Quantcast
Channel: ประชาชื่น –มติชนออนไลน์
Viewing all 6405 articles
Browse latest View live

อาศรมมิวสิก : ยกวงซิมโฟนีไปแสดงเพลงรองเง็งที่กระบี่ บทเพลงแห่งทะเลอันดามัน

$
0
0

ยกวงซิมโฟนีไปแสดงเพลงรองเง็งที่กระบี่
บทเพลงแห่งทะเลอันดามัน

ผมได้รับทุนวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ศึกษาเรื่อง “พื้นที่ทางวัฒนธรรมดนตรีเพื่อพัฒนาและสร้างสรรค์จินตนาการใหม่โดยอาศัยร่องรอยวิถีชีวิตของชุมชนผ่านศิลปินในท้องถิ่นผู้สืบทอดวัฒนธรรมดนตรีในชุมชน” ต่อมาได้รับทุนวิจัยเพื่อขยายผล “ต่อยอดนวัตกรรมเพลงพื้นบ้านเพื่อเผยแพร่ให้เป็นมรดกของชาติ” โดยศึกษาวัฒนธรรมเพลงพื้นบ้านในท้องถิ่น 7 พื้นที่ด้วยกัน ได้แก่ พื้นที่ล้านนา ภูไท ลาว เขมร สุพรรณภูมิ ศรีวิชัย และปัตตานี ได้ทำงานมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563

การต่อยอดเพลงภาคใต้ คือการนำเพลงรองเง็งไปเล่นโดยวงไทยซิมโฟนีออร์เคสตร้า (Thai Symphony Orchestra) แล้วนำไปแสดงในท้องถิ่น โดยเลือกแสดงที่ร้านอาหารเรือนไม้ จ.กระบี่ วันที่ 24 มีนาคม 2564 เวลา 18.00-19.30 น. ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ซึ่งในครั้งแรกได้แสดงที่วัดพระราม จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อตรุษจีนที่ผ่านมา

มีคำถามว่า ทำไมจึงเลือกแสดงที่ร้านอาหารเรือนไม้ ใช้เป็นสถานที่แสดงวงซิมโฟนีออร์เคสตร้า ทำไมไม่เลือกลานศิลปะที่ชายทะเล ทำไม่เลือกหอประชุมจังหวัด ทำไมไม่ใช้ห้องประชุมจัดเลี้ยงของโรงแรมหรู หรือที่สถานที่ราชการ เป็นต้น เพราะกระบี่ไม่มีหอแสดงดนตรีที่สามารถเก็บเสียงได้ กระบี่ไม่มีสถานที่แสดงดนตรีเพื่อการฟัง กระบี่มีป่าเขาและทะเลสวยงามตามธรรมชาติ คนไปกระบี่เพื่อฟังเสียงคลื่น ฟังเสียงลม ฟังเสียงนกร้องมากกว่า จึงจำเป็นต้องหาพื้นที่เงียบสงบเพียงพอที่จะนั่งฟังเพลงบรรเลงได้

ยกวงซิมโฟนีไปแสดงเพลงรองเง็งที่กระบี่ บทเพลงแห่งทะเลอันดามัน
โกเลี้ยง อมฤต ศิริพรจุฑากุล

ร้านอาหารเรือนไม้ เป็นร้านอาหารพื้นเมืองของกระบี่ เจ้าของคือ คุณอมฤต ศิริพรจุฑากุล ซึ่งคนทั่วไปรู้จักเรียกกันว่า “โกเลี้ยง” เป็นผู้มีใจกว้างขวาง รักงานศิลปะดนตรี และเป็นคนที่มีจิตใจดี เป็นบุคคลสำคัญของกระบี่ มีความรักบ้านเกิดและพยายามสร้างบรรยากาศของศิลปวัฒนธรรมให้เกิดในเมืองกระบี่ ที่สำคัญคือได้ทำร้านอาหารเรือนไม้ ในบรรยากาศน่าเกรงใจ สะกดให้ผู้ที่เข้าไปในร้านรู้สึกสงบ ได้บรรยากาศใหม่แบบธรรมชาติ

อาศัยความรักในธรรมชาติและทำเลพื้นถิ่นที่สวยงามทำร้านอาหารเรือนไม้จนเป็นที่รู้จัก มีธรรมชาติเป็นตัวช่วยสร้างบรรยากาศ มีน้ำใสใบไม้เขียว ผนวกกับสถาปัตยกรรมที่ใช้ไม้ไผ่มุงใบจาก สร้างโดยลายมือของสถาปนิกในท้องถิ่น ทำให้เสียงไม่ก้องและเป็นธรรมชาติ ร้านอาหารเรือนไม้มีเสน่ห์เพราะมีอาหารสุขภาพ ปลอดสารพิษ รสชาติอร่อย ถูกปาก ใครได้กินแล้วจะติดใจ

ร้านอาหารเรือนไม้ กลายเป็นร้านอาหารพื้นเมืองที่นิยมใช้ต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองของกระบี่ไปโดยปริยาย ใครไปใครมากระบี่ก็จะเลี้ยงอาหารที่ร้านอาหารเรือนไม้ เป็นที่รู้จักกว้างขวาง และอยู่ใจกลางเมือง ขณะเดียวกันก็มีที่จอดรถเพียงพอ เมื่อจัดการแสดงที่ร้านอาหารเรือนไม้ จึงไม่ต้องลงทุนโฆษณา เพราะเป็นที่รู้จักอยู่แล้ว

ในขณะที่เมืองกระบี่ไม่มีหอแสดงดนตรี ไม่มีหอศิลปวัฒนธรรม ซึ่งยากที่จะจัดแสดงดนตรีในรูปแบบของวงซิมโฟนีออร์เคสตร้า พื้นที่สวยงามชายทะเลก็แลดูเวิ้งว้างเกินกว่าที่จะควบคุมเสียง ซึ่งแตกต่างไปจากการจัดแสดงดนตรีสมัยนิยม ส่วนใหญ่นิยมจัดที่ลานงานศิลปะมาก่อน เงื่อนไขสำคัญสำหรับวงออร์เคสตร้า คือ การรักษาและการควบคุมเสียง ต้องการความสงบ เมื่อลมพัดแรง มีบรรยากาศของความวุ่นวาย ก็จะทำลายสมาธิของผู้ฟังไปสิ้น เมื่อคุมสมาธิไม่ได้ ก็ควบคุมเสียงไม่ได้ เมื่อควบคุมเสียงไม่ได้ ก็จะควบคุมสมาธิไม่ได้ด้วย

แต่ก่อนมีความรู้เรื่องเพลงรองเง็งว่าคือดนตรีเฉพาะกลุ่มของปัตตานี ซึ่งมีปัตตานี ยะลา และนราธิวาสเท่านั้น ไม่เคยคิดว่าจะมีดนตรีรองเง็งในพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามัน แต่ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะรองเง็งในพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามันมีความหลากหลาย เป็นวัฒนธรรมที่ผสมผสานกับชุมชนในท้องถิ่นมาก ที่สำคัญกว่านั้นก็คือ ดนตรีรองเง็งฝั่งทะเลอันดามันได้กลายพันธุ์ สมสู่กับดนตรีของท้องถิ่นอย่างน่าสนใจยิ่ง

เมื่อไปที่กระบี่ได้พบกับ “เมืองหลวงของรองเง็งอยู่ที่เกาะลันตา” มีการนำเพลงของรองเง็งมาพัฒนาให้เป็นเพลงสมัยนิยมที่หลากหลาย ได้พบกับกวีคนสำคัญ เจ้าของเพลงนกสีเหลืองและเพลงบูบู ซึ่งเป็นบทเพลงแห่งทะเลอันดามัน กลายเป็นว่า ฝั่งอันดามันมีความร่ำรวยเรื่องดนตรีมาก

ยกวงซิมโฟนีไปแสดงเพลงรองเง็งที่กระบี่ บทเพลงแห่งทะเลอันดามัน
วินัย อุกฤษณ์ เจ้าของเพลงนกสีเหลืองกับเพลงบูบู

เพลงนกสีเหลือง คำร้องและทำนอง โดย วินัย อุกฤษณ์เพลงนกสีเหลืองเป็นเพลงที่เขียนขึ้นเพื่อไว้อาลัยวีรชนและเชิดชูจิตวิญญาณประชาธิปไตย ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ด้วยความสะเทือนใจที่ได้รับต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ทำให้ผู้แต่งล้มป่วย เข้าโรงพยาบาลอยู่เดือนเศษ แล้วได้กลับไปพักฟื้นที่บ้านเกิด กระบี่ ซึ่งช่วงนี้เองเป็นเวลาที่ได้แต่งเพลงนกสีเหลือง ขณะที่ล่องในแม่น้ำที่กระบี่ ยามค่ำคืนในเรือพายลำน้อย นั่งอยู่กับเพื่อน มีกีตาร์โปร่งหนึ่งตัว เมื่อย้อนรำลึกถึงเหตุการณ์ “14 ตุลา” จึงมีเพลงนกสีเหลือง

บทเพลงเริ่มด้วยเสียงฮัมของความเศร้า คล้ายเสียงเห่กล่อมเพื่อปลอบประโลม จากนั้นจึงเริ่มเนื้อเพลงด้วยถ้อยคำเชิงกวีและความอาลัยต่อวีรชนผู้จากไป กลางเพลงจะมีช่วงหยุด เพื่อกล่าวถ้อยคำไว้อาลัย แล้วจึงย้อนกลับมาส่งท้าย “จงบินไปเถิดคนกล้า ความฝันสูงค่ากว่าใด เจ้าบินไปจากรวงรัง ข้างหลังเขายังอาลัย”

ผู้แต่งไม่ใช่นักร้องหรือนักดนตรี แต่เป็นกวีร่วมสมัย บทเพลงนี้จึงเป็นที่รู้จักในฐานะงานกวีนิพนธ์ด้วย

บทเพลงนกสีเหลืองได้นำออกแสดงครั้งแรกโดยวงคาราวาน ในงานรำลึกครบหนึ่งปี “14 ตุลา” ที่หอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สร้างความประทับใจให้แก่ผู้ฟังอย่างมาก เพลงได้กลายมาเป็นเพลงสัญลักษณ์ของ “14 ตุลา” ตั้งแต่นั้นวงดนตรีเพื่อชีวิตนิยมนำเพลงนี้ไปแสดงเสมอๆ ต่อมา เพ็ญศรี พุ่มชูศรี นักร้องซึ่งเป็นศิลปินแห่งชาติ (พ.ศ.2534) ชื่นชอบเพลงนี้มาก เธอได้นำเพลงนกสีเหลืองไปขับร้องในงานรำลึก “14 ตุลา” ทุกครั้ง ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งเพ็ญศรี พุ่มชูศรี ได้เสียชีวิตลงเมื่อปี พ.ศ.2550

เพลงบูบู หมายถึง ไซดักปลา คำร้องโดย วินัย อุกฤษณ์ทำนองดัดแปลงมาจากเพลงการักบุหงา (ร้อยดอกไม้) บูบู เป็นเพลงรักในลีลาของรองเง็ง (ส่วนหนึ่งของเพลงบุหงารำไป) ซึ่งเป็นดนตรีแห่งหมู่เกาะ รวมทั้งชายฝั่งทะเลอันดามัน ในสมัยก่อน หากได้ลงเรือท่องไปตามหมู่เกาะในถิ่นทะเลแถบทะเลอันดามัน จะได้พบกับชาวเล กลุ่มอูรักลาโว้ย หรือพวกยิปซีทะเล เป็นชนเผ่าผู้สัญจรในทะเล ขณะเดียวกันก็จะได้ยินเสียงดนตรีของพวกเขา เรียกกันว่า เพลงรองเง็งชาวเล คือเพลงของพวกชาวน้ำ

ยกวงซิมโฟนีไปแสดงเพลงรองเง็งที่กระบี่ บทเพลงแห่งทะเลอันดามัน
ร้านอาหารเรือนไม้ สถานที่แสดงวงซิมโฟนีออร์เคสตร้า

เมื่อครั้งวินัย อุกฤษณ์ (ผู้แต่งเพลงบูบู) ได้พาคนรักไปพำนักที่กระท่อมของชาวเล ริมหาดเกาะจำ อาศัยอยู่หลายวัน เจ้าของกระท่อมคือครอบครัววงรองเง็ง “อาหวังกัวลามูดา” ซึ่งเป็นนายซอ (ไวโอลิน) ยังมีแม่เฒ่า (ภรรยา) เป็นคนตีรำมะนา พร้อมกับการขับเพลงและร่ายรำทุกค่ำคืนที่ริมหาด จะได้ฟังเสียงซอและบทเพลงขับปันตุนซึ่งเป็นการขับเพลงภาษามลายู บางเพลงประทับใจมากจนจำเนื้อร้องเพลงปันตุนได้หมด หนึ่งในเพลงนั้น คือ “เพลงการักบุหงา” หรือเพลงร้อยดอกไม้

เมื่อผู้แต่งได้สร้างกระท่อมริมหาดที่ “เกาะบูบู” ของตัวเองเสร็จ ก็อยากชวนคนรักมาอยู่ด้วย เสียงเพลงการักบุหงาก็แว่วมาอีก จึงได้ดัดแปลงทำนองและเขียนคำร้องใหม่เป็นภาษาไทย ใช้ชื่อว่าเพลงบูบู หมายถึงไซดักปลา (เกาะบูบู) เกิดเป็นเพลงใหม่ขึ้น เสมือนบ่วงดักฝันที่เป็นจริง บูบูได้กลายพันธุ์จากเพลงรองเง็งเป็นเพลงรักของชาวเมือง โดยยังคงรักษาทำนองเพลงเอาไว้อย่างมั่นคง ซึ่งเป็นพัฒนาการใหม่ของรองเง็ง

เพลงบูบูได้นำออกแสดงครั้งแรกกับวงดนตรีท้องถิ่น (Sea Gypsy) โดยมีอาจารย์สมพร คงขึม เป็นผู้เล่นไวโอลิน แสดงที่หอประชุมโรงเรียนเมืองกระบี่ และได้บันทึกเสียงลงแผ่นซีดี (CD) ครั้งแรกกับวงบังคลาเทศ ขับร้องโดย ทองกราน ทานา จากวงคาราวาน

ในยุคทองของการท่องเที่ยว เพลงบูบูเป็นเพลงรองเง็งร่วมสมัยที่รู้จักแพร่หลายและนิยมเล่นกันในหมู่วงดนตรีรุ่นใหม่ทั่วถิ่นอันดามัน ด้วยลีลาแปลกแตกต่างจากเพลงอื่นๆ ต่อมาได้รวบรวมบันทึกเป็นแผ่นซีดี (CD) ชุดเพลงคลื่นขับขาน โดยวงวารี วายุ ซึ่งเป็นนามปากกาของวินัย อุกฤษณ์

สำหรับ วินัย อุกฤษณ์ ในฐานะนักเขียน ใช้นามปากกาว่า “วารี วายุ” บ้านเกิดอยู่ริมแม่น้ำกระบี่ พ่อเป็นชาวสวน แม่เป็นชาวเกาะ เรียนหนังสือชั้นต้นที่กระบี่ แล้วไปเรียนต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ที่กรุงเทพฯ เข้าเรียนปริญญาตรีวารสารศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยทำงานมีอาชีพด้านหนังสือ งานฝ่ายศิลป์จัดรูปเล่มหนังสือ สู่งานบรรณาธิการกับนิตยสารและงานหนังสือพิมพ์หลายฉบับ

“ชมรมพระจันทร์เสี้ยว” ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้สร้างแรงบันดาลใจ ทำให้ศึกษาและเขียนบทกวีสมัยใหม่ต่อเนื่องมา ผลงานกวี 2 เล่ม คือ “นักฝันข้างถนน” และ “ทะเลรุ่มร้อน” ในนามปากกา “วารี วายุ” ได้เป็นใบเบิกทางจากยุคแสวงหาสู่ความเป็น “กวีร่วมสมัย”

เมื่อออกจากแวดวงหนังสือ ได้กลับบ้านไปอยู่ที่กระบี่ ที่เกาะลันตาน้อยและเกาะบูบู ใช้ชีวิตอยู่กับเรือทะเลและหมู่เกาะนานหลายปี จนเกิดภัยพิบัติสึนามิ (พ.ศ.2547) จึงกลับขึ้นฝั่งไปทำสวน อยู่ชานเมือง แล้วหันเหชีวิตมาสนใจงานด้านวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่น

นอกจากงานหนังสือและกวีนิพนธ์แล้ว “วารี วายุ” ยังเป็นมือสมัครเล่นในงานศิลปะด้านอื่นๆ ด้วย อาทิ ผลงานเพลง ภาพวาด บทภาพยนตร์ หนังสั้น สำหรับเพลงนกสีเหลืองกับเพลงบูบู จะเป็นเพลงแถมในรายการแสดงครั้งนี้ ซึ่งในรายการหลักเป็นเพลงรองเง็งฝั่งอันดามันทั้งหมด เป็นเสียงเพลงแห่งทะเลอันดามัน

ในการเดินทางไปแสดงครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วนที่สำคัญ ภาคส่วนของรัฐตั้งแต่ผู้ว่าราชการจังหวัด วัฒนธรรมจังหวัดกระบี่ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษาฯ ในภาคส่วนของเอกชนมีร้านอาหารเรือนไม้ ที่พักปกาสัยรีสอร์ท สายการบินแอร์เอเชีย องค์กรอิสระสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ส่วนภาคที่เป็นฝั่งประชาชน ก็มีศิลปินวาดภาพ นักร้องนักดนตรี มูลนิธิกระบี่ยั่งยืน และมูลนิธิอาจารย์สุกรี เจริญสุข

บทเพลงแห่งทะเลอันดามัน เป็นการนำเสนอมิติใหม่ของเพลงพื้นบ้าน การได้มีโอกาสพบกับปราชญ์ที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่น ซึ่งเขาเหล่านั้นอยู่ในที่มืดที่คนทั่วไปมองไม่เห็น แต่เขามองเห็นในสิ่งที่คนทั่วไปมองไม่เห็น เมื่อได้พบกับวิธีคิดและจินตนาการผ่านผลงานที่เป็นบทกวีและบทเพลง ทุกบทเพลงและทุกครั้งที่ได้ยิน ทำให้รู้สึกว่าเข็มขัดสั้นไป เพราะ “คาดไม่ถึง อึ้งและฉงน”

สุกรี เจริญสุข

The post อาศรมมิวสิก : ยกวงซิมโฟนีไปแสดงเพลงรองเง็งที่กระบี่ บทเพลงแห่งทะเลอันดามัน appeared first on มติชนออนไลน์.


