Quantcast
Channel: ประชาชื่น –มติชนออนไลน์
Viewing all articles
Browse latest Browse all 6405

จุดเริ่มต้นเส้นทาง… 100 ปี ‘มหาวิทยาลัยแห่งแรกของสยาม’

$
0
0

การศึกษาของไทยก่อนสมัยรัชกาลที่ 5 ช่วงต้นรัตนโกสินทร์ เจ้าขุนมูลนายและราษฎรมักส่งบุตรหลานที่เป็นเด็กผู้ชายไปศึกษาเล่าเรียนกับภิกษุที่มีความรู้ อาศัยวัดวาอารามเป็นสถานศึกษา บวชเป็นสามเณรบ้าง ฝากตัวเป็นศิษย์วัดบ้าง ส่วนเด็กผู้หญิงจะเรียนรู้เกี่ยวกับการบ้านการเรือน การเย็บปักถักร้อยมียายหรือแม่เป็นผู้สอนอยู่ที่บ้าน ต่อมารัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงปฏิรูประบบราชการพร้อมกับระบบการศึกษา สิ่งที่ตามมาคือระบบการศึกษามีพัฒนาการเกิดขึ้นหลายระดับ จนสามารถสถาปนามหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศ คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ.2460 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องราวจุดเริ่มต้นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของสยาม เส้นทางผ่านมา 100 ปี ผู้เขียนขอนำเสนอบทความที่อธิบายการถือกำเนิดขึ้นของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ท่ามกลางพลวัตที่เปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมของรัฐสยามและของโลกตะวันตกในยุคนั้น คืองานเขียนของ นนทพร อยู่มั่งมี ในบทความที่ชื่อ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในสมัยแรกสถาปนา จากนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนมีนาคม 2560 นนทพร อยู่มั่งมี ได้อธิบาย อิทธิพลตะวันตกที่มีต่อการปรับปรุงระบบการศึกษาสยามว่า “ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 นับเป็นช่วงที่อิทธิพลของชาติมหาอำนาจตะวันตกเข้ามามีบทบาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเข้ามาครอบครองดินแดนต่างๆ ทั้งเพื่อแสวงหาทรัพยากรทางเศรษฐกิจ และเพื่อแข่งขันอำนาจทางการเมืองระหว่างกัน สิ่งที่ตามมาคือการพัฒนาดินแดนอาณานิคมต่างๆ ในด้านสาธารณูปโภค ระบบการศาล ภาษา รวมทั้งระบบการศึกษาและเทคนิควิทยาการต่างๆ ล้วนมีผลกระทบต่อคนพื้นเมือง ผู้รับผิดชอบการศึกษามีทั้งรัฐบาลเจ้าอาณานิคมและคณะสอนศาสนา ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดการขยายออกเป็นวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยตามลำดับ “สำหรับทวีปเอเชียมีการตั้งมหาวิทยาลัยตามแบบตะวันตกแห่งแรกในอินเดีย ซึ่งเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษ ได้แก่ […]

The post จุดเริ่มต้นเส้นทาง… 100 ปี ‘มหาวิทยาลัยแห่งแรกของสยาม’ appeared first on มติชนออนไลน์.


Viewing all articles
Browse latest Browse all 6405

Trending Articles