วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ดูแลอาคารมหิดลสิทธาคาร ข้างๆ มีพื้นที่อยู่ 2 แปลง 3 ไร่ และ 5 ไร่ แปลงแรกนั้นเป็นสวนพระราชบิดา มีประติมากรรม “พ่ออุ้มลูก” ส่วนพื้นที่แปลงที่ 2 ได้พัฒนาให้เป็นสวนศิลปินพื้นบ้าน โดยมีประติมากรรมครูดนตรี 4 คน เป็นการรวมสุดยอดจากศิลปินชาวบ้านทั้ง 4 ภาค (เหนือ อีสาน กลาง ใต้) ปั้นประติมากรรมลักษณะการ์ตูน ภาพล้อด้วยความเคารพ ล้อด้วยอารมณ์ขัน ล้อด้วยปัญญา ดูให้ขำๆ อำๆ มีชีวิตชีวาแต่ซ่อนความเลื่อมใสศรัทธาเอาไว้ เพื่อให้คนระลึกถึงคุณงามความสามารถของท่าน สวนศิลปินออกแบบโดยบริษัทภูมิทัศน์ (L49) สมบัติ สิมหล้า หมอแคนแดนอีสาน หนึ่งในประติมากรรมในสวน เป็นศิลปินหมอแคนที่ยังมีชีวิตอยู่ ได้รับเลือกให้เป็นผู้แทนของศิลปินชาวอีสานทั้งภาค ถ้าจะถามว่า ทำไมต้องเป็นประติมากรรมรูปปั้นของสมบัติ สิมหล้า ก็เพราะว่าสมบัติ สิมหล้า เป็นหมอแคนที่เก่งที่สุดแห่งยุค มีฝีมือที่ก้าวหน้าสุด เป็นหมอแคนสมญาว่า “หมอแคนนิ้วทองคำ” และหมอแคนที่เป็น “แชมป์ตลอดกาล” […]
The post คอลัมน์ อาศรมมิวสิก : ประติมากรรมหมอแคน สมบัติ สิมหล้า appeared first on มติชนออนไลน์.