คอลัมน์แทงก์ความคิด : รอให้พิสูจน์

$
0
0

คอลัมน์แทงก์ความคิด : รอให้พิสูจน์

เพิ่งล่วงเลยวันมาฆบูชามาได้นิดหน่อย บังเอิญได้สดับฟังพระธรรมเทศนาจาก พระปัญญา นีลวัณโณ สำนักสงฆ์ เขาตะบองนาค จ.นครสวรรค์ เรื่องโพชฌงค์ 7 จึงอยากมาเล่าสู่กันฟัง

เพราะฟังพระธรรมแล้ว เห็นว่ามีประโยชน์ทั้งพระสงฆ์และปุถุชนคนธรรมดา

กรณีโพชฌงค์นี้ มีดีตรงที่เป็นเครื่องมือในการทำให้วิปัสสนาได้ผล

เพราะเป็นเทคนิคช่วยในการค้นหาพระธรรม

ดั่งที่ทราบกันอยู่แล้วว่า การปฏิบัติธรรม ต้องมีทั้งการสะสมความรู้ คือ ฟังธรรม และการปฏิบัติ คือ สมาธิวิปัสสนา

การปฏิบัติธรรม นอกจากที่ผู้ปฏิบัติต้องรู้ขันธ์ 5 ที่ประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ

ผู้ปฏิบัติธรรมต้องทราบเรื่อง “ปฏิจจสมุปบาท”

ไล่เรียงเหตุปัจจัย ตั้งแต่ “อวิชชา” เป็นปัจจัยให้เกิด “สังขาร” เรื่อยไปจนถึง “ชรามรณะ ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ”

นอกจากจะต้องทำความเข้าใจกับ “อริยสัจ 4” ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

และรู้วิธีเข้าถึงอริยสัจ 4 ด้วย “สติปัฏฐาน 4” คือ กาย เวทนา จิต ธรรม แล้ว

โพชฌงค์ หรือ โพชฌงค์ 7 นี่แหละจะเป็นเครื่องมือช่วยให้เข้าถึงสัจธรรม

โพชฌงค์ 7 มีองค์ประกอบ 7 ประการ

นั่นคือ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา

พลิกดูคำแปลที่ให้ความหมายแล้ว ต้องค่อยๆ ทำความเข้าใจ

เริ่มตั้งแต่ “สติ” ที่หมายถึง ความระลึกได้

ธัมมวิจยะ คือ การสืบค้นธรรม วิริยะ หมายถึง ความเพียร

ปีติ คือ ความอิ่มใจ ปัสสัทธิ หมายถึง ความสงบกายใจ

สมาธิ คือ ใจตั้งมั่น และ อุเบกขา หมายถึง ใจเป็นกลาง เห็นตามที่เป็นจริง

ทั้งหมดของโพชฌงค์ 7 นี้ หากใครนำไปปฏิบัติจะช่วยในการศึกษาแสวงหาธรรม

เมื่อ “สติ” จับอยู่กับสิ่งที่ต้องการศึกษา

ในทางธรรมแนะนำให้ “สติ” ไปจับอยู่ที่ กาย หรือ เวทนา หรือ จิต หรือ ธรรม

เมื่อสติจับอยู่บ่อยๆ ก็จะสังเกตเห็นสิ่งที่เกิด

เห็นการเกิด เห็นการดำรงอยู่ และเห็นการดับไป

เห็นความเปลี่ยนแปลง ไม่เที่ยง เห็นว่า นี่ไม่ใช่เรา นั่นก็ไม่ใช่ของเรา

สรุปคือ ทางธรรมท่านให้เห็นกฎไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

เห็นได้ดั่งนี้ก็เข้าสู่มรรค 8 ที่เริ่มต้นด้วย สัมมาทิฏฐิ เกิดความเห็นชอบ

การจะเห็นเช่นนั้นได้ พระพุทธเจ้าท่านทรงแนะให้ “สืบค้นหา” (ธัมมวิจยะ)

ต้องมี “ความเพียร” (วิริยะ) ในการค้นหา มี “ความสุข” (ปีติ) ในการสืบค้น

มี “ความสงบกายใจ” (ปัสสัทธิ) ในการพิจารณา มี “ใจที่ตั้งมั่น” (สมาธิ)

แล้วเมื่อ “ใจเป็นกลาง” (อุเบกขา) เราก็จะเห็นสิ่งที่เป็นจริง

ทั้งหมดนั้นเป็นข้อแนะนำการศึกษาพระธรรม

แต่ถ้าเราจะลองนำโพชฌงค์ 7 มาใช้ในทางโลก เชื่อว่าจะช่วยให้ประสบความสำเร็จในการเรียนและการงานได้

ถ้านักเรียน เริ่มต้นด้วยสติ เกาะติดกับบทเรียน

มีเป้าหมายคือค้นหาความรู้ มีความเพียร มีความสุขใจในการเรียน

มีความสงบกายใจในการพิจารณา มีความตั้งใจมั่นฟังอาจารย์

มีใจเป็นกลางต่อองค์ความรู้ที่ได้

ความสำเร็จในการเรียนย่อมเกิดขึ้น

เช่นเดียวกับพนักงานคนทำงาน ที่ประกอบอาชีพต่างๆ

หากเริ่มต้นด้วยสติ เกาะติดกับงานที่ทำอยู่

แล้วงัดเอาข้อแนะนำตามแนวทางโพชฌงค์ 7 คือ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา มาใช้

นั่นคือ ค้นหาความรู้ในงานที่กำลังทำ มีความเพียรในการปฏิบัติภารกิจ

อิ่มเอิบใจต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย สงบกายและใจในช่วงการปฏิบัติ มีความตั้งใจมั่นเพื่อบรรลุผล

และใจเป็นกลาง มองเห็นสิ่งที่เป็นจริง

ภารกิจการงานที่ทำอยู่ ย่อมมีโอกาสสำเร็จ

สูตรทางธรรมนี้ เป็นไอเดียหลังจากฟังพระธรรมเทศนา

ความจริงแล้วมีบทธรรมหลายตอนที่สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิต

แม้จะเป็นธรรมที่พระสงฆ์สาวกปฏิบัติเพื่อบรรลุนิพพาน

แต่ปุถุชนคนธรรมดา หากน้อมนำพระธรรมมาปรับใช้กับการเรียนการงาน

หลายคำสั่งสอนจะช่วยให้การงานสำเร็จการเรียนประสบผล

เรื่องเช่นนี้ไม่จำเป็นต้องเชื่อ

ขอให้ถือเป็นแค่สมมุติฐานที่รอการพิสูจน์ด้วยการปฏิบัติ

สมมุติฐานตั้งไว้ว่า แนวทางโพชฌงค์นี้ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธองค์ยึดถือปฏิบัติ

หลายรูปสามารถบรรลุธรรม ก้าวเข้าสู่อรหันต์

ประสบความสำเร็จกันมาแล้ว

ดังนั้น ถ้าจะใช้โพชฌงค์เป็นแนวปฏิบัติในทางโลก

นำมาประยุกต์ใช้กับการเรียน และการงาน

ความสำเร็จจากการปฏิบัติตามคำแนะนำก็น่าจะมีโอกาสเกิดขึ้น

นี่คือสมมุติฐาน และรอการพิสูจน์ว่า ถ้าปฏิบัติตามแล้วจะสำเร็จ

เชื่อว่าหลายคนคนปฏิบัติแล้ว แต่อีกหลายคนยังไม่ปฏิบัติ

เรื่องโพชฌงค์ 7 นี้หากใครปรับมาใช้ในทางโลกแล้วได้ผล ช่วยบอกเล่ามาให้ฟัง

ช่วยกันพิสูจน์ให้โลกได้เห็นว่า ธรรมะของพระพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติขึ้นเพื่อให้แก่พระสงฆ์ปฏิบัติเท่านั้น

พระองค์ตรัสรู้และทรงสั่งสอนเพื่อให้ทุกคนในโลกนำไปใช้

ใช้เพื่อละทิ้งอาสวกิเลส เพื่อพบความสำเร็จในชีวิต

แม้จะไม่สามารถเข้าถึงนิพพาน แต่แค่เรียนสำเร็จ ทำงานสัมฤทธิผลได้

แค่นี้ชีวิตก็มีสุข รุ่งเรืองเจริญก้าวหน้า

หากได้แค่นี้ก็เป็นที่น่าพอใจแล้ว

 

โดย : นฤตย์ เสกธีระ

The post คอลัมน์แทงก์ความคิด : รอให้พิสูจน์ appeared first on มติชนออนไลน์.

แฟลชสปีช : ทักษิณ ชินวัตร อวตารสะเทือนการเมือง

$
0
0

ไม่ว่าจะทำใจสร้างเกราะป้องกันเพื่อปกป้องความคิด ความเชื่อที่ว่าตัวเองเป็นคนเก่ง คนดีได้แค่ไหนก็ตาม ถึงที่สุดแล้ว ยากที่จะไม่ยอมรับว่าการกลับมาขึ้นเวทีการเมืองในฐานะตัวแสดงแทนที่จะอยู่หลังฉากเหมือนหลายปีที่ผ่านมาของ “ทักษิณ ชินวัตร” มีพลังสร้างความไหวหวั่นไม่น้อย

ต้องยอมรับว่า “Tony Woodsome” ซึ่ง “ทักษิณ ชินวัตร” ใช้เป็นนามเพื่ออวตารมาสู่โลกออนไลน์อีกครั้ง ผ่านแอพพลิเคชั่น “Clubhouse” ที่กำลังฮอตฮิต เป็นปรากฏการณ์ที่ก่อคำถามอันมีพลังมหาศาลกับกระแสการเมือง

ชื่อ “พี่โทนี่” อันเป็นการเรียกขาน “Tony Woodsome” ให้ง่ายขึ้น ขยายจากโลกออนไลน์ มาสู่วงสนทนาทั่วไป ก่อกระแสพูดถึงไปกว้างขวางอย่างรวดเร็ว

ประเมินกันว่าการกลับมาของ “ทักษิณ ชินวัตร” รอบนี้ ไม่ว่าจะมาจากการวางแผนเป็นอย่างดีหรือฟลุคก็ตาม แต่ถือเป็นการคืนสังเวียนอย่าง “ถูกที่ถูกเวลา” อย่างมาก

ถูกที่ถูกเวลาเนื่องด้วยยุคสมัยที่รูปแบบความสัมพันธ์ ที่ไวรัส “โควิด-19” ควบคุมต้องเรียนรู้ที่จะติดต่อสนทนา ไม่ว่าจะเป็นส่วนตัวหรือกลุ่ม ด้วยกลไกออนไลน์แทนการพบปะกันแบบถึงเนื้อถึงตัวได้เหมือนที่ผ่านมา ทำให้ผู้คนเรียนรู้เครื่องมือสร้างความสัมพันธ์ในโลกเสมือนมากขึ้น

และ “Clubhouse” กำลังเป็นที่ทางที่ผู้คนเลือกจะร่วมเดินมากมาย แต่ละห้องที่ตั้งวงสนทนามีคนเข้าร่วมล้นหลามรวดเร็ว และกระจายต่อเนื่องไปได้อีกกว้างขวาง คงเนื้อหาให้ติดตามย้อนหลังได้อย่างทรงประสิทธิภาพ

“พี่โทนี่” ปรากฏตัวท่ามกลางสปอตไลต์สาดเข้าใส่อย่างโดดเด่นยิ่ง

และหากมองไปที่ความเคลื่อนไหวของคนรุ่นใหม่ที่ออกมาเรียกร้องอย่างโหยหาอนาคตที่จะสร้างชีวิตอย่างมีความหวัง โดยเฉพาะการบริหารจัดการประเทศชาติที่ควรเชื่อมั่นได้ว่าเป็นไปโดยผู้มีความรู้ความสามารถ แต่กลับกลายเป็นว่าภาพลักษณ์ของคณะรัฐมนตรีนับวันจะไปคนละทางกับที่ประชาชนควรจะมอบศรัทธาให้

เมื่อ “พี่โทนี่” ซึ่งทุกคนรู้ว่าเป็นใคร นำเสนอเนื้อหาซึ่งแสดงความเหนือชั้นในความสามารถการบริหารให้เกิดความหวัง

เท่ากับมา “ถูกเวลา”

และยิ่งพูดถึง “วิธีการบริหารจัดการ” ที่สะท้อนความเป็นผู้บริหารที่เหนือกว่า เท่ากับนำเสนอในสิ่งที่ “ถูกเรื่อง” กับกระแสที่ผู้คนกำลังร่ำร้องหา

ในความเป็นไปเช่นนี้เอง “การเมือง” ที่มีความพยายามเสนอภาพ “คนดี” ว่าเป็นทางเลือกที่ดีกว่า และการหาทางกดทับผู้บริหารในอดีตด้วยท่าทีกระแนะกระแหน จึงเริ่มถูกตั้งคำถามว่า “ใครกันแน่ที่เป็นทางเลือกที่ดีกว่าในการนำชาติฝ่าวิกฤต”

และยิ่งนับวัน การออกมาเล่นหน้าฉากของ “ทักษิณ ชินวัตร” ในนามของ “พี่โทนี่” ยิ่งขยายผลของคำตอบในความคิดของผู้คนว่า “ควรจะเลือกผู้นำแบบไหน” มากขึ้นเรื่อยๆ

ดังนั้น ผลสะเทือนจาก “อวตาร” ในโลกออนไลน์เที่ยวนี้ ก่อกระแสคลื่นที่แรงไม่น้อย ต่อ “รัฐนาวา” ที่ควบคุมโดยกัปตันแบบ “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา”

การ์ตอง

The post แฟลชสปีช : ทักษิณ ชินวัตร อวตารสะเทือนการเมือง appeared first on มติชนออนไลน์.

