วันอาทิตย์ที่ 26 มีนาคม 2560 อีกสองวันที่ “น้ำใจน้องพี่สีชมพู” จะได้ไปพบปะสังสรรค์กันใน “ศตวรรษแห่งความภูมิใจ” ณ สนามหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ เป็นวันประวัติศาสตร์ที่ชาวจามจุรีสีชมพู จะต้องจารึกไว้ในหัวใจ สีประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคือ “สีชมพู” ศาสตราจารย์หม่อมราชวงศ์สุมนชาติ สวัสดิกุล เสนอว่าชื่อของมหาวิทยาลัยคือ พระปรมาภิไธยเดิมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีพระราชสมภพในวันอังคาร และโปรดเกล้าฯ ให้ใช้สีชมพูเป็นสีประจำพระองค์ จึงสมควรอัญเชิญสีประจำพระองค์เป็นสีประจำมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นเกียรติและสิริมงคล ส่วนเพลงประจำมหาวิทยาลัยคือเพลงพระราชนิพนธ์ “มหาจุฬาลงกรณ์” เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 11 ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระราชนิพนธ์เมื่อวันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2492 พระราชทานให้เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยลัยเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย ใช้ชื่อเรียกนักศึกษาว่า “นิสิต” ด้วยเมื่อแรกก่อตั้งมหาวิทยาลัยที่ตั้งมหาวิทยาลัยอยู่ไกลจากเขตพระนคร ศูนย์กลางความเจริญสมัยนั้นมาก จึงต้องสร้างหอพักเพื่อผู้เข้ารับการศึกษาได้พักในมหาวิทยาลัย และใช้คำว่า “นิสิต” ที่แปลว่า “ผู้อาศัย” การพระราชทานปริญญาครั้งแรกของประเทศไทยเกิดที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 25 ตุลาคม 2473 มีบุคคลสำคัญได้รับเชิญเข้าร่วมพิธีจำนวนมาก การนี้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนาง เจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ใช้เสื้อครุยได้ […]
The post ศตวรรษแห่งความภูมิใจ : คอลัมน์ โลกสองวัย appeared first on มติชนออนไลน์.