พระบูชาประจำวันเกิด 2 วันสุดท้าย คือวันศุกร์กับวันเสาร์ พระประจำวันศุกร์ คือปางรำพึง งานสบายใจไหว้พระดีฯ ที่เดอะมอลล์ บางกะปิ ข่าวสดอัญเชิญพระพุทธวิโลกนญาณบพิตร สิริกิติธรรมโสตถิมงคล องค์จำลอง จากวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร พระพุทธรูปปางรำพึงแสดงถึงการแสดงธรรมเทศนาขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าภายหลังตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว เป็นพระพุทธรูปยืนประสานหัตถ์ คว่ำฝ่ามือทั้งสองข้างบนพระอุระ หรือหน้าอก หมายถึงการพิจารณาธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้นั้นล้ำลึกยิ่งนัก ที่จะให้ปุถุชนทั่วไปบรรลุธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้และสั่งสอนได้ การแสดงธรรมของพระพุทธเจ้าต่อสัตว์โลก คือการแสดงถึงเมตตาคุณอันสูงสุดที่จะช่วยปลดเปลื้องภาวะแห่งทุกข์ หรือสังขารทุกข์แก่สัตว์โลก ผู้ที่บูชาพระพุทธรูปปางรำพึงประจำวันศุกร์ หมายถึง การบูชาและนึกถึงพระเมตตาคุณ พระกรุณาคุณ อันเป็นพรหมวิหารของพระพุทธเจ้า และน้อมเอาการเมตตากรุณานั้นมาเป็นคุณสมบัติของตน พระประจำวันเสาร์ คือพระพุทธรูปปางสมาธิ ประทับอยู่บนพญานาคที่พระพุทธประวัติกล่าวว่าชื่อ “มุจลินทนาคราช” ซึ่งมาขนดเป็นแวดวงล้อมกายพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 7 รอบ และแผ่พังพานป้องกันลมฝนที่จะเป็นอันตรายต่อพระพุทธองค์ เมื่อฝนลมหยุด มุจลินท์จึงกลายเป็นมาณพหนุ่ม พระพุทธเจ้าเปล่งอุทานว่า “ความสงัดเป็นความสุขสำหรับบุคคลผู้ได้สดับธรรม ยินดีในเสนาสนะอันสงัด เห็นสังขารทั้งปวงตามความเป็นจริง ความเป็นผู้ไม่เบียดเบียนคือ ความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย และความเป็นผู้ปราศจากความกำหนัดยินดีคือ ความก้าวล่วงกามทั้งหลายเสียได้ เป็นความสุขในโลก ความนำออกเสียได้ซึ่งอัสมิมานะ (คือความถือตัว) เป็นความสุขอย่างยิ่ง” ในอีกความเชื่อหนึ่งของพระพุทธรูปปางนาคปรกนี้จะมาจากความพยายามที่จะประสานปรัชญาฮินดู โดยเฉพาะไวษณพนิกายให้เข้ากับพระพุทธศาสนา โดยความเชื่อที่ว่าพระนารายณ์บรรทมอยู่บนพญานาคในเกษียรสมุทร พระพุทธเจ้าเป็นอวตารของพระนารายณ์ เป็นการประยุกต์ให้พระพุทธเจ้าเป็นพระนารายณ์ที่ประทับบนพญานาค […]
The post พระประจำผู้ไม่รู้วันเกิด : คอลัมน์ โลกสองวัย appeared first on มติชนออนไลน์.