ไปเรียนนอกแบบไม่กลัวโควิด “ศุภนิดา-ชินวัฒน์ สกุลตั้งไพศาล”เปิดธุรกิจติวช่วยด้วยใจรัก

$
0
0

แม้ว่าสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 จะทุเลาเบาบางลงไปแล้วด้วยความศักดิ์สิทธิ์ของวัคซีนที่กำลังกระจายส่งไปช่วยคนทั่วโลก ถึงกระนั้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และการเดินทางสัญจร การท่องเที่ยวของผู้คนก็ยังต้องมีความระมัดระวัง ไม่ได้ปล่อยเต็มที่ร้อยเปอร์เซ็นต์ ยิ่งการเดินทางไปเรียนต่อในต่างประเทศก็ยังต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของประเทศนั้นๆ ซึ่งแต่ละประเทศมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไป จะอย่างไรก็ตาม สถานการณ์อย่างนี้ สองศรีพี่น้องครอบครัว “สกุลตั้งไพศาล” เห็นว่าเป็นโอกาสทอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ต้องการเดินทางไปเรียนที่ประเทศอังกฤษในระดับมัธยม หรือไปเรียนต่อระดับปริญญาโท ปริญญาเอก

“ศุภนิดา-ชินวัฒน์ สกุลตั้งไพศาล” สองพี่น้องทายาทนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จากจังหวัดหนองคาย ถือโอกาสที่สถานการณ์ไวรัสเริ่มผ่อนคลาย จับมือกันสร้างธุรกิจรับให้คำปรึกษาและแนะแนวการเดินทางไปเรียนต่อต่างประเทศ โดยเฉพาะที่ประเทศอังกฤษ โดยมีหลักของการทำงาน “ไม่แสวงหากำไรแต่ทำด้วยใจรัก” เป็นธุรกิจที่ “ศุภนิดา” ผู้พี่สาวอธิบายถึงที่มา ว่าเพราะมีความเชื่อในปรัชญาที่ว่า “Knowledge is power” การศึกษาคือพลัง คืออำนาจชนิดหนึ่งที่สามารถสร้างขึ้นมาได้ และเป็นรากฐานของความสำเร็จ ไม่มีการลงทุนอะไรที่ดีไปกว่าลงทุนทางด้านการศึกษา อีกทั้งเห็นจากเพื่อนๆ รุ่นน้อง รวมถึงเครือญาติ คนรู้จักทั้งหลาย เวลาจะไปเรียนต่างประเทศ กลายเป็นเรื่องลำบากยุ่งยากและสร้างความกดดันให้กับหลายๆ คน ทั้งตัวเด็กเองและผู้ปกครอง ดังนั้น จึงคิดกับน้องชายว่าอยากทำธุรกิจนี้ รับอาสาทำหน้าที่เป็น “ติวเตอร์” หรือ “โค้ช” แก้ปัญหาให้กับคนที่อยากไปเรียนเมืองนอก หรือไปศึกษาต่อตั้งแต่ระดับชั้นประถม มัธยม ไปจนถึงระดับอุดมศึกษา และนักศึกษาปริญญาโท ปริญญาเอก รวมถึงประชาชนคนทั่วไปที่สนใจไปเพิ่มเติมความรู้

“…ทีแรกก็ทำแบบไม่คิดจะเป็นธุรกิจ ทำแค่ช่วยเหลือคน กระทั่งมีผู้ใหญ่ที่เคารพท่านหนึ่งเห็นว่าไม่ควรทำฟรี แต่ควรทำเป็นธุรกิจได้แล้ว เพราะเราทำกันอย่างจริงจัง ทุ่มเทมากๆ ดูแลให้ทุกอย่างเริ่มตั้งแต่ศูนย์แบบไม่รู้อะไรเลยจนกระทั่งเรียนจบ เพื่อให้คนที่มาปรึกษากับเราได้ในสิ่งที่เขาต้องการ เมื่อสำเร็จมันเป็นความสุขใจทั้งของเราและของคนที่มาขอคำปรึกษา นี่คือที่มาของธุรกิจ…”

ศุภนิดาและชินวัฒน์ สองคนพี่น้องไปเรียนที่ประเทศอังกฤษตั้งแต่อายุยังน้อย ชินวัฒน์-น้องชาย หลังจบชั้นประถมจากเซนต์คาเบรียลได้เรียนในระบบอังกฤษตั้งแต่มัธยม จบปริญญาตรีและปริญญาโท เกียรตินิยมทั้งสองใบ จาก LSE-London School of Economics and Political Science ซึ่งเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยอันดับต้นๆ ของโลก ปัจจุบันทำหน้าที่เป็นเลขานุการ คณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร และเป็นอุปนายก สมาคมนักเรียนเก่าอังกฤษในพระบรมราชูปถัมภ์ด้วย สมัยที่ยังเป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยที่อังกฤษ ชินวัฒน์เป็นลูกศิษย์อาจารย์ที่มีชื่อเสียงระดับโลกหลายคน เช่น Sir Julian Le Grand ราชบัณฑิต, Sir Christopher Pissarides เจ้าของรางวัลโนเบล Professor Nicholas Barr นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดัง เป็นต้น จึงรู้และซึมซับวัฒนธรรม วิถีชีวิตของคนที่นั่นเป็นอย่างดี เวลามีลูกเพื่อนคุณแม่หรือรุ่นน้องจะไปเรียนต่อที่อังกฤษมักจะมาปรึกษาขอคำแนะนำเสมอๆ ซึ่งชินวัฒน์บอกว่าหากนับตั้งแต่แรกจนถึงตอนนี้ “สัก 40-50 คนได้มั้ง…”

ขณะที่ “ศุภนิดา” พี่สาว จบปริญญาตรี (เกียรตินิยมอันดับ 1) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แล้วไปต่อปริญญาโท ด้านมานุษยวิทยา ที่ SOAS-University of London มหาวิทยาลัยด้านมานุษยวิทยาอันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งมีศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง เช่น ออง ซาน ซูจี, สมเด็จพระราชาธิบดีซาลาฮุดดีน แห่งมาเลเซีย, เจ้าชายอับดุล มาทีน แห่งบรูไน, ม.ล.จิรายุ นพวงศ์ อดีตองคมนตรี เป็นต้น และยังเป็นประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์ สมาคมนักเรียนเก่าอังกฤษในพระบรมราชูปถัมภ์ ในปัจจุบัน

ก่อนเข้าเรื่องธุรกิจ ทั้งสองคนออกตัวที่บอกว่าธุรกิจไม่แสวงหากำไร แต่ทำเพราะอยากช่วยคนนั้น อาจจะดูเหมือนโลกสวย แต่ยืนยันว่าเป็นความตั้งใจจริงแน่นอน เนื่องจากที่ผ่านมาเห็นถึงความยากลำบากของคนที่ต้องไปเรียนในต่างประเทศ หรือคนที่ไม่อยากไปแต่ต้องตามใจพ่อแม่ผู้ปกครอง สุดท้ายแล้วมักจบลงด้วยความผิดหวังหรือล้มเหลว ไม่ได้ในเส้นทางที่วางไว้ เพราะความไม่คุ้นเคย และไม่รู้ว่าจะเลือกเรียนอะไรดี หรือเรียนอะไรจึงจะเหมาะสมกับตัวเอง

ที่จริงแล้วธุรกิจที่ว่านี้ไม่ได้ตั้งเป็นรูปของบริษัทแต่เป็นลักษณะไพรเวทใช้ชื่อเรียกง่ายๆ ว่า “EDEX-Educationa Experts” ติดต่อได้ที่ LINE Official ID:@edex รับให้คำปรึกษา ให้คำแนะแนวทางแก่ผู้ที่ต้องการไปเรียนต่อในต่างประเทศทุกระดับ ไม่เฉพาะแค่เรื่องเรียนเท่านั้นยังรวมถึงดูแลจัดหาที่พัก ย่านที่อยู่อาศัย ตลอดจนคำแนะนำและแก้ปัญหาในการเรียน กระทั่งเรื่องของการใช้ชีวิตและมารยาทในสังคมผู้ดีอังกฤษ ซึ่งกว่าจะตกผลึกเป็นธุรกิจรูปแบบนี้ได้ ทั้งสองคนได้ผ่านการทำงานกับคนหลากหลายรูปแบบ เป็นประสบการณ์ตรง โดย “ชินวัฒน์” ผู้น้อง เล่าให้ฟังว่า ทีแรกเลยไปช่วยเหลือคนรู้จัก ลูกเขาอยากไปเรียนที่อังกฤษ มหาวิทยาลัย LSE-London school of economics และยังเลือกคณะที่เข้ายากที่สุดในโลก คือคณะการเงิน ไปช่วยแนะนำการเตรียมตัวจนสามารถเข้าไปเรียนได้ตามที่ต้องการ

“…หรืออย่างปีที่ผ่านมาก่อนสถานการณ์โควิด มีคนมาปรึกษาอยากให้ลูกไปเรียนมัธยมที่โรงเรียน boarding school อันดับหนึ่งของอังกฤษ แต่ทางโรงเรียนไม่รับเพราะคะแนนไม่ถึง ผมต้องบินไปอังกฤษด้วยตัวเอง ไปคุยกับทางโรงเรียนว่าเชื่อผมนะ เด็กคนนี้กระตือรือร้นมากเขาอยากเรียนที่คุณ ตั้งใจมากขนาดนี้ทำไมคุณไม่เอา ผมบินไปคุยถึงสองรอบแบบเช้าไปเย็นกลับ ทุ่มเทมาก..ในที่สุดเด็กก็ได้เข้าเรียน ผลการเรียนออกมาได้คะแนนดีมากเพราะเด็กเขามีความสุข เขาชอบโรงเรียนและทางโรงเรียนก็พอใจ อย่างนี้เป็นต้น พ่อแม่บางคนไม่ฟังลูก ไม่รู้ว่าลูกตัวเองเรียนเป็นยังไงเอาแต่อยากให้ลูกเข้ามหาวิทยาลัยดังๆ เข้าโรงเรียนดังๆ อย่างเดียว…”

มหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษ โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยมีชื่อ ชินวัฒน์บอกว่า ไม่ใช่จะเข้าได้ง่ายๆ ยกตัวอย่างหากเปิดรับสมัคร 50 คน จะมีคนแห่ไปสมัครถึง 700 คน และใน 700 คนนั้น เป็นคนที่มีคุณสมบัติตามที่มหาวิทยาลัยระบุไว้ทุกคน เช่น เกรดจะต้องได้ 3.75 ต้องได้ A กี่ตัว วิชาไหนบ้าง ทุกคนจะได้ตามนี้หมด “…แต่จะเฉือนกันตรงไหน เราจะเป็น 1 ใน 50 ได้ยังไง อันนี้แหละคือ “กุญแจสำคัญ” ที่จะต้องรู้” ชินวัฒน์เน้นย้ำ และกล่าวต่อว่า ที่อังกฤษจะมองว่าคนที่เข้าเรียนมหาวิทยาลัยคือคนที่โตเป็นผู้ใหญ่แล้ว มีความเป็นผู้ใหญ่มากพอ ดังนั้น ต้องรู้แล้วว่าตัวเองอยากทำอะไร อยากเรียนอะไร ไม่เหมือนอเมริกาที่ปีแรกยังไม่ต้องเลือกวิชาเอกหรือวิชาหลัก แต่ที่อังกฤษต้องเลือกแล้ว ฉะนั้น การเตรียมตัวแต่เนิ่นๆ จึงเป็นเรื่องสำคัญ

“…ยกตัวอย่าง คุณอยากเข้าเรียนคณะเศรษฐศาสตร์ ในมหาวิทยาลัย ไม่ใช่ยื่นสมัครเข้าเรียนเลย เขากำหนดไว้เลยว่าถ้าใครไม่เรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ในชั้นมัธยม พอระดับมหาวิทยาลัยจะไม่สามารถเรียนคณะนี้ได้ ข้อมูลนี้ต้องรู้และต้องเตรียมตัวตั้งแต่มัธยม ถ้าไม่รู้ถือว่าพลาด หลายคนเครียดมาก กลายเป็นคนมีปัญหาก็มี ดังนั้น หากได้คนมาให้คำปรึกษาหรือแนะนำ เขาก็จะไม่เครียดและยังจะได้ในสิ่งที่อยากเรียน อยากได้ ธุรกิจของเราที่เปิดมานี้ก็เพื่อตอบโจทย์ตรงนี้ และเราไม่ได้ให้คำปรึกษาเฉพาะกับเด็กเท่านั้น แต่ยังให้คำปรึกษากับพ่อแม่ผู้ปกครองด้วยว่าจะต้องทำอย่างไร เริ่มตั้งแต่มานั่งคุยกันก่อนเพื่อหาความชอบร่วมกัน ดูว่าเด็กอยากเรียนสิ่งนี้จริงไหม หรือถูกผู้ปกครองบังคับจะต้องช่วยกันปั้นเขาขึ้นมาอย่างไร สร้างตัวตนของเขายังไง ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องไม่โกหกในเรื่องข้อมูล ไม่บีบให้เด็กเป็นในสิ่งที่เขาไม่ใช่ และจะไม่สร้างโปรไฟล์ของเด็กแบบรวกๆ ต้องเป็นตัวตนเขาจริงๆ…”เป็นหลักของสองพี่น้องในการทำธุรกิจ

นอกจากในเรื่องของการเลือกวิชาและคณะที่อยากเรียนแล้ว สิ่งสำคัญที่มองข้ามไม่ได้เป็นการเลือก “ย่าน” ที่อยู่อาศัย จะต้องมีความปลอดภัย มีสภาพแวดล้อมเหมาะสม ยังต้องเป็นย่านที่สามารถเชื่อมสัมพันธ์และสร้างเพื่อนที่ดีได้ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญอย่างมากสำหรับอนาคต “..ต้องยอมรับว่าการส่งลูกไปเรียนต่างประเทศของพ่อแม่บางราย ไม่ใช่แค่เรื่องเรียนอย่างเดียว นอกจากวิชาความรู้แล้วยังเป็นเรื่องของคอนเนคชั่น โดยเฉพาะครอบครัวที่ทำธุรกิจ สิ่งเหล่านี้ต้องวางแผนอย่างรอบคอบและสมบูรณ์แบบ” ชินวัฒน์กล่าว

ขณะที่ “ศุภนิดา” พี่สาวเสริมว่า งานบริการให้คำปรึกษาของทั้งคู่มุ่งไปที่เป้าหมายของลูกค้าเป็นหลัก คือลูกค้าต้องได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยที่ต้องการอันดับแรก ถัดมาจึงเป็นเซฟ ช้อยส์ หมายความว่าสามารถเข้าเรียนได้แน่นอน และยังคงเป็นมหาวิทยาลัยที่ดีติดอันดับในประเทศอังฤษ โดยที่ผ่านมาเธอว่าทุกคนที่มาปรึกษาจะได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยที่เลือกอันดับแรกทั้งหมดเลย สองพี่น้องการันตีตบท้ายว่าคนที่มาขอคำปรึกษาจะไม่ถูกมองว่าเป้นลูกค้า แต่จะเป็นเสมือนหนึ่งญาติพี่น้อง “เพราะผมบอกแล้วว่าธุรกิจที่เราสร้างขึ้นมานี้มันมาจากความชอบที่ได้ช่วยเหลือคน ได้เห็นคนไปสู่ความสำเร็จ ฉะนั้นทุกขั้นตอนของการทำงานผมจึงลงไปทำด้วยตัวเองทั้งหมด ไม่ใช้ผู้ช่วย ผมจริงจัง ขีดเส้นใต้ไว้เลยว่า ผมจริงใจจริงๆ…”

สังคมโลกทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและสลับซับซ้อน การแข่งขันเพื่อไปสู่จุดหมายปลายทางในอนาคต ก็สูงขึ้นเรื่อยๆ ทุกคนต่างมีโอกาส แต่โอกาสที่ว่านั้นจะไปสู่ความสำเร็จหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับการลงทุนมองอนาคตอย่างรอบคอบ ระมัดระวัง และด้วยวิธีการที่เป็นระบบ ซึ่งไม่สามารถคิดเองทำเองได้โดยไม่มีความรู้ คนแนะนำหรือคนให้คำปรึกษาจึงสำคัญ ไม่เช่นนั้นจะเข้าทำนองสุภาษิตไทยที่ว่า “เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย”

The post ไปเรียนนอกแบบไม่กลัวโควิด “ศุภนิดา-ชินวัฒน์ สกุลตั้งไพศาล” เปิดธุรกิจติวช่วยด้วยใจรัก appeared first on มติชนออนไลน์.

