ภาพยนตร์สยองขวัญและการ์ตูนเล่มละบาทปรากฏในสังคมไทยมาเป็นเวลานาน แต่ไม่ได้ถูกให้ความสนใจหรือใส่ใจศึกษาเท่าไรนัก ด้วยภาพความเป็นวัฒนธรรมชั้นรอง ไม่ใช่ศิลปะชั้นสูงที่วัฒนธรรมหลักของไทยให้คุณค่า ดร.ชนกพร ชูติกมลธรรม อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ ปรัชญา ภาษาและวรรณคดีอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ เลือกทำวิทยานิพนธ์โดยศึกษาผ่านเอกสารที่ไม่เป็นทางการทั้งสองสิ่งนี้ ชนกพรจบปริญญาตรีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง สาขาภาพยนตร์และภาพนิ่ง ปริญญาโทสาขาวัฒนธรรมศึกษา โกลด์สมิธ มหาวิทยาลัยลอนดอน และปริญญาเอกจากโซแอส (SOAS) ในการสัมมนาบัณฑิตศึกษา ภาควิชาประวัติศาสตร์ อักษรศาสตร์ จุฬาฯ ที่ผ่านมา ชนกพรนำเสนอผลงานวิทยานิพนธ์เรื่อง การประกอบสร้างความเป็นไทยและวัฒนธรรมชายขอบ : แนวคิดเรื่องหมู่บ้านในภาพยนตร์สยองขวัญและภาพสตรีอันตรายในการ์ตูนเล่มละบาท ทศวรรษ 2520-2550 จึงได้สรุปความเบื้องต้นจากการนำเสนอไว้ ชนกพรเริ่มต้นงานจากการตั้งคำถามถึงแนวคิดเรื่องความเป็นไทย เมื่อเห็นว่าในความวุ่นวายทางการเมืองที่ผ่านมา วัฒนธรรมเป็นสิ่งหนึ่งที่เข้ามามีบทบาทในหลายส่วน ความเป็นไทยผ่านภาพของ “หมู่บ้าน” ความเป็นไทยเป็นอำนาจนำทางวัฒนธรรมที่สถาปนาขึ้นมาเหนือวัฒนธรรมอื่น โดยวัฒนธรรมที่มีค่าสูงสุดของไทยคือวัฒนธรรมราชสำนักและลดหลั่นไปตามวัฒนธรรมท้องถิ่น หลุยส์ อัลธูแซร์ บอกว่า การรักษาอำนาจชนชั้นนำต้องคงอำนาจทางสังคมไว้ รัฐมีเครื่องมือสองอย่างที่ใช้ควบคุมการผลิตซ้ำของสังคม คือ การใช้ความรุนแรงในการปราบปรามและการครอบงำเชิงอุดมการณ์ควบคุมความคิดคนให้อยู่ภายใต้ระบบความสัมพันธ์แบบเดิม กระบวนการนี้ทำให้รัฐมีความชอบธรรมในการใช้อำนาจ เกิดความสัมพันธ์เชิงการเมือง ให้คุณค่าชนบางกลุ่มเป็นพิเศษตามแนวคิดวัฒนธรรมส่วนกลาง ขณะที่วัฒนธรรมชายขอบถูกให้คุณค่าต่ำ แท้จริงแล้ววัฒนธรรมชั้นรองอาจมีคุณค่ารองรับคนละกลุ่มกับวัฒนธรรมส่วนกลาง แนวคิดเรื่องความเป็นไทยมักถูกนำไปเกี่ยวเนื่องกับภาพหมู่บ้านชนบท คอนเซ็ปต์เรื่องหมู่บ้านในสังคมไทยมักถูกใช้เพื่อคิดถึงความเป็นชาติไทยหรืออัตลักษณ์ไทย จะเห็นได้จากละครและภาพยนตร์ว่าความเป็นไทยแท้คือหมู่บ้านชนบท […]
The post ‘หนังผี-การ์ตูนเล่มละบาท’ วัฒนธรรมชายขอบที่ถูกผลักจาก ‘ความเป็นไทย’ appeared first on มติชนออนไลน์.