตุการณ์ที่รัฐก่ออาชญากรรมมากมาย เช่น 14 ตุลาคม 2516-6 ตุลาคม 2519-พฤษภาคม 2535-พฤษภาคม 2553

“อาชญากรรมรัฐใกล้ตัวที่เห็นได้ในประเทศไทยน่าจะใกล้เคียงกับเรื่องรามายณะหรือรามเกียรติ์ ที่มีการแบ่งความดีความชั่วชัดเจน แต่ The Act of Killing มีความซับซ้อน เรื่องในอินโดนีเซียเป็นมหาภารตะ มีความซับซ้อน ไม่สามารถเข้าใจได้ง่ายๆ การสังหารหมู่ในกรณีอินโดนีเซียซับซ้อนใกล้เคียงกันกับเหตุการณ์เขมรแดงในกัมพูชา บ้านเราอาจไม่ซับซ้อนขนาดนั้น แม้อนาคตอันใกล้เคียง เราอาจมีอะไรคล้ายคลึงกับเขามากขึ้น”

ชาญวิทย์ไล่ลำดับเหตุการณ์กับความทรงจำในชีวิตของเขาว่า เรื่องนี้เริ่มต้นในปี 1965 เกิดรัฐประหารในอินโดนีเซีย เป็นปีที่เขาออกจากกรุงเทพฯไปอยู่ลอสแองเจลิส พอถึงปี 1967 เขาไปคอร์แนลพบกับ อาจารย์เบเนดิกต์ แอนเดอร์สัน นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เพิ่งกลับมาจากอินโดนีเซีย และเพิ่งเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเสร็จ ยังไม่ถูกถีบออกจากอินโดฯ โดยซูฮาร์โต

“ผมพบอาจารย์เบนครั้งแรกในปีนั้น ขอให้อาจารย์เป็น Minor Professor ให้ เพราะผมอยากเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องอินโดนีเซีย ขณะนั้นอาจารย์เบนเขียนวิเคราะห์การรัฐประหารในอินโดนีเซียปี 1965 ‘A Preliminary Analysis of the October 1, 1965 Coup in Indonesia’ หรือ Cornell Paper บอกว่า เหตุการณ์รัฐประหารปี 1965 เป็นปัญหาภายในของอินโดนีเซียเองแล้วโยนปัญหาให้ PKI (Partai Komunis Indonesia) พรรคคอมมิวนิสต์แห่งอินโดนีเซียที่ถูกกฎหมาย มีสมาชิกพรรคมากที่สุดในโลกนอกเหนือจากประเทศคอมมิวนิสต์

“คอร์แนลเปเปอร์ชิ้นนั้นเป็นที่ฮือฮาทั่วโลกในหมู่ผู้ศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่รัฐบาลอินโดนีเซียรับไม่ได้ ทำให้อาจารย์เบนไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าอินโดฯ ซูฮาร์โตขึ้นครองอำนาจแทนซูการ์โน แล้วในปี 1997 ต้องลงจากอำนาจเพราะปัญหาต้มยำกุ้ง อาจารย์เบนถูกแบนจากประเทศอินโดนีเซียกว่า 20 ปี จนกว่าจะกลับไปได้ และเสียชีวิตที่สุราบายา”

ชาญวิทย์กล่าวว่า อินโดนีเซียต่างจากสังคมไทยที่ว่าซูฮาร์โตอยู่ยาว 32 ปี จนจัดการกับหนังสือเรียนและความเชื่อได้ แม้ในไทยจะมีการทำหนังโฆษณาชวนเชื่อ อย่างช่วง 6 ตุลาคม 2519 แต่เหตุการณ์ 6 ตุลาคม แม้คนที่ขึ้นสู่อำนาจคือ ธานินทร์ กรัยวิเชียร มีแผนอยู่ยาว 12 ปี แต่เพียงปีเดียวก็ถูกรัฐประหารซ้ำ

“ผู้กุมอำนาจรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมรัฐ เมื่อไม่สามารถอยู่ได้นานก็ไม่สามารถสร้างความทรงจำให้ประชาชนได้ กรณีของไทยเองอาจไม่นานเกินรอ การปรองดองสมานฉันท์จะเกิดขึ้นได้เมื่อมีผู้รับผิด แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือการทำให้ลืม ซึ่งไม่มีทางลืมได้ ตราบใดที่ยังมีวิชาประวัติศาสตร์ที่ไม่ใช่วิชาพงศาวดาร จะมีการรื้อฟื้นขึ้นมาในวันหนึ่งแน่นอน

“ในอินโดนีเซีย ‘เวลา’ อยู่กับคนมีอำนาจ แต่ของเราไม่ใช่”

The post อาชญากรรมรัฐในอุษาคเนย์ เหยื่อในความเงียบ ‘ไม่เคยลืม’ appeared first on มติชนออนไลน์.


Viewing all articles
Browse latest Browse all 6405

Trending Articles


ยุงบินเหมือนกอดกัน 2 ตัว มันทำอะไรอยู่ครับ


เราได้ทำการสมัครแอพเงินกู้ ทรัพย์พลัสไปแต่อยากยกเลิกควรทำยังไงดีคะ


คลิปซูฉีอาบน้ำ เห็นหมด รีบดูก่อนโดนลบ


หลุด พลอย เฌอมาลย์ เห็นหัวนมในฉากเลิฟซีน 18+


อีซูซุ สาขาสุรินทร์ อำเภอเมืองสุรินทร์


โปร ROV ตีแรง อมตะ คอมโบ้ เวอร์ชั่นล่าสุด


งานฝีมือทําที่บ้าน รับคนประกอบดอกไม้ รายได้เสริม รับซื้อร้อยละ 10 บาท


เทคนิคการลบข้อมูลเก่าที่ค้างอยู่ใน Pivot Table


ใส่สีพื้นหลังของเซลล์ Excel เปลี่ยนความจำเจของสีพื้นหลัง


เล่นแร่แปรสูตร : การแปลงวันที่ Text ให้เป็นวันที่ Date