คอลัมน์ ตามรอยพ่อไปชิม : Proof (พรูฟ) ร้านครัวซองต์คิวยาวแห่งเมืองเชียงใหม่ โดย ปิ่นโตเถาเล็ก

$
0
0

มีตำนานเรื่องเล่าแต่เก่าก่อนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหารหลายอย่างในโลกนี้ที่ประสบความสำเร็จโดยความบังเอิญ เช่นมันฝรั่งแผ่นทอดกรอบหรือชิปส์ (Chips) เกิดขึ้นจากพ่อครัวชาวอเมริกันโดนลูกค้าบ่นว่ามันฝรั่งทอดชิ้นหนาเกินไป เลยเปลี่ยนเป็นแผ่นบางๆ นำไปทอดและเหยาะเกลือเพิ่มแทน หรือเครื่องดื่มยอดนิยมโคคา-โคลา (โค้ก) ที่คิดค้นโดยนักปรุงยาในร้านขายยาแทนที่จะเป็นร้านอาหาร

ของดีที่เชียงใหม่ก็เช่นกัน มีครัวซองต์แสนอร่อยเกิดขึ้นจากกรรมวิธีการพับแป้งที่ผิดรูปแบบ แต่กลายเป็นความผิดพลาดที่ดี นี่คือที่มาของร้านครัวซองต์พรูฟ (Proof) คิวยาว เปิดมาเพียง 10 เดือนแต่ได้กลายเป็นร้านดังประจำจังหวัดไปแล้ว

เจ้าของร้านพรูฟคือน้องฝน พรทิพย์ รัตนปัญญา สาวเชียงใหม่ที่จบมาทางด้านการออกแบบภายใน ทำร่วมกับสามีหนุ่มชื่อน้องโอ๊ต วิชชา แซ่ตั้ง

น้องฝนเริ่มต้นจากทำร้านกาแฟกับขนมบิงซูอยู่ที่ร้านส้มตำชื่อดังในเชียงใหม่ Hello So lao ซึ่งเป็นร้านของครอบครัว จากนั้นมาเปิดร้านไก่ทอดเกาหลี Seoul Mind ที่ย่านศิริมังคลาจารย์

ช่วงที่ไปฮันนีมูนที่เกาหลี น้องฝนเกิดแรงบันดาลใจอยากทำร้านขนมอบเหมือน Cafe Onion และที่ถูกใจฝนมากคือร้านครัวซองต์สารพัดไส้คาวหวาน Lune ที่เมืองเมลเบิร์น ออสเตรเลีย เลยกลับมาทำร้าน พรูฟ (Proof) เป็นของตัวเอง

ตอนต้นปี 2563 น้องฝนมีเชฟชื่อดังเป็นที่ปรึกษา อีกทั้งเรียนรู้จาก YouTube กับมีเพื่อนให้สูตรจากเชฟฝรั่ง ฝึกปรือการทำครัวซองต์อยู่นานถึง 2 เดือน ในที่สุดก็ค้นพบเทคนิคการพับแป้งครัวซองต์ของตัวเองจากความผิดพลาดที่กลายเป็นสิ่งที่ดีไป จึงนำครัวซองต์มาขายในร้านไก่ทอดที่ศิริมังคลาจารย์ มีเสียงตอบรับอย่างล้นหลาม มาบัดนี้ได้ขยับขยายไปเปิดร้านใหม่ใหญ่โตในซอยหลังวัดอุโมงค์เมื่อต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมานี้เอง

ทางไปร้านใหม่นั้นให้เข้าซอยบ้านร่ำเปิงหลังวัดอุโมงค์ จากถนนเลียบคันคลองชลประทาน เลี้ยวลัดเลาะไปตามทาง(เปิดกูเกิ้ลแมพส์ดีที่สุด) ประมาณ 500 เมตรแล้วเลี้ยวเข้าซอย 1 กาแล (มีป้ายร้าน Proof) ผ่านอพาร์ตเมนต์ For-rest Hill 2 ก็จะเห็นร้าน Proof ทางขวามือในอาคารสีขาวทันสมัยสวยงาม มีที่จอดรถกว้างขวาง ข้างในโอ่โถง มีมุมถ่ายรูปเก๋ๆมากมาย ตกแต่งร้านด้วยต้นมะกอก ส่วนด้านหลังมีห้องอบ ห้องนวดแป้ง

ควรมารับบัตรคิวตั้งแต่ 9 โมงครึ่ง แล้วเข้าไปนั่งรอเวลาร้านเปิดตอน 10 โมงเช้าได้เลย โดยแต่ละคิวจะซื้อได้คนละ 6 ชิ้น ช่วงนี้รับแค่วันละไม่เกิน 100 คิวเท่านั้น(บางวัน 60 คิว) เนื่องจากแป้งและเนยขาดตลาดจากปรากฏการณ์บ้าครัวซองต์ทั้งประเทศ

พอร้านเปิดก็จะให้ผู้คนไปยืนสั่งตามคิว ซึ่งคิวจะเดินไวไม่ชักช้าเลย โดยมากขนมจะหมดไม่เกินตอนเที่ยง และที่นี่ไม่มีบริการโทรสั่งจองล่วงหน้านะจ๊ะ

ครัวซองต์ของร้าน Proof มีจุดเด่นคือมีถึง 17 ชั้น (Layers) เข้าชั้นเนยได้เป๊ะ พอหั่นแล้วเห็นเป็นโพรงรังผึ้งหรือ Honeycomb โปร่งๆสวยงามสม่ำเสมอ นอกจากมีเทคนิคการพับแป้งที่เป็นเอกลักษณ์แล้ว ยังพับแป้งในอุณหภูมิต่ำมากๆ หมั่นเอาเข้าตู้เย็นแล้วนำมาพับต่อ ซึ่งการอบครัวซองต์นั้นจะใช้เวลานาน 17 นาที

ที่นี่มีทั้งครัวซองต์แบบดั้งเดิมและครัวซองต์แฟนซีไส้คาวและหวานอีกมากมาย รวมกันแล้วถึง 12 รสชาติ ซึ่งที่ผมชื่นชอบมากคือครัวซองต์ไส้คาว คาโบนารา(Carbonara)(110 บาท) ไส้เบคอน แฮม ผสมกับซอสซาบายอน(Sabayon)ของฝรั่งเศสที่ทำจากไข่แดง ปรุงด้วยกระเทียม หอมหัวใหญ่ และพาร์สลีย์(Parsley)หอมๆ กินเป็นอาหารเช้าร้อนๆได้เลย และครัวซองต์รสอัลมอนด์(95 บาท)ได้เคี้ยวอัลมอนด์กรอบๆหวานหอม ด้านในมีอัลมอนด์ครีม มีกลิ่นวานิลลาแท้ๆด้วย

โดยรสชาติที่มีไส้น่าลิ้มลองอีกเพียบ ไม่ว่าจะเป็นครัวซองต์รสไข่เค็ม(110 บาท) รสช็อกโกแลตมูส(125 บาท)ตกแต่งด้านบนสวยงามมาก ใช้ช็อกโกแลตนำเข้าจากเบลเยียม รสเลมอน เมอแรงก์ (Lemon Meringue)(130 บาท) ซึ่งมีกรรมวิธีทำหลายขั้นตอน เช่นต้องต้มเลมอนแช่ในน้ำเชื่อมให้หายขม อบอุณหภูมิต่ำและจุ่มในเมอแรงก์ พ่นไฟเล็กน้อย และที่มีกลิ่นอายญี่ปุ่นคือรสมัทฉะไวท์ช็อกโกแลต (Matcha White Chocolate) (135 บาท) ใช้มัทฉะจากจังหวัดคาโกชิมะ อีกทั้งแบบฝรั่งเศส รสทรัฟเฟิลดำ (Black Truffle)(135 บาท) ใส่เห็ดหอมและมีกลิ่นหอมของน้ำมันทรัฟเฟิลเหยาะหน้า โรยด้วยใบไทม์เล็กๆ นอกจากนี้ ก็มีรสแฮมชีส (135 บาท) รสราสพ์เบอรี่ (125 บาท) สีแดงสวย

ถ้าชอบถั่วๆ ยังมีครัวซองต์รสพีแคนคาราเมล (Pecan Caramel) (90 บาท) และแน่นอนว่าต้องมีแบบปกติไม่มีไส้หรือครัวซองต์แบบ Plain (75 บาท) ด้วย และมีรสชาติสุดท้าย หน้าตาคนละแบบกับครัวซองต์ ทำเป็นรูปทรงกลมเหมือนพุดดิ้ง คือมังกี้เบรด (Monkey Bread) (65 บาท) ฉ่ำเนย ซึ่งทำจากแป้งส่วนที่เหลือจากการทำครัวซองต์ ใส่น้ำตาลทรายแดง ซินนามอน และเกลือเล็กน้อย

สำหรับผู้ที่ซื้อครัวซองต์กลับบ้าน ให้นำไปอบเพิ่มนาน 4-5 นาทีที่ 170 องศาเซลเซียส โดยเก็บไว้ได้นาน 4 วันในตู้เย็น

เครื่องดื่มต่างๆ ก็ดูดีไม่น้อยหน้ากัน มีตั้งแต่ Silky blossoms (130 บาท) เป็นเครื่องดื่มเย็นทำจากเอสเปรสโซผสมเก๊กฮวย Orange blissful (130 บาท) เอสเปรสโซหอมกลิ่นส้ม และซอลท์ตี้โกโก้ (Salty cocoa) (120 บาท) เครื่องดื่มเอสเปรสโซกับช็อกโกแลต เพิ่มรสเค็มๆ หอมๆ ด้วย sea salt

ร้านพรูฟเปิดบริการตั้งแต่ 10 โมงเช้าถึงบ่าย 3 โมง หยุดทุกวันพุธ ขอย้ำว่าส่วนใหญ่ครัวซองต์จะขายหมดก่อนเที่ยงทุกวันนะจ๊ะ โทรสอบถามได้ที่ 09-9497-6993

มีข่าวดีมาฝาก น้องฝนบอกว่ากำลังจะมีโครงการส่งครัวซองต์ข้ามจังหวัดเพิ่มอีกด้วย ต่อไปชาวกรุงเทพฯและจังหวัดอื่นๆ คงได้ลิ้มลองที่บ้านได้แล้วนะจ๊ะ

มุมถ่ายรูปเก๋ๆ
มังกี้เบรด

ครัวซองต์ไส้คาว คาโบนารา(Carbonara)
เครื่องดื่มต่างๆ

ข้อมูล

Proof (พรูฟ)

โดย คุณพรทิพย์(ฝน)รัตนปัญญา และคุณวิชชา(โอ๊ต) แซ่ตั้ง

ที่ตั้ง 207 ซ.กาแล 1 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200

โทร 09-9497-6993

เปิดบริการ 10.00-15.00 น. พฤหัสบดี-อังคาร

หยุด พุธ

แนะนำ ครัวซองต์รสชาติต่างๆ คาโบนารา อัลมอนด์ ไข่เค็ม ช็อกโกแลตมูส เลมอน เมอแรงก์ มัทฉะไวท์ช็อกโกแลต แบล็คทรัฟเฟิล แฮมชีส ราสพ์เบอร์รี่ พีแคนคาราเมล ครัวซองต์แบบ Plain และมังกี้เบรด (Monkey Bread)

The post คอลัมน์ ตามรอยพ่อไปชิม : Proof (พรูฟ) ร้านครัวซองต์คิวยาวแห่งเมืองเชียงใหม่ โดย ปิ่นโตเถาเล็ก appeared first on มติชนออนไลน์.

อย่าเพิ่งเบื่อ วาทะ #ถ้าการเมืองดี ในวันที่ยังเชื่อว่าจะชนะ

$
0
0

“เชื่อว่าวันหนึ่ง (เรา) จะชนะ”

เป็นคำกล่าวที่ยังคงถูกเอ่ยขึ้นในทุกกิจกรรมการชุมนุมรวมถึงเสวนาวิชาการของฟากฝั่งที่กำลังเรียกร้องประชาธิปไตย

ท่ามกลางกระแสที่กล่าวกันมาแล้วก่อนหน้าอย่าง ‘ม็อบแผ่ว’ รวมถึงความคิดต่างในแนวทางการเคลื่อนไหว

เป็นประโยคเดียวกันกับที่ ส.ศิวรักษ์ ปัญญาชนสยามกล่าวก่อนย่ำเท้าร่วมขบวน ‘เดินทะลุฟ้า ทวงอำนาจคืนประชาชน’ จากวัดคุณหญิงส้มจีน คลองหลวง ปทุมธานี อันเป็นส่วนหนึ่งของระยะทาง 247.5 กิโลเมตร โดยมีจุดหมาย ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในวันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคมที่ผ่านมา หลังเริ่มต้นก้าวแรกที่จังหวัดนครราชสีมาเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์

“ต้องต่อสู้อดทน สันติ อหิงสา” คือวาทะย้ำเตือนจากผู้อาวุโสท่านนี้

ไม่ต่างจาก รุ้ง ปนัสยา สิทธิจิรวุฒนกุล จากกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ที่ยืนยันหลักการที่ปฏิเสธการใช้ความรุนแรงตลอดมา โดยเฉพาะหลังเกิดการปะทะหลายหนในการชุมนุมในช่วงหลังๆ ซึ่งเจ้าหน้าที่ใช้ความรุนแรงมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

“ความหวังอยู่ตรงหน้า เชื่อว่าวันหนึ่งเราจะชนะ แม้กระแสแผ่ว แต่ไม่ได้หยุด กำลังจะค่อยๆ กลับมา ไม่อยากให้ท้อ อนาคตอยู่ข้างหน้า ไม่ว่าจะใกล้หรือไกล”

คือปากคำของรุ้งนอกเวทีปราศรัย หากแต่อยู่ในวงเสวนา ‘ #ถ้าการเมืองดี เราย่อมเสมอภาคกันต่อหน้ากฎหมาย” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชุดโครงการเสวนาวิชาการ #ถ้าการเมืองดี’ ที่จัดขึ้นโดยคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ร่วมกับศูนย์วิจัยดิเรก ชัยนาม คณะรัฐศาสตร์ รั้วแม่โดม ท่ามกลางบรรยากาศสบายๆ ในลาน 50 ปี คณะ ‘สังวิท’ ชื่อเล่นของคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ซึ่งรุ้งเป็นนักศึกษาอยู่นั่นเอง

และแม้ว่าวลี ‘ถ้าการเมืองดี’ จะได้ยินกันน้อยลงเพราะสถานการณ์ทะลุเพดานไปไกลกว่านั้น นำมาซึ่งคำปราศรัยกระทั่งข้อความเข้มข้นที่ผู้คนต้องการสื่อสาร แต่ทั้งหมดก็คือ ‘เรื่องเดียวกัน’

 

7 ปีนิติรัฐถูกทำลาย กฎหมาย ‘ตามอำเภอใจ’

ในสถานการณ์ที่ไม่เคยเกิด

ในบรรยากาศตึงเครียดอลหม่านของการถาโถมเข้ามาซึ่ง ‘คดีความ’ มากมายจากการแสดงออกทางการเมือง ทนายเม-พูนสุข พูนสุขเจริญ ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ยกสถิติมากางว่านาทีนี้ มีแล้วอย่างน้อยถึง 223 คดี จาก 382 คน ในจำนวนนี้ เป็นคดีมาตรา 112 จำนวน 60 คน มาตรา 116 จำนวน 92 คน ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 301 ราย ใน 118 คดี นี่คือสถานการณ์ที่ไทยไม่เคยเจอมาก่อน ในปี 63 ปัญหาสังคมถูกนำมาตีแผ่ทุกด้าน มีความหลากหลายอย่างมาก แต่ทั้งหมดคือเรื่องเดียวกัน นั่นคือประชาชนไม่มีอำนาจจัดการตัวเอง ไม่มีอำนาจกำหนดทิศทางประเทศที่อยากไป

“สิ่งที่เผชิญในเกือบ 7 ปีที่ผ่านมา คือนิติรัฐถูกทำลาย เป็นการปกครองตามอำเภอใจ ก่อนหน้านี้ เป็นที่รู้กันว่าหากโดน ม.112 โอกาสชนะคดีน้อยมากซึ่งไม่ควรเกิดในทางกฎหมายที่คนจะสามารถคาดเดาผลไปได้ล่วงหน้า แต่มีช่วง 2-3 ปีที่ถูกงดใช้ หลุดคดี หรือยกฟ้อง ซึ่งไม่ได้หยุดใช้ไปเลย แต่ถูกนำมาตรา 116 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มาใช้แทน รวมถึงวิธีนอกกฎหมาย เช่น นักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มธ. ถูกตำรวจนำตัวไป สภ.คลองหลวง ทำเอ็มโอยู บันทึกข้อมูลจากมือถือไป ซึ่งแสดงความไม่แน่นอนของการใช้กฎหมาย

“ถ้าการเมืองดี ตำรวจต้องทำหน้าที่ไปตามกฎหมาย ถ้าการเมืองดี นอกเครื่องแบบจะมีเวลาไปหาคนกระทำอาชญากรรม ไม่ต้องมาเสียเวลานั่งฟังเสวนานี้ ถ้าการเมืองดี คดีที่ไม่เข้าองค์ประกอบทางกฎหมาย จะถูกยกตั้งแต่ต้น การต่อสู้คงไม่ได้จบง่ายๆ ใน 1-2 ปี ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนรวมถึงตัวเองด้วย” ทนายเมกล่าว

พระ-เณรยุ่งม็อบ เจอ 2 เด้ง พ่วงกฎหมายคณะสงฆ์

ไม่ใช่แค่ฆราวาส ทว่า เมื่อการเมืองแย่ ก็ทำภิกษุ สามเณรผ้าเหลืองร้อน ด้วยไม่อาจมีเสรีภาพในการแสดงความเห็นได้อย่างที่ควรเป็น

“คนที่ควรมานั่งตรงนี้ คือสามเณรโฟล์ก ไม่ใช่อาตมา วันนี้ยังติดต่อไม่ได้ ไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหน ปลอดภัยหรือไม่ เขาโดนหลายคดี ทั้งยังเป็นคดีอาญาด้วย ในขณะที่ฆราวาสโดนคดีได้รับหมาย แต่พระเณรโดน 2 เด้ง เพราะมีกฎหมายคณะสงฆ์ด้วย

บ้านเมืองนี้ไม่มีความเสมอภาคทางกฎหมาย คนบางพวกใส่ร้ายป้ายสีคนอื่น แต่ไม่โดนดำเนินคดี สื่อบางสำนักกล่าวเท็จก็ไม่โดน แล้วยังได้ทำหน้าที่ต่อ การพูดความจริงกับเสรีภาพต้องไปด้วยกัน”

พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ พระนิสิตปริญญาเอก หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กล่าวถึงเรื่องน่าเศร้าของสามเณรโฟล์ก สหรัฐ สุขคำหล้า สมาชิก ‘แก๊งแครอท’ ผู้ออกมาเทศนาธรรมแทนใจพระ-เณรจำนวนมากอย่างกล้าหาญ พร้อมยืนยันว่า การเมืองเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับทุกภาคส่วน แม้กระทั่งวงการสงฆ์ สุดท้ายต้องออกจากวัด ยิ่งไปกว่านั้นมหาเถรสมาคมมีมติให้ดำเนินคดีตามกฎหมาย พ่วงท้ายด้วย ‘ทัณฑกรรม’

