หมายเหตุ–ล่าสุดเมื่อวันที่ 1 พ.ค. สปท.มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. … โดยตัดหลักการเรื่องใบประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน รวมถึงบทลงโทษออกจากร่างกฎหมาย หลังมีกระแสคัดค้านจากสื่อมวลชน แต่จะยังคงเรื่องตัวแทนภาครัฐ 2 คน ที่จะนั่งเป็นคณะกรรมการสภาวิชาชีพไว้ เป็นประเด็นร้อนที่สังคมหันมาสนใจอย่างกว้างขวาง สำหรับ “พ.ร.บ.คุ้มครองสิทธิเสรีภาพส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน”หรือที่เรียกสั้นๆว่า “พ.ร.บ.คุมสื่อ” 30 องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ออกมาทำมือไขว้หน้าอกคัดค้านตั้งแต่ปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา จัดแถลงข่าวเกรียวกราว ณ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดยระบุว่า พ.ร.บ.ดังกล่าว ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานหลักเสรีภาพของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน แต่เน้นหลักการควบคุมสื่อ โดยใช้อำนาจรัฐเข้ามาแทรกแซงการทำหน้าที่โดยอิสระ ไม่สอดคล้องหลักการของร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งมีเจตนารมณ์ให้สื่อกำกับดูแลกันเองโดยปราศจากการแทรกแซงจากภาครัฐ อันจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อบทบาทสื่อในการตรวจสอบอำนาจรัฐ ปิดกั้นเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน จึงขอให้มีการทบทวนเพื่อยกเลิกพ.ร.บ.ดังกล่าว หาไม่แล้วจะ “ยกระดับ” มาตรการการคัดค้านร่างกฎหมายนี้อย่างถึงที่สุด ปราเมศ เหล็กเพ็ชร์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ผู้เข้ามารับตำแหน่งในช่วงสถานการณ์ร้อน ก็ประกาศหนักแน่นในทันที่ที่นั่งเก้าอี้ว่า “จะนำพาสมาคมต่อสู้กับกฎหมายที่กดหัวสื่ออย่างถึงที่สุด” ล่าสุด ภาครัฐยังชี้ว่า ไม่ใช่เพียงสื่ออย่างหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ เว็บไซต์ข่าว เท่านั้นที่จะอยู่ในความครอบคลุมของพ.ร.บ.ดังกล่าว หากแต่รวมถึง “เพจดัง” ในโซเชียลอีกด้วย หากมีรายได้จากการทำเพจ ก็นับเป็นสื่อเช่นกัน สร้างความฮือฮาในสังคมขึ้นมาอีกระลอก […]
The post ‘กระทบยิ่งกว่าสื่อ คือประชาชน’ ยิ่งกว่าที่เป็น ลึกกว่าที่เห็น เบื้องหลังซับซ้อนของ พ.ร.บ.คุมสื่อ appeared first on มติชนออนไลน์.