“เณรโฟล์กน่าเห็นใจมาก เขาขยัน ช่วยเจ้าอาวาสทำงานตลอด พอต้องออกจากวัด ไม่มีเงินเรียนหนังสือที่มหิดล มีเพื่อนที่รวยบอกว่าจะออกค่าเทอมให้ แต่เณรไม่รับ เพราะมองว่าเป็นการเอาเปรียบ เลยไปช่วยเพื่อนทำงานแบกขาตั้งกล้องในวิชาเรียนแลกปัจจัยค่าเทอม คนแบบนี้สำนักพุทธฯบอกว่าเป็นภัยต่อพระพุทธศาสนา ทั้งที่เป็นคนกล้าหาญ สิ่งที่เณรพูด ไม่เห็นมีความเท็จ มีแต่เรื่องจริง แต่กลับโดนให้ลงทัณฑกรรม ซึ่งเป็นโทษหนักที่สุดสำหรับสามเณร” พระมหาไพรวัลย์กล่าว ก่อนฝากถึงพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่อย่างตรงไปตรงมาว่า เณรโฟล์ก บิณฑบาตทุกวัน เห็นว่าชาวบ้านมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร พระผู้ใหญ่บางส่วนไม่สนใจความทุกข์ยาก ความลำบากของคนอื่น เพราะไม่บิณฑบาตฉันแต่เงินนิตยภัตที่มาจากภาษีชาวบ้าน รับนิมนต์เป็นหมื่นเป็นแสน ไม่ฉันข้าวแกงจากการบิณฑบาต จึงไม่รู้ถึงความทุกข์ร้อน ขอให้ออกมาโปรดสัตว์บ้าง อย่าอยู่แต่ในกุฏิที่มีผ้าม่านหรูๆ มองเห็นแต่สวรรค์

หลากรูปแบบ ‘คุกคาม’ เพราะเราทุกคนล้วนถูกกดขี่

มาถึง รุ้ง-ปนัสยา ที่ย้อนเล่าเรื่องราวการถูกคุกคามหลายต่อหลายครั้ง ตั้งแต่ก่อนการชุมนุมใหญ่ที่ลานพญานาค มธ.รังสิตเมื่อวันที่ 10 สิงหาคมซึ่งเป็นค่ำคืนที่ประกาศ 10 ข้อเรียกร้องครั้งสำคัญ

“ตอนนั้นผูกโบขาวที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย วันนั้นเป็นคนขับรถไปส่งเพื่อน ไม่ได้ทำกิจกรรมเอง เมื่อส่งเสร็จ ก็ขับรถวนเพราะแถวนั้นหาที่จอดยาก แต่มีตำรวจมารออยู่แล้ว และโดนใบสั่ง จากนั้นขับรถต่อไป แล้วถูกล้อม 4 ด้าน ไปยัง สน.พระราชวัง ตอนนั้นยังไม่รู้สิทธิของตัวเอง จนเพื่อนหาเบอร์ทนายให้ ก็รอดออกมาได้ ให้ทนายคุย นั่นคือครั้งแรกที่โดนกับตัวเองอย่างจังๆ แต่ครั้งที่น่ากลัวที่สุดคือตอนทำกิจกรรมอ่านประกาศคณะราษฎรที่สกายวอล์ก พอจบงาน ขับรถเพื่อจะกลับมหาวิทยาลัย แต่กลับไม่ได้ เพราะถูกต้อนจากจักรยานยนต์หลายคันที่ขี่ตาม แต่ก็รอดมาได้

การคุกคามมีหลายรูปแบบ อยู่ๆ มาบ้าน ไม่แจ้งสาเหตุ ขับรถตาม ไม่กี่เดือนที่ผ่านมา มีการติดกล้องวงจรปิด 8 ตัวรอบบ้านที่เช่าอยู่กับเพื่อนโดยหาที่มาไม่ได้ว่าเป็นของใคร

อีกหนึ่งเหตุการณ์คือ ตอนอยู่ในเรือนจำ มีตำรวจไปหาแม่ที่บ้าน ให้บอกลูกว่าให้หยุดทำกิจกรรม พฤติกรรมเช่นนี้ยังเรียกตัวเองว่าตำรวจ น่าหดหู่มาก ตำรวจไม่มีอุดมการณ์ปกป้องประชาชนอีกต่อไป แต่รับใช้นายอย่างเดียว ก่อนหน้านี้ก็เคยพยายามบอกทุกคนว่า อย่าโทษตำรวจ เพราะนายสั่งมา แต่สุดท้ายถ้าตำรวจเป็นอย่างนั้นจริงๆ วันหนึ่งต้องปลดแอกตัวเองออกมา”

รุ้งย้ำด้วยว่า เราทุกคนล้วนถูกกดขี่ ต้องการสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ต้องการประชาธิปไตยและสังคมที่ดี อยากให้ออกมาร่วมต่อสู้ด้วยกันเพื่อสังคมในแบบที่ต้องการ

เมื่อเยาวชนถูกพรากฝัน ในวันที่ยังไม่รู้อนาคต

ด้าน เบญจมาภรณ์ นิวาส หรือพลอย จากกลุ่ม ‘นักเรียนเลว’ เล่าว่า โดนหมายเรียกจากการไปร้องเพลงแจวเรือในการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ ฐานฝ่านฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ปัจจุบันยังมีเด็กและเยาวชนอีกมากมายที่โดนคดี ม.116 รวมถึง 112 ทั้งยังถูกคุกคาม

“หลังได้หมายเรียก แม่โทรมา ยายตกใจมาก แต่ก็ตั้งสติกันได้ ไปรายงานตัวที่ สน.ลุมพินี แต่รู้สึกเหมือนเขามาเล่นขายของ ไม่ได้ศึกษามาก่อน เหมือนทำๆ ไปเพราะนายสั่งมา ก็ตอนไปศาลเยาวชน ได้เจอเจ้าหน้าที่ เจอศาลครั้งแรก ไม่กล้าตอบคำถาม เกือบไม่ได้รับการประกันตัว เพราะไม่เคารพศาล ก่อนหน้านั้นเคยส่งหนังสือร้องขอความเป็นธรรม และมีประเด็นเรื่องการละเมิดอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก แต่ก็โดนอัยการสั่งฟ้องอยู่ดี

ยังไม่รู้อนาคตตัวเองว่าต่อไปจะเป็นอย่างไร จะถูกขังโดยไม่ได้รับการประกันตัวหรือไม่ มีคำที่มักพูดกันว่า เด็กไม่ควรยุ่งการเมือง ดาราไม่ควรยุ่งการเมือง คนนั้นคนนี้ไม่ควรยุ่งการเมือง แต่การเมืองเป็นเรื่องของทุกคน ถามว่าทหารควรยุ่งการเมืองหรือไม่ วันนี้มานั่งในสภา ลองทบทวนบทบาทหน้าที่ของตัวเองใหม่ดีไหม ทบทวนถึงวันที่สอบเข้าไปเป็นทหาร เป็นตำรวจวันแรก ดูว่าเข้ามาเพื่อทำร้ายประชาชนหรืออย่างไร คุณต้องปกป้อง เคียงข้างประชาชน”

ในตอนท้าย พลอยย้ำจุดยืนอีกรอบว่า ออกมาสู้เพื่ออนาคตตัวเอง เพื่อลูกหลานที่จะเติบโตในสังคมในระบบการศึกษาที่ดีกว่านี้

“เราถูกพรากความฝันมากมาย โตมาเจอระบบการศึกษาที่ทำให้คนไม่รู้จักตัวเอง ไม่มีความฝัน เรียนจบมาเป็นลูกจ้าง เราอยากปลดแอก ถ้าชนะ ไม่ใช่คนเรียกร้องที่ได้รับชัยชนะ แต่ทุกคน รวมถึงตำรวจ ทหารก็ได้เหมือนกัน”

2560-2564 ตาม จับ ปล่อย

จากหมุดคณะราษฎรถึงม็อบรีเด็ม

ปิดท้ายที่ประสบการณ์ของ ธนพล พันธ์งาม หรือโน้ต นักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มธ. หนึ่งในผู้โดนควบคุมตัวระหว่างการชุมนุมของกลุ่ม REDEM (รีเด็ม) ในคืนวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ซึ่งเจ้าหน้าที่มีการใช้แก๊สน้ำตา จนถึงกระสุนยาง

“ในคืนนั้น ผมนั่งอยู่บริเวณจุดปฐมพยาบาล หลายคนที่ถูกจับไปด้วยกันก็อยู่ในจุดนั้น อย่างที่มีคลิปออกมาจะพบว่ามีการไปลากคนเจ็บออกมา เมื่อได้ยินเสียงปืน จึงออกวิ่ง แล้วสะดุดล้ม และเข้าช่วยผู้หญิงคนหนึ่ง จากนั้นผมล้มลงอีกครั้ง แล้วโดนเจ้าหน้าที่จับกดลงกับพื้น ถูกด่าว่าเป็นพวกก่อความวุ่นวาย บอกให้ชูมือ แล้วนำสายรัดข้อมือมารัดแน่นมาก ยังเจ็บและชาที่นิ้วบางส่วนจนถึงวันนี้ จากนั้น ถูกกระชากไปรวมกับผู้ต้องหาคนอื่น และพาเดินจากหน้าปั๊มเชลล์ไปทางโรงพยาบาลทหารผ่านศึก หลายคนถูกรัดข้อมือไพล่หลัง บางคนโดนกระบองตำรวจจนปากแตก ไม่มีการแจ้งสิทธิใดๆ ทั้งสิ้น พาขึ้นรถไป ตชด. แทนที่จะเป็น สน. ต่อมาเจอ ส.ส. และทีมทนาย ก็เริ่มสบายใจขึ้น และได้รับการประกันตัวในวันที่ 1 มีนาคม”

อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่โน้ตประสบพบการคุกคามจากเจ้าหน้าที่รัฐ ย้อนไปในปี 2560 ก็เคยถูกกลุ่มบุคคลติดตามทั้งวัน จากเช้าจนดึกดื่น ซ้ำยังไปหาแม่ถึงที่ทำงาน

“ในช่วงนั้นมีเหตุการณ์หมุดคณะราษฎรสูญหาย มีหมุดอื่นมาแทนที่ จึงมีการจัดกิจกรรมรำลึกโดยประชาสัมพันธ์ผ่านเฟซบุ๊ก ผมจำไม่ได้ว่ากดตอบรับเข้าร่วมกิจกรรมนั้นหรือไม่ แต่ในวันที่ 23 มิถุนายน ก่อนวันที่ 24 มิถุนายน ซึ่งเป็นวันจัดกิจกรรม ก็เกิดเหตุขึ้น ตอนนั้นยังเป็นนิสิตปริญญาตรี ม.เกษตรศาสตร์ แม่โทรมาเสียงสั่นว่ามีเจ้าหน้าที่ไปหาที่ทำงาน บอกให้แม่โทรหาแล้วคุยเพื่อถามว่าอยู่ไหน ทำอะไรอยู่ จะไปลานพระบรมรูปทรงม้าหรือเปล่า ผมก็คุยแล้ววางสายไป วันรุ่งขึ้น ตื่นเช้ามา ออกจากบ้านราว 8-9 โมงเช้า เจอรถจอดหน้าบ้าน ตำรวจมารอ ผมก็บอกว่าจะไปมหาวิทยาลัยแล้วค่อยไปวัดพระศรีมหาธาตุบางเขนซึ่งก็มีกิจกรรมเหมือนกัน เจ้าหน้าที่พยักหน้า แล้วขับรถตามตั้งแต่เช้าถึง 4 ทุ่ม ใช้ตำรวจ 4-5 คนตามผมคนเดียว พอทำกิจกรรมที่วัดจบ ก็ไปงานที่ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ จากนั้น ผมไปหอสมุดเมือง ก็ยังตาม แล้วเรียกคุย พยายามถามว่าจะไปไหนอีก ผมบอกจะไปกินข้าวกับเพื่อน ก็ยังตามมา บอกจะเลี้ยงข้าว แล้วก็ไปจ่ายให้จริงๆ พยายามผูกมิตร พอแยกไปแล้วก็ยังโทรถามว่ากลับบ้านหรือยัง โดยกิจกรรมรำลึกหมุดคณะราษฎรในวันนั้นรู้สึกว่ามีคนไปเพียงคนเดียวคือคุณเอกชัย หงส์กังวาน ซึ่งก็โดนจับกุมตัว” นักศึกษาปริญญาโทย้อนเล่า

ถึงบรรทัดนี้ ไม่ต้องมีบทสรุปใดๆ นอกจาก #ถ้าการเมืองดี เรื่องราวทั้งหมดในหน้ากระดาษนี้คงไม่เกิด

พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร

The post อย่าเพิ่งเบื่อ วาทะ #ถ้าการเมืองดี ในวันที่ยังเชื่อว่าจะชนะ appeared first on มติชนออนไลน์.

คุยคอร์รัปชั่นไม่จำเป็นต้องคุยแบบเครียดๆ ‘การตลาดต้านโกง’งานวิจัยจุฬาฯ โดนใจสุดๆ ปลุกกระแส เป็นความหวังที่จับต้องได้

$
0
0

การรณรงค์ต่อต้านการคอร์รัปชั่นที่ผ่านมามักใช้ท่าทีที่บึกบึนเข้มแข็งดุดัน หยิบเอาตัวเลขของการคอร์รัปชั่นมาแสดง หวังกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของคนจำนวนมาก แต่ผลการวิจัยกลับพบว่า ความดุดัน หรือ”ความเป็นชาย” (Masculinity) ให้ผลต่อการกระตุ้นให้ต่อต้านคอร์รัปชั่นน้อยกว่าการใช้ความอ่อนโยน การมีสุนทรียภาพ อย่างละมุนละม่อม

นี่คือหนึ่งในปัจจัยซ่อนเร้นที่จุดกระแสความสนใจ กับงานวิจัยการตลาดเชิงประยุกต์กระตุ้นการต่อต้านคอร์รัปชั่นชิ้นล่า ผลงานทีมวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้รับการตอบรับจากหน่วยงานองค์กรที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการต่อต้านคอร์รัปชั่นอย่างมาก เกิดแรงกระเพื่อมสำคัญ นำผลจากงานวิจัยไปปรับกลยุทธ์ใช้งานจริง

นับเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่หยิบเอาศาสตร์การตลาดมาทำวิจัย เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการต่อต้านคอร์รัปชั่น โดยความร่วมมือของคณะเศรษฐศาสตร์ และคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดทำโครงการวิจัย “การตลาดเชิงประยุกต์สำหรับกระตุ้นและจำแนกกลุ่มประชาชนที่มีความตระหนักรู้เกี่ยวกับการต่อต้านคอร์รัปชั่น” ได้รับการสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานวิจัยแห่งชาติ ภายใต้แผนงานบูรณาการยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) ด้านสังคม “คนไทย 4.0” (Khon Thai 4.0) มี ศ.ดร.มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด เป็นประธานบริหารแผนงาน และทีมวิจัยซึ่งประกอบด้วย ผศ.ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค, อ.ดร.อภิชาติ คณารัตนวงศ์, ผศ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล ผศ.ดร.ธานี ชัยวัฒน์ และทีม Hand Social Enterprise ั้ ั้ ั้

ผศ.ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะหัวหน้าทีมวิจัย เล่าถึงที่มาของการทำวิจัยนี้ว่า มีโอกาสทบทวนงานวรรณกรรมที่เกี่ยวกับการต่อต้านคอร์รัปชั่นจากหลายๆ ศาสตร์ ซึ่งแต่ละศาสตร์เสนอมุมมองการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นที่แตกต่างกัน พบว่าไม่ว่าจะเป็นมุมมองใด “คน” มีส่วนเกี่ยวข้องและเป็นส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่น

ทั้งนี้ ศาสตร์ที่ทำความเข้าใจคนได้ดีที่สุด ก็คือ “ศาสตร์การตลาด” เพราะมีกระบวนการแบ่งกลุ่มคน วิธีการใช้กลยุทธ์อย่างไรจะสื่อสารกับคนได้ดี ฯลฯ รวมถึงวิธีการดึงคนให้เข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นความเชี่ยวชาญของการตลาด จึงเกิดเป็นการร่วมมือกันบนพื้นฐานของการมีประสบการณ์การศึกษาด้านคอร์รัปชั่น

“การเข้าใจเรื่องพฤติกรรมของมนุษย์นั้นเป็นพื้นฐานของศาสตร์การตลาดอยู่แล้ว เพราะการจะให้คนมาร่วมต้านโกงจะทำแบบทื่อๆ ไม่ได้ สารเดียวกันบางทีการใช้บริบทแวดล้อมที่ต่างกันก็ให้ผลที่ต่างกัน”

สิ่งที่ได้จากงานวิจัยชิ้นนี้ ผศ.ดร.ต่อภัสสร์บอกว่า ได้มิติองค์ความรู้ใหม่ๆ ว่าคอร์รัปชั่นสามารถคุยได้หลากหลายมากขึ้น สามารถแก้ไขคอร์รัปชั่นอย่างมีความหวังมากขึ้นในเชิงองค์ความรู้ทางวิชาการ

เราสามารถเข้าใจการต้านโกงที่มีหลายมิติ สามารถแบ่งกลุ่มคนในสังคมว่ามีรูปแบบการต่อต้านคอร์รัปชั่นกี่กลุ่มและแต่ละกลุ่มเป็นอย่างไร เรารู้ว่ากลุ่มไหนที่เราควรจะเริ่มกระตุ้นก่อน อาจจะกระตุ้นเพียงนิดเดียวก็สามารถทำให้เขาเป็น “นักต่อต้านโกงมืออาชีพ” ได้เลย และรู้วิธีการเข้าไปสื่อสารอย่างไรจะได้ผลตอบรับที่ประสบความสำเร็จ

ที่เหนือความคาดหมายคือ ปัจจัยต่างๆ ที่เราค้นพบสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในกลยุทธ์ต้านโกงได้อีกมาก เช่น วิธีในการสื่อสารที่ลดความดุดัน ความบ้าพลังลง ปรับเป็นการพูดอย่างละมุนละม่อม เราพบอีกว่ายังมีปัจจัยซ่อนเร้นอื่นอีกคือ ความเท่าเทียม การลดความเหลื่อมล้ำทั้งทางเพศและเชิงอำนาจจะช่วยให้คนตระหนักรู้ถึงการมีส่วนร่วมมากขึ้น

ผศ.ดร. ต่อภัสสร์ ยมนาค

“วันนี้แม้ยังบอกไม่ได้ว่างานวิจัยนี้สามารถเปลี่ยนโลกได้ แต่เป็นการเปิดมุมมองใหม่ อาจจะแปลกจากงานวิจัยที่ผ่านมา จากแต่เดิมมองที่ปัญหาว่าเป็นเพราะอะไร และผลทำให้ประเทศชาติเป็นอย่างไร แต่เราไม่เคยมองคนที่เกี่ยวข้องว่าอย่างไร งานนี้จึงเป็นการเปิดมิติ ‘ที่จับต้องได้’ คือการคุยคอร์รัปชันไม่จำเป็นต้องคุยแบบเครียดๆ”

หัวหน้าทีมวิจัยยังตั้งข้อสังเกตถึงผลตอบรับการเสวนาออนไลน์ผ่านแอพพลิเคชั่น Clubhouse และเฟซบุ๊กที่ผ่านมาว่า แม้ไม่ได้พูดเจาะไปในรายบุคคลว่าใครโกง ใครคอร์รัปชั่น แต่พูดในเชิงระบบ ปรากฏว่ามีคนเข้าฟังเป็นพันคนโดยไม่ได้ประชาสัมพันธ์ล่วงหน้า เป็นการคุยกันอย่างมีเหตุมีผล การแก้ปัญหาในเชิงบวก เป็นการต่อต้านคอร์รัปชั่นแบบจับต้องได้ เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าน่าจะเป็นการเปิดมิติของการพูดเรื่องการต่อต้านคอร์รัปชั่นแบบใหม่ๆ ได้

ที่สำคัญคือ คนที่ทำงานในองค์กรต่อต้านต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในเบื้องต้นต่างเห็นประโยชน์ในการนำไปประยุกต์ใช้กับองค์กรของตนเองได้เลย เมื่อองค์กรขนาดเล็กนำสิ่งที่ได้รับฟังกลับมาใช้กับองค์กรตัวเองมากๆ เข้าย่อมส่งผลกระเพื่อมทางสังคมขนาดใหญ่

“ผมคิดว่าการแก้ไขคอร์รัปชั่นเป็นไปได้ ปัจจัยที่ผ่านมาที่เรายังไปไม่ถึงจุดที่สำเร็จเพราะเราขาดคนที่จะร่วมกันจำนวนมาก ‘อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ’ ก่อนหน้านี้เรารู้ว่าต้องมีปัจจัยนี้แต่ไม่รู้ว่าจะกระตุ้นอย่างไร ตอนนี้เรารู้วิธีดึงคนที่จะเข้ามาร่วมอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ฉะนั้นมีความหวังแน่ๆ ในการแก้ปัญหานี้

เราเจอกุญแจดอกสำคัญแล้ว ที่จะนำพาเราไปยังโอกาสแห่งความสำเร็จ และประเทศไทยจะโปร่งใส มีคอร์รัปชั่นลดลงได้จริง” ผศ.ดร.ต่อภัสสร์บอก

ทางด้าน ผศ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล ประธานหลักสูตร ปริญญาโทด้านแบรนด์และการตลาด (ภาษาอังกฤษ) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนึ่งในทีมวิจัย อธิบายเพิ่มเติมถึงสิ่งที่ได้จากงานวิจัยว่า สิ่งที่น่าสนใจอย่างมากคือ ผลตอบรับจากผลของการวิจัย ซึ่งปกติงานวิจัยจะอยู่บนหิ้ง เราพยายามจะผลักดันผลของงานวิจัยออกไป เหมือนงานนี้จะโดนใจ pain point ของคนที่ทำงานด้านต่อต้านคอร์รัปชั่น จึงกลายเป็นประเด็นขึ้นมา

ผศ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล

ความโดดเด่นของงานวิจัยนี้มีด้วยกัน 4 ประการ

1.เป็นครั้งแรกที่เราสามารถแบ่งกลุ่มเป้าหมายตามพฤติกรรมการต่อต้านคอร์รัปชันได้อย่างชัดเจน จากเดิมจะเป็นการศึกษาทำวิจัยในแง่คอร์รัปชั่นคืออะไร ฯลฯ ตอบคำถามว่า what who why how แต่ยังไม่มีใครถามถึง whom หรือคนที่ถูกคอร์รัปชั่นว่าจะทำอย่างไรให้กลุ่มคนเหล่านี้ต่อต้านคอร์รัปชัน ซึ่งงานวิจัยนี้ตอบคำถามนี้

2.เป็นครั้งแรกที่สามารถเห็นมิติของการต่อต้านคอร์ปชัน ซึ่งมี 4 มิติ 1) มิติตระหนักรู้ 2) มิติป้องปราม 3) มิติยืนหยัด 4) มิติปราบปราม เป็นการตอบข้อสงสัยที่ว่า ทำไมคนส่วนใหญ่บอกว่าไม่ชอบคอร์รัปชั่น แต่ยังมีคอร์รัปชั่นกันมาก เช่นเดียวกับการกระตุ้นให้ความรู้เรื่องคอร์รัปชั่น แต่ไม่กระตุ้นให้เห็นถึงการปราบปราม

3.เป็นครั้งแรกที่สามารถบอกได้ด้วยว่า ทำอย่างไรจะกระตุ้นให้เกิดต่อต้านคอร์รัปชันอย่างได้ผล ซึ่งเราพบ 2 ประเด็นใหญ่คือ ความบึกบึนเข้มแข็ง ดุดัน (Masculinity) แพ้ความอ่อนโยน สุนทรียภาพ (Femininity) และการปลูกฝังให้รู้ว่าอะไรคือคอร์รัปชั่นตั้งแต่เยาวชน คือ “สร้างบรรทัดฐานส่วนตนและการให้ความรู้” ส่งผลต่อการต่อต้านคอร์รัปชั่นอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้คนอยากออกมาต่อต้านคอร์รัปชั่นมากขึ้น

4.เป็นครั้งแรกที่สามารถประยุกต์อออกแบบการสื่อสารการตลาดเพื่อกระตุ้นให้คนต่อต้านคอร์รัปชั่นมากขึ้นได้จริง

ผศ.ดร.เอกก์อธิบายถึงหัวใจของ “การตลาด” ที่ส่งผลสำคัญกับงานวิจัยชิ้นนี้ว่า การตลาดไม่ใช่แค่การใช้สื่อเก่ง การโฆษณาเก่ง เหล่านี้เป็นเรื่องรอง แต่การตลาดมีหลักการเดียวคือ “เข้าใจลูกค้าเก่ง” ซึ่งก็คือการเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้เกิดความเข้าใจ นอกจากการเลือกใช้ภาษาแล้ว การใช้รูปภาพ ใช้คลิป ทำให้เขาเกิดความเข้าใจมากขึ้น

“หัวใจของศาสตร์ด้านการตลาดที่สามารถดึงให้คนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นจำนวนมากคือ ‘การเข้าใจลูกค้า’

ศาสตร์การตลาด อาจจะฟังว่าเป็นการขายของ การลดแลกแจกแถม แต่ในความเป็นจริง ‘การตลาดเป็นศาสตร์ลูกค้า’ คือศาสตร์เข้าใจลูกค้า ทำให้ลูกค้าพึงพอใจ ลูกค้ามาซื้อซ้ำ ฯลฯ” นักวิจัยคนเดิมบอกและย้ำถึงความสำเร็จที่ได้จากงานวิจัยนี้ว่า

เราต้องการหากลยุทธ์กระตุ้นให้เกิดการต่อต้านคอร์รัปชั่น ฉะนั้นคาดหวังจะเห็น “กลยุทธ์” ไม่ได้คาดหวังจะเห็นแค่ข้อมูล การแบ่งกลุ่มเป้าหมายได้ การเข้าใจมิติของพฤติกรรม กดปุ่มไหนแล้วคนจะต่อต้านคอร์รัปชั่นมากที่สุด เหล่านี้เป็นข้อมูลเชิงกลยุทธ์ที่สามารถนำไปออกแบบใช้งานได้จริงในทันที ซึ่งทีมวิจัยภูมิใจอย่างยิ่งว่าในช่วงเดือนที่ผ่านมาหลังเผยแพร่งานวิจัยปรากฏว่าได้รับการตอบรับที่ยอดเยี่ยม มี Like Share Comment บนสื่อต่างๆ เป็นหมื่นครั้ง และมีสื่อที่ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก และทีมวิจัยได้รับการเชื้อเชิญไปพูดคุยกับหน่วยงานสำคัญด้านคอร์รัปชั่นทั้ง ป.ป.ช. และ องค์การต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย)

The post คุยคอร์รัปชั่นไม่จำเป็นต้องคุยแบบเครียดๆ ‘การตลาดต้านโกง’ งานวิจัยจุฬาฯ โดนใจสุดๆ ปลุกกระแส เป็นความหวังที่จับต้องได้ appeared first on มติชนออนไลน์.

ขรรค์ชัย-สุจิตต์ เคาะกระทะอาหารไทย เสิร์ฟ “ความจริง”ปรุงรสชาติ “ร้อยพ่อพันแม่”

$
0
0

“การที่อาหารไทยอร่อย ก็ภูมิใจได้ แต่อย่าไปดูถูกคนอื่น เราทำเก่ง ปรุงเก่ง แต่ต้องยอมรับความจริงว่าได้เทคโนโลยีจากจีน และผสมผสานวัฒนธรรมอาหารอื่นๆ จากทั่วโลก เราสามารถเอามาปรุงให้เกิดสิ่งใหม่ที่อร่อยได้ เราต้องให้เกียรติคนอื่นด้วย เราต้องพูดความจริง แค่นั้นเองŽ”

เป็นบทสรุปท้ายคลิปที่ต้องนำเปิดในย่อหน้าแรกของเมนูเด็ดจากรายการ ขรรค์ชัย-สุจิตต์ ทอดน่องท่องเที่ยวŽ ตอน อาหารไทย ร้อยพ่อพันแม่ แต่อร่อยจากกระทะเหล็ก เจ๊กปนลาว, แขก, ฝรั่งŽ เผยแพร่ให้รับชมกันไปเมื่อช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ก่อนกลายเป็นจานฮิตด้วยยอดผู้ชมเฉียด 2 ล้าน เฉพาะในเพจเฟซบุ๊ก มติชนออนไลน์Ž ยังไม่นับแพลตฟอร์มอื่นๆ

สะท้อนความสนใจของนักชิมและนักชมซึ่งถูกใจรสชาติแห่งความสดใหม่ของวัตถุดิบด้านข้อมูลที่ไม่จำเจ ปรุงรสพร้อมเสิร์ฟผ่านมุมมองของ ขรรค์ชัย บุนปาน ประธานกรรมการบริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) และ สุจิตต์ วงษ์เทศ คอลัมนิสต์ในเครือมติชนผู้ขึ้นชื่อเรื่องความแซ่บของฝีปากเป็นทุนเดิม

จากซ้าย เอกภัทร์ เชิดธรรมธร, ขรรค์ชัย บุนปาน และสุจิตต์ วงษ์เทศ

อาหารไทยคำใหม่ที่มาพร้อม ชาตินิยม

เปิดประเด็นด้วยนิยามของคำว่า อาหารไทยŽ ซึ่งขรรค์ชัย-สุจิตต์ย้ำชัดว่า เป็นคำใหม่ที่เพิ่งเกิด

”คำว่าอาหารไทย เป็นคำที่เพิ่งมี เข้าใจว่าหลังรัชกาลที่ 5 เพราะตำราอาหารไทยเล่มแรกคือแม่ครัวหัวปาก์ ไม่มีคำว่าอาหารไทย ใช้คำว่า ของกินอย่างไทย ซึ่งไม่ได้หมายความว่า ไทยแท้ แต่ต่างจากของกินอย่างเทศ คือ ของฝรั่งŽ (อดีต) สองกุมารสยาม ยังบอกด้วยว่า อาหารไทย มาพร้อมกับชาตินิยม คำนี้คงมีชัดๆ หลังเปลี่ยนชื่อประเทศจาก สยามŽ เป็น ไทยŽ สมัยอยุธยา กรุงธนบุรี ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ก็ไม่ได้มีคำว่าอาหารไทย ไม่มีในพระราชพงศาวดาร ไม่มีในวรรณคดี คำนี้ไปสู่การตลาด เมื่อ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ สนับสนุนการท่องเที่ยว ปี 2503 เราจะอวดคนต่างชาติ โดยเฉพาะฝรั่ง แต่คนคงไม่ได้ใช้กันทั่วไปŽ”

นอกจากนี้ ยังชวนให้ชมภาพถ่ายเก่าหลังพิธีกรรมทางศาสนา ซึ่งคนในชุมชนมารวมตัวกันที่ศาลาวัด มากมายด้วยอาหารดีๆŽ ในถ้วยชามตรงหน้า ก่อนเชื่อมโยงให้เห็นภาพชัดว่า

”อาหารดีๆ ถูกทำขึ้นมาในพิธีกรรม ไม่ใช่อยู่ๆ จะมาทำกินแบบวิลิศมาหรา ต้องเป็นโอกาสเกี่ยวกับพิธีกรรม เช่น เลี้ยงผี เลี้ยงพระ ตามศาลาวัดในอดีต สมัยก่อนคนกินรวมกันเมื่อถวายพระเสร็จแล้ว ในขณะที่พระฉันเลี้ยงผีไปด้วย หลังจากนั้นค่อยถึงคน โอกาสนี้เท่านั้นที่จะได้กินของดีๆŽ”

รสชาติใหม่จากกระทะเหล็ก เทคโนโลยีจีนสู่ความเป็นไทย

จากนั้น ถึงเวลาเปิดหลักฐานทางโบราณคดีที่เกี่ยวข้องกับอาหาร และการปรุง นั่นคือ กระทะŽ ซึ่งเราอาจหลงลืมไปแล้ว หรือกระทั่งไม่เคยนึกมาก่อนว่าเป็นประดิษฐกรรมจาก จีนŽ ไม่ใช่เครื่องครัวดั้งเดิมในภูมิภาค

“แก่นวิธีปรุงอาหารไทย มีอาหารจีนมีส่วนผสมอย่างน้อยครึ่งหนึ่งหรือเกินครึ่ง กระทะเหล็กมีบทบาทสูง เป็นหัวใจของการทำอาหาร หลายสิบปีก่อน เรือจมที่อ่าวพัทยา เกิดเป็นข่าวขึ้นมาเพราะชาวบ้านไปงมเอาเครื่องสังคโลกขึ้นมาขาย ฝรั่งซื้อฉิบหาย งมแบบชาวบ้านจนตาย เป็นข่าว กรมศิลปากรไปดู เลยเป็นเรื่อง พบว่าเป็นเรือสินค้าร่วมสมัยอยุธยา บรรทุกสินค้าต่างๆ ทำให้เกิดโครงการโบราณคดีใต้น้ำ

ต่อมา ยังพบเรืออีกลำที่เกาะคราม คุณเอิบเปรม วัชรางกูร นักโบราณคดีใต้น้ำไปงม ปรากฏว่าพบกองกระทะเหล็ก อายุของเรือลำนี้ประมาณ พ.ศ.2000 ดูจากไม้กระดูกงู สอดคล้องกับอายุสมัยของสินค้าในเรือ ส่วนหนึ่งก็คือกระทะเหล็ก เรือที่พบกระทะเหล็ก สอดคล้องกับกองทัพสมุทรยาตราของเจิ้งเหอ ซึ่งคนไทยปัจจุบันเรียกว่า ซำปอกงเจิ้งหอมี มีเรือบรรทุกม้า เสบียง กำลังพล คราวหนึ่งมาทอดสมอที่อ่าวไทยเพื่อกดดันอยุธยา กองเรือมีส่วนสำคัญที่สนับสนุนให้สุพรรณไปยึดอยุธยา ทั้งหมดคือเหตุผลที่ว่าทั้งกระทะเหล็กก็ดี ทั้งอาหารจีนก็ดี มันเข้ามาในอยุธยาอย่างเป็นเรื่องเป็นราว ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ ที่พบพระแสงขรรค์ชัยศรี พบภาพจิตรกรรมรูปพ่อครัวชาวจีน ทำให้เห็นว่าอาหารจีนมีบทบาทอย่างน้อยที่สุดในราชสำนักอยุธยาŽ”

ขรรค์ชัย-สุจิตต์ เล่าประวัติศาสตร์โดยภาพรวม ก่อนเหยาะเครื่องปรุงลงลึกในรายละเอียดเพิ่มเติม

“หมูเห็ดเป็ดไก่มีมาก่อนแล้ว แต่วิธีปรุง และผักต่างๆ เช่น คะน้า ผักกาด เป็นของจากเมืองจีน ประมาณ พ.ศ.2000 คือ 500 กว่าปีมาแล้ว ทำให้อาหารที่คนอยุธยากินมาแต่เดิม ประเภทปลาร้าปลาแดก มันถูกพัฒนาขึ้นŽ”

กระทะเหล็กในเรือจม อายุราว พ.ศ.2000

ล้มวัว ล้มควายเลี้ยงผี ส่งแถน อาหารดีๆ มีเฉพาะพิธีกรรม

จากกระทะ ย้อนมาที่ ข้าวŽ อาหารหลักของคนไทย ซึ่งนักโบราณคดีพบหลักฐาน เมล็ดข้าวŽ เก่าสุดในไทยที่ถ้ำปุงฮุง แม่ฮ่องสอน อายุราว 7 พันปีมาแล้ว เป็นข้าวเมล็ดป้อมคือ ข้าวเหนียวนั่นเอง

“ตระกูลเดียวกันกับข้าวญี่ปุ่น ข้าวเหนียวคือตระกูลข้าวพื้นฐานของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คนแถบนี้กินข้าวเหนียวมาก่อน ถึงจะมีข้าวจ้าว หรือข้าวเมล็ดเรียว แต่ไม่นิยม ทั้งผืนแผ่นดินใหญ่ และหมู่เกาะ ในพงศาวดารล้านช้าง พญาแถนสอนมนุษย์ว่า ในเมือง ลุ่มนี้ (เมืองที่มีการทำนาดำ ไม่ใช่นาดอน) กินข้าวให้บอกให้หมาย
คือ มึงต้องบอกกูด้วยนะ เวลากินข้าว กินแลงกินงายให้บอกแก่แถน คือ จะกินข้าวเช้า ข้าวเย็น ต้องบอกแถน ได้กินชิ้นให้ส่งขา ได้กินปลาให้ส่งรอยแก่แถน คือ ได้กินเนื้อ ให้แบ่งแถนด้วย กินปลา ส่งก้างให้ด้วย ทั้งหมดคือพิธีกรรมเกี่ยวกับอำนาจเหนือธรรมชาติ ในวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่เดิมเราไม่ค่อยได้กินสัตว์ใหญ่ๆ แต่จะทำเฉพาะในโอกาสสำคัญ เช่น เลี้ยงผี”Ž สุจิตต์อธิบาย

ส่วนคำกล่าวติดปากว่า กินข้าวกินปลาŽ ก็สะท้อนถึงอาหารพื้นฐานในอดีต

“กินข้าว กินปลา คือคำที่ติดปากคนตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ทักทายกันก็ต้องถามว่า กินข้าวกินปลามาหรือยัง ข้าวคือตัวหลัก สิ่งที่กินคู่กับข้าว คือกับข้าว หลักฐานเก่าสุดนักโบราณคดีขุดพบแถวโคราช อำเภอโนนสูง คือปลาช่อนทั้งตัว อยู่ในภาชนะดินเผา ไม่ใช่แป๊ะซะ แต่เป็นปลาช่อนเมื่อ 3,000 ปีมาแล้ว เพื่อเลี้ยงผี เรื่องปลาคือเรื่องหลัก ส่วนการล้มวัว ล้มควายเป็นอาหารพิเศษในพิธีกรรม การบนบานศาลกล่าว”Ž ขรรค์ชัย-สุจิตต์เล่า ก่อนไปถึงประเด็นเรื่องวัฒนธรรมการถนอมอาหารในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่หมู่เกาะถึงผืนแผ่นดินใหญ่ ที่รวบตึงได้ด้วยวลีง่ายๆ ใน 3 พยางค์ว่า เน่าแล้วอร่อยŽ ไม่ว่าจะบูดู ปลาร้า หรืออื่นๆ อีกมากมาย ไม่เพียงเท่านั้น ยังเล่าถึงนิทานที่เกี่ยวข้องกับการ กินศพŽ อีกด้วย

”พิธีทำศพ เมื่อนับพันปีมาแล้ว อยู่ในบ้าน วันเดียวก็เน่าแล้ว คนก็ได้กลิ่น ยังไม่มีฟอร์มาลีน คนก็ทำขวัญ ซึ่งในอีสานยังเหลือร่องรอยใน งันเฮือนดี ซึ่งต่อมาเมื่อรับพุทธศาสนาก็พัฒนาเป็นงานสวดศพ คนร้องเพลงกันไป เพราะคิดว่าขวัญหาย จึงต้องเรียกขวัญกลับมา นิทานลัวะ ขมุ ทั้งหลาย กล่าวถึงการกินศพ เพราะเชื่อว่าทำให้มีพลังŽ”

ปลาช่อน 3,000 ปี พบในแหล่งโบราณคดีที่อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา


เปรี้ยว เค็ม เผ็ด หวาน กับหลากพืชพรรณที่โคลัมบัสจัดให้

เมื่อมีข้าวและกับข้าว ก็ต้องมีเรื่องราวของรสชาติ ไม่ว่าจะเป็นรสเผ็ด ซึ่งเดิมได้จาก พริกไทยและดีปลี ก่อนรับพริกชนิดอื่นๆ ที่เราคุ้นเคยในวันนี้เข้ามาในภายหลัง

“รสเผ็ด ได้จากพริกไทย ดีปลีทั้งหลายพริกดั้งเดิมที่มีคือพริกไทย เดิมเรียกว่าพริก พยางค์เดียว เป็นพริกพื้นเมืองของอินเดียกับหมู่เกาะตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่เรามาเรียกพริกไทยเมื่อมีพริกเทศ เมื่อโคลัมบัสเอาพริกจากอเมริกาใต้มาเผยแพร่Ž

ส่วนรสเค็มมาจากเกลือ 2 ชนิด คือ เกลือสมุทร จากน้ำทะเล และเกลือสินเธาว์ จากน้ำใต้ดิน แหล่งใหญ่ที่สุดของเกลือสินเธาว์คือทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งคนชอบบอกว่าแล้ง ยากจน แต่ 3 พันปีก่อน เศรษฐีทั้งนั้น เพราะเกลือมีค่ามาก หลักฐานทางโบราณคดี พบว่ามีคนอยู่หนาแน่นมากที่สุด เป็นแหล่งเกลือกับเหล็กซึ่งอยู่คู่กัน สำหรับรสหวาน แรกเริ่มเดิมที เราได้รสหวานจากน้ำตาลและน้ำผึ้ง น้ำตาลได้จากต้นตาล น้ำผึ้งได้จากรังผึ้ง น้ำตาลเก่าสุด เพราะมีร่องรอยทางภาษาคือ อะไรหวานๆ เรียกน้ำตาลหมด แม้ไม่ได้มาจากตาล เช่น น้ำตาลทรายที่มาจากอ้อย รุ่นผมกับขรรค์ชัยมากินน้ำตาลทรายทีหลัง ดั้งเดิมฟาดน้ำตาลปี๊บ จากต้นตาล จั่นมะพร้าวŽ”

ตราประทับดินเผา รูปคนปีนต้นตาล พบที่เมืองโบราณจันเสน จังหวัดนครสวรรค์


กล่าวจบ โชว์ภาพสเกตช์ของฝรั่ง เป็นรูปคนปีนต้นตาลที่เวียดนาม ส่วนในไทยพบตราประทับดินเผาสมัยทวารวดี ที่เมืองจันเสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ เป็นภาพคนปีนต้นตาลเช่นกัน แสดงว่าผลิตภัณฑ์จากตาลต้องเป็นสินค้าสำคัญ

“สมัยขรรค์ชัยกับผมเรียนโบราณคดี อาจารย์นิจ หิญชีระนันทน์ (ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ การออกแบบผังเมือง) สำรวจภาพถ่ายทางอากาศพบเมืองจันเสน ท่านเป็นสถาปนิก อยู่สำนักผังเมือง กระทรวงมหาดไทยในสมัยนั้น เลยมาชวน อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม กับขรรค์ชัย สุจิตต์ ไปช่วยกันดู เพราะเห็นแล้วเชื่อว่าเป็นเมืองโบราณ ท่านขับรถมารับเราที่คณะโบราณคดี ขับรถไปจอดที่สถานีรถไฟลพบุรี นั่งรถไฟต่อ เพราะถนนเข้าไม่ถึง นี่แหละตอนเป็นนักศึกษา (หัวเราะ)Ž”

หัวเราะอร่อย ไม่แพ้รสชาติของรายการในเทปนี้ โดยไม่ลืมปิดท้ายด้วยประเด็นเรื่องรสเปรี้ยว

“คำว่าเปรี้ยวเป็นคำที่มาทีหลัง คำดั้งเดิมคือ ส้ม แปลว่าเปรี้ยว เช่น ส้มตำ ตำส้ม สมัยผมอยู่บ้านนอก เอาอะไรมาตำก็ได้ ทำให้เปรี้ยวก็แล้วกัน แต่จะหาจากไหน มะนาวแพง สมัยก่อนบ้านนอกไม่มี ก็ใช้มะขามเปียก กับ เยี่ยวมดแดง คนไปปีนต้นมะม่วงเอามดแดงมาทั้งรังใส่ในครกŽ”

นอกจากนี้ ยังมีอีกหนึ่ง เรื่องใหญ่Ž นั่นคือ การค้นพบทวีปอเมริกาโดยโคลัมบัส ซึ่งส่งผลให้พืชพรรณชนิดใหม่ๆ มาถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไทยแลนด์

”กรณีโคลัมบัส เป็นเรื่องใหญ่ เพราะเป็นประวัติศาสตร์โลก โลกเก่า คือยุโรป โลกใหม่ คือโคลัมบัสค้นพบทวีปอเมริกาในยุคร่วมสมัยอยุธยาตอนต้น ประมาณ พ.ศ.2000 ในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

สิ่งที่โคลัมบัสได้จากโลกใหม่ คือ ทวีปอเมริกา แล้วนำไปเผยแพร่ในโลกเก่าจนมาถึงเมืองไทย ได้แก่ ข้าวโพด มันฝรั่ง ถั่วลิสง ถั่วต่างๆ ยาสูบ มะเขือเทศ ฟักทอง สับปะรด มันสำปะหลัง ฝรั่ง โกโก้ ช็อกโกแลต อะโวคาโด พริกต่างๆ และมะละกอ อีกทั้งมะเขือเทศ รวมกันเป็นส้มตำ (หัวเราะ)

เพราะฉะนั้น อย่าเข้าใจผิดว่านี่คือพืชพื้นเมือง ทั้งหมดนี้โคลัมบัสเอามาตั้งแต่ยุคร่วมสมัยอยุธยา แต่ยังมาไม่ถึงเมืองไทย ไปฟิลิปปินส์ก่อน ย้อนกลับมาอินโดนีเซีย มาเลเซีย ปลูกที่เมืองมะละกา ซึ่งในยุคสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ออกเสียงท้ายเป็นสระออ เมื่อมาถึงกรุงเทพฯ จึงเรียกมะละกอ ปลูกย่านบางช้างสวนนอก บางกอกสวนใน ก่อน คือย่านอัมพวา เจ๊กชาวสวนปลูก แล้วนำมาขายที่กรุงเทพฯ ส้มตำเกิดในกรุงเทพฯก่อน แล้วค่อยไปอีสาน คุณไปดูได้เลย วรรณคดีทุกเล่มสมัยอยุธยา ไม่มีพูดถึงมะละกอ เพิ่งมีในพระอภัยมณี แต่งสมัยรัชกาลที่ 3 และขุนช้างขุนแผน แต่งในสมัยรัชกาลที่ 4Ž”

คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ผู้ทำให้คนไทยได้กินมะละกอ


ความอร่อยจากครัวไทย ภูมิใจได้ แต่ไม่ใช่หลงตัวเอง

อีกประเด็นสำคัญที่ไม่กล่าวถึงไม่ได้ นั่นคือการผสมผสานวัฒนธรรมด้านอาหาร ซึ่งไม่เพียงจีนเท่านั้นที่มีบทบาทสูงมากในอาหารไทย ทว่า อาหาร แขกŽ นั้นไซร้ ก็สำคัญยิ่ง

“อาหารแขกมี 2 กลุ่มกว้างๆ คือ แขกอินเดียหรือแขกพราหมณ์ กับแขกมุสลิม อินเดียกับอิหร่านหรือเปอร์เชียเป็นกลุ่มเดียวกัน นักวิชาการบางคนเรียกวัฒนธรรมนี้ว่า อินโดเปอร์เชีย อาหารที่เราเรียกว่าอาหารอินเดีย ส่วนหนึ่งก็เป็นเปอร์เชีย แพร่เข้ามาในไทยอย่างน้อย 1,500 ปีมาแล้ว แม้ไม่พบหลักฐานเกี่ยวกับอาหาร แต่พบชุดหินบดยาสมุนไพร สมัยทวารวดี อายุราวหลัง พ.ศ.1100 คือแทนหินบดและลูกกลิ้งสมุนไพร แต่ในวิถีชีวิตปัจจุบันของอินเดียจนถึงอินโดนีเซีย ใช้งานเหมือนครก สำหรับทำอาหารด้วย อาหารตระกูลแขก สิ่งสำคัญคือ น้ำข้น อาทิ แกงเขียวหวาน มัสมั่น แกงเผ็ดต่างๆ แกงแดง ที่เข้าเครื่องเทศ เข้ากะทิ แขกหมด ทำไมเรียกว่าแกง เพราะต้องฆ่าสัตว์ แกง แปลว่าฆ่า เช่น ฆ่าแกง ต้องดับกลิ่นเนื้อสัตว์ด้วยเครื่องเทศ ส่วนขนม เดิมไทยไม่มีในวัฒนธรรมการกินของคนพื้นเมือง จะมีก็แต่ของกินเล่น เช่น แป้งจี่Ž

เอะอะอะไร เราก็รักความเป็นไทยจนหลงคิดว่าอยู่คนเดียวในโลก เป็นมนุษย์ต่างดาว ถ้าไม่เหมือนใคร ไม่มีส้มตำกิน เพราะโคลัมบัสไม่เอามะละกอมาให้ (หัวเราะ) ข้อเสียของประวัติศาสตร์ไทยคือไม่อยู่ในประวัติศาสตร์โลก ยกตัวเองออกมาโดดๆ เอะอะบอกเป็นของไทย แล้วคนอื่นมาเลียนแบบ มาเหมือนตัวเองหมด หลงตัวเอง”Ž สุจิตต์ปิดท้ายแบบ แซ่บลืมŽ อันเป็นรสชาติเอกลักษณ์ของตัวเอง

เป็นจานเด็ดเล่นใหญ่ที่พ่อครัวอย่างสุจิตต์-ขรรค์ชัยเคาะตะหลิวเรียกยอดไลค์ เสิร์ฟความรู้และมุมมองชวนขบคิดให้สังคมไทยรับชิมอย่างครบรส

The post ขรรค์ชัย-สุจิตต์ เคาะกระทะอาหารไทย เสิร์ฟ “ความจริง” ปรุงรสชาติ “ร้อยพ่อพันแม่” appeared first on มติชนออนไลน์.


ขรรค์ชัย-สุจิตต์ เคาะกระทะอาหารไทย เสิร์ฟ ‘ความจริง’ ปรุงรสชาติ ‘ร้อยพ่อพันแม่’

$
0
0

“การที่อาหารไทยอร่อย ก็ภูมิใจได้ แต่อย่าไปดูถูกคนอื่น เราทำเก่ง ปรุงเก่ง แต่ต้องยอมรับความจริงว่าได้เทคโนโลยีจากจีน และผสมผสานวัฒนธรรมอาหารอื่นๆ จากทั่วโลก เราสามารถเอามาปรุงให้เกิดสิ่งใหม่ที่อร่อยได้ เราต้องให้เกียรติคนอื่นด้วย เราต้องพูดความจริง แค่นั้นเอง”

เป็นบทสรุปท้ายคลิปที่ต้องนำเปิดในย่อหน้าแรกของเมนูเด็ดจากรายการ “ขรรค์ชัย-สุจิตต์ ทอดน่องท่องเที่ยว” ตอน “อาหารไทย ร้อยพ่อพันแม่ แต่อร่อยจากกระทะเหล็ก เจ๊กปนลาว, แขก, ฝรั่ง” เผยแพร่ให้รับชมกันไปเมื่อช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ก่อนกลายเป็นจานฮิตด้วยยอดผู้ชมเฉียด 2 ล้าน เฉพาะในเพจเฟซบุ๊ก “มติชนออนไลน์” ยังไม่นับแพลตฟอร์มอื่นๆ

สะท้อนความสนใจของนักชิมและนักชมซึ่งถูกใจรสชาติแห่งความสดใหม่ของวัตถุดิบด้านข้อมูลที่ไม่จำเจ ปรุงรสพร้อมเสิร์ฟผ่านมุมมองของ ขรรค์ชัย บุนปาน ประธานกรรมการบริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) และ สุจิตต์ วงษ์เทศ คอลัมนิสต์ในเครือมติชนผู้ขึ้นชื่อเรื่องความแซ่บของฝีปากเป็นทุนเดิม

‘อาหารไทย’คำใหม่ที่มาพร้อม ‘ชาตินิยม’

เปิดประเด็นด้วยนิยามของคำว่า “อาหารไทย” ซึ่งขรรค์ชัย-สุจิตต์ย้ำชัดว่า เป็นคำใหม่ที่เพิ่งเกิด

“คำว่าอาหารไทย เป็นคำที่เพิ่งมี เข้าใจว่าหลังรัชกาลที่ 5 เพราะตำราอาหารไทยเล่มแรกคือแม่ครัวหัวปาก์ ไม่มีคำว่าอาหารไทย ใช้คำว่า ของกินอย่างไทย ซึ่งไม่ได้หมายความว่า ไทยแท้ แต่ต่างจากของกินอย่างเทศ คือ ของฝรั่ง”

(อดีต) สองกุมารสยาม ยังบอกด้วยว่า อาหารไทย มาพร้อมกับชาตินิยม คำนี้คงมีชัดๆ หลังเปลี่ยนชื่อประเทศจาก “สยาม” เป็น “ไทย”

“สมัยอยุธยา กรุงธนบุรี ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ก็ไม่ได้มีคำว่าอาหารไทย ไม่มีในพระราชพงศาวดาร ไม่มีในวรรณคดี
คำนี้ไปสู่การตลาด เมื่อ จอมพลสฤษดิ์
ธนะรัชต์ สนับสนุนการท่องเที่ยว ปี 2503 เราจะอวดคนต่างชาติ โดยเฉพาะฝรั่ง แต่คนคงไม่ได้ใช้กันทั่วไป”

นอกจากนี้ ยังชวนให้ชมภาพถ่ายเก่าหลังพิธีกรรมทางศาสนา ซึ่งคนในชุมชนมารวมตัวกันที่ศาลาวัด มากมายด้วย “อาหารดีๆ” ในถ้วยชามตรงหน้า ก่อนเชื่อมโยงให้เห็นภาพชัดว่า

“อาหารดีๆ ถูกทำขึ้นมาในพิธีกรรม ไม่ใช่อยู่ๆ จะมาทำกินแบบวิลิศมาหรา ต้องเป็นโอกาสเกี่ยวกับพิธีกรรม เช่น เลี้ยงผี เลี้ยงพระ ตามศาลาวัดในอดีต สมัยก่อนคนกินรวมกันเมื่อถวายพระเสร็จแล้ว ในขณะที่พระฉันเลี้ยงผีไปด้วย หลังจากนั้นค่อยถึงคน โอกาสนี้เท่านั้นที่จะได้กินของดีๆ”

รสชาติใหม่จาก‘กระทะเหล็ก’
เทคโนโลยีจีนสู่ความเป็นไทย

จากนั้น ถึงเวลาเปิดหลักฐานทางโบราณคดีที่เกี่ยวข้องกับอาหาร และการปรุง นั่นคือ “กระทะ” ซึ่งเราอาจหลงลืมไปแล้ว หรือกระทั่งไม่เคยนึกมาก่อนว่าเป็นประดิษฐกรรมจาก “จีน” ไม่ใช่เครื่องครัวดั้งเดิมในภูมิภาค

“แก่นวิธีปรุงอาหารไทย มีอาหารจีนมีส่วนผสมอย่างน้อยครึ่งหนึ่งหรือเกินครึ่ง กระทะเหล็กมีบทบาทสูง เป็นหัวใจของการทำอาหาร หลายสิบปีก่อน เรือจมที่อ่าวพัทยา เกิดเป็นข่าวขึ้นมาเพราะชาวบ้านไปงมเอาเครื่องสังคโลกขึ้นมาขาย ฝรั่งซื้อฉิบหาย งมแบบชาวบ้านจนตาย เป็นข่าว กรมศิลปากรไปดู เลยเป็นเรื่อง พบว่าเป็นเรือสินค้าร่วมสมัยอยุธยา บรรทุกสินค้าต่างๆ ทำให้เกิดโครงการโบราณคดีใต้น้ำ

ต่อมา ยังพบเรืออีกลำที่เกาะคราม คุณเอิบเปรม วัชรางกูร นักโบราณคดีใต้น้ำไปงม ปรากฏว่าพบกองกระทะเหล็ก อายุของเรือลำนี้ประมาณ พ.ศ.2000 ดูจากไม้กระดูกงู สอดคล้องกับอายุสมัยของสินค้าในเรือ ส่วนหนึ่งก็คือกระทะเหล็ก เรือที่พบกระทะเหล็ก สอดคล้องกับกองทัพสมุทรยาตราของเจิ้งเหอ ซึ่งคนไทยปัจจุบันเรียกว่า ซำปอกงเจิ้งหอมี มีเรือบรรทุกม้า เสบียง กำลังพล คราวหนึ่งมาทอดสมอที่อ่าวไทยเพื่อกดดันอยุธยา กองเรือมีส่วนสำคัญที่สนับสนุนให้สุพรรณไปยึดอยุธยา ทั้งหมดคือเหตุผลที่ว่าทั้งกระทะเหล็กก็ดี ทั้งอาหารจีนก็ดี มันเข้ามาในอยุธยาอย่างเป็นเรื่องเป็นราว ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ ที่พบพระแสงขรรค์ชัยศรี พบภาพจิตรกรรมรูปพ่อครัวชาวจีน ทำให้เห็นว่าอาหารจีนมีบทบาทอย่างน้อยที่สุดในราชสำนักอยุธยา”

ขรรค์ชัย-สุจิตต์ เล่าประวัติศาสตร์โดยภาพรวม ก่อนเหยาะเครื่องปรุงลงลึกในรายละเอียดเพิ่มเติม

“หมูเห็ดเป็ดไก่มีมาก่อนแล้ว แต่วิธีปรุง และผักต่างๆ เช่น คะน้า ผักกาด เป็นของจากเมืองจีน ประมาณ พ.ศ.2000 คือ 500 กว่าปีมาแล้ว ทำให้อาหารที่คนอยุธยากินมาแต่เดิม ประเภทปลาร้าปลาแดก มันถูกพัฒนาขึ้น”

ล้มวัว ล้มควาย‘เลี้ยงผี ส่งแถน’
อาหารดีๆ มีเฉพาะ‘พิธีกรรม’

จากกระทะ ย้อนมาที่ “ข้าว” อาหารหลักของคนไทย ซึ่งนักโบราณคดีพบหลักฐาน “เมล็ดข้าว” เก่าสุดในไทยที่ถ้ำปุงฮุง แม่ฮ่องสอน อายุราว 7 พันปีมาแล้ว เป็นข้าวเมล็ดป้อมคือ ข้าวเหนียวนั่นเอง

“ตระกูลเดียวกันกับข้าวญี่ปุ่น ข้าวเหนียวคือตระกูลข้าวพื้นฐานของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คนแถบนี้กินข้าวเหนียวมาก่อน ถึงจะมีข้าวจ้าว หรือข้าวเมล็ดเรียว แต่ไม่นิยม ทั้งผืนแผ่นดินใหญ่ และหมู่เกาะ ในพงศาวดารล้านช้าง พญาแถนสอนมนุษย์ว่า ในเมืองลุ่มนี้ (เมืองที่มีการทำนาดำ ไม่ใช่นาดอน) กินข้าวให้บอกให้หมาย
คือ มึงต้องบอกกูด้วยนะ เวลากินข้าว กินแลงกินงายให้บอกแก่แถน คือ จะกินข้าวเช้า ข้าวเย็น ต้องบอกแถน ได้กินชิ้นให้ส่งขา ได้กินปลาให้ส่งรอยแก่แถน คือ ได้กินเนื้อ ให้แบ่งแถนด้วย กินปลา ส่งก้างให้ด้วย ทั้งหมดคือพิธีกรรมเกี่ยวกับอำนาจเหนือธรรมชาติ ในวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่เดิมเราไม่ค่อยได้กินสัตว์ใหญ่ๆ แต่จะทำเฉพาะในโอกาสสำคัญ เช่น เลี้ยงผี” สุจิตต์อธิบาย

ส่วนคำกล่าวติดปากว่า “กินข้าวกินปลา” ก็สะท้อนถึงอาหารพื้นฐานในอดีต

“กินข้าว กินปลา คือคำที่ติดปากคนตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ทักทายกันก็ต้องถามว่า กินข้าวกินปลามาหรือยัง ข้าวคือตัวหลัก สิ่งที่กินคู่กับข้าว คือกับข้าว หลักฐานเก่าสุดนักโบราณคดีขุดพบแถวโคราช อำเภอโนนสูง คือปลาช่อนทั้งตัว อยู่ในภาชนะดินเผา ไม่ใช่แป๊ะซะ แต่เป็นปลาช่อนเมื่อ 3,000 ปีมาแล้ว เพื่อเลี้ยงผี เรื่องปลาคือเรื่องหลัก ส่วนการล้มวัว ล้มควายเป็นอาหารพิเศษในพิธีกรรม การบนบานศาลกล่าว” ขรรค์ชัย-สุจิตต์เล่า ก่อนไปถึงประเด็นเรื่องวัฒนธรรมการถนอมอาหารในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่หมู่เกาะถึงผืนแผ่นดินใหญ่ ที่รวบตึงได้ด้วยวลีง่ายๆ ใน 3 พยางค์ว่า “เน่าแล้วอร่อย” ไม่ว่าจะบูดู ปลาร้า หรืออื่นๆ อีกมากมาย ไม่เพียงเท่านั้น ยังเล่าถึงนิทานที่เกี่ยวข้องกับการ “กินศพ” อีกด้วย

“พิธีทำศพ เมื่อนับพันปีมาแล้ว อยู่ในบ้าน วันเดียวก็เน่าแล้ว คนก็ได้กลิ่น ยังไม่มีฟอร์มาลีน คนก็ทำขวัญ ซึ่งในอีสานยังเหลือร่องรอยใน ‘งันเฮือนดี’ ซึ่งต่อมาเมื่อรับพุทธศาสนาก็พัฒนาเป็นงานสวดศพ คนร้องเพลงกันไป เพราะคิดว่าขวัญหาย จึงต้องเรียกขวัญกลับมา นิทานลัวะ ขมุ ทั้งหลาย กล่าวถึงการกินศพ เพราะเชื่อว่าทำให้มีพลัง”

เปรี้ยว เค็ม เผ็ด หวาน
กับหลากพืชพรรณที่‘โคลัมบัส’จัดให้

เมื่อมีข้าวและกับข้าว ก็ต้องมีเรื่องราวของรสชาติ ไม่ว่าจะเป็น รสเผ็ด ซึ่งเดิมได้จาก พริกไทยและดีปลี ก่อนรับพริกชนิดอื่นๆ ที่เราคุ้นเคยในวันนี้เข้ามาในภายหลัง

“รสเผ็ด ได้จากพริกไทย ดีปลีทั้งหลายพริกดั้งเดิมที่มีคือพริกไทย เดิมเรียกว่าพริก พยางค์เดียว เป็นพริกพื้นเมืองของอินเดียกับหมู่เกาะตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่เรามาเรียกพริกไทยเมื่อมีพริกเทศ เมื่อโคลัมบัสเอาพริกจากอเมริกาใต้มาเผยแพร่”

ส่วนรสเค็มมาจากเกลือ 2 ชนิด คือ เกลือสมุทร จากน้ำทะเล และเกลือสินเธาว์ จากน้ำใต้ดิน

“แหล่งใหญ่ที่สุดของเกลือสินเธาว์คือทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งคนชอบบอกว่าแล้ง ยากจน แต่ 3 พันปีก่อน เศรษฐีทั้งนั้น เพราะเกลือมีค่ามาก หลักฐานทางโบราณคดี พบว่ามีคนอยู่หนาแน่นมากที่สุด เป็นแหล่งเกลือกับเหล็กซึ่งอยู่คู่กัน สำหรับรสหวาน แรกเริ่มเดิมที เราได้รสหวานจากน้ำตาลและน้ำผึ้ง น้ำตาลได้จากต้นตาล น้ำผึ้งได้จากรังผึ้ง น้ำตาลเก่าสุด เพราะมีร่องรอยทางภาษาคือ อะไรหวานๆ เรียกน้ำตาลหมด แม้ไม่ได้มาจากตาล เช่น น้ำตาลทรายที่มาจากอ้อย รุ่นผมกับขรรค์ชัยมากินน้ำตาลทรายทีหลัง ดั้งเดิมฟาดน้ำตาลปี๊บ จากต้นตาล จั่นมะพร้าว”

กล่าวจบ โชว์ภาพสเกตช์ของฝรั่ง เป็นรูปคนปีนต้นตาลที่เวียดนาม ส่วนในไทยพบตราประทับดินเผาสมัยทวารวดี ที่เมืองจันเสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ เป็นภาพคนปีนต้นตาลเช่นกัน แสดงว่าผลิตภัณฑ์จากตาลต้องเป็นสินค้าสำคัญ

“สมัยขรรค์ชัยกับผมเรียนโบราณคดี อาจารย์นิจ หิญชีระนันทน์ (ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ การออกแบบผังเมือง) สำรวจภาพถ่ายทางอากาศพบเมืองจันเสน ท่านเป็นสถาปนิก อยู่สำนักผังเมือง กระทรวงมหาดไทยในสมัยนั้น เลยมาชวน อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม กับขรรค์ชัย สุจิตต์ ไปช่วยกันดู เพราะเห็นแล้วเชื่อว่าเป็นเมืองโบราณ ท่านขับรถมารับเราที่คณะโบราณคดี ขับรถไปจอดที่สถานีรถไฟลพบุรี นั่งรถไฟต่อ เพราะถนนเข้าไม่ถึง นี่แหละตอนเป็นนักศึกษา (หัวเราะ)”

หัวเราะอร่อย ไม่แพ้รสชาติของรายการในเทปนี้ โดยไม่ลืมปิดท้ายด้วยประเด็นเรื่องรสเปรี้ยว

“คำว่าเปรี้ยวเป็นคำที่มาทีหลัง คำดั้งเดิมคือ ส้ม แปลว่าเปรี้ยว เช่น ส้มตำ ตำส้ม สมัยผมอยู่บ้านนอก เอาอะไรมาตำก็ได้ ทำให้เปรี้ยวก็แล้วกัน แต่จะหาจากไหน มะนาวแพง สมัยก่อนบ้านนอกไม่มี ก็ใช้มะขามเปียก กับ เยี่ยวมดแดง คนไปปีนต้นมะม่วงเอามดแดงมาทั้งรังใส่ในครก”

นอกจากนี้ ยังมีอีกหนึ่ง “เรื่องใหญ่” นั่นคือ การค้นพบทวีปอเมริกาโดยโคลัมบัส ซึ่งส่งผลให้พืชพรรณชนิดใหม่ๆ มาถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไทยแลนด์

“กรณีโคลัมบัส เป็นเรื่องใหญ่ เพราะเป็นประวัติศาสตร์โลก โลกเก่า คือยุโรป โลกใหม่ คือโคลัมบัสค้นพบทวีปอเมริกาในยุคร่วมสมัยอยุธยาตอนต้น ประมาณ พ.ศ.2000 ในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
สิ่งที่โคลัมบัสได้จากโลกใหม่ คือ ทวีปอเมริกา แล้วนำไปเผยแพร่ในโลกเก่าจนมาถึงเมืองไทย ได้แก่ ข้าวโพด มันฝรั่ง ถั่วลิสง ถั่วต่างๆ ยาสูบ มะเขือเทศ ฟักทอง สับปะรด มันสำปะหลัง ฝรั่ง โกโก้ ช็อกโกแลต อะโวคาโด พริกต่างๆ และมะละกอ อีกทั้งมะเขือเทศ รวมกันเป็นส้มตำ (หัวเราะ)

เพราะฉะนั้น อย่าเข้าใจผิดว่านี่คือพืชพื้นเมือง ทั้งหมดนี้โคลัมบัสเอามาตั้งแต่ยุคร่วมสมัยอยุธยา แต่ยังมาไม่ถึงเมืองไทย ไปฟิลิปปินส์ก่อน ย้อนกลับมาอินโดนีเซีย มาเลเซีย ปลูกที่เมืองมะละกา ซึ่งในยุคสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ออกเสียงท้ายเป็นสระออ เมื่อมาถึงกรุงเทพฯ จึงเรียกมะละกอ ปลูกย่านบางช้างสวนนอก บางกอกสวนใน ก่อน คือย่านอัมพวา เจ๊กชาวสวนปลูก แล้วนำมาขายที่กรุงเทพฯ ส้มตำเกิดในกรุงเทพฯก่อน แล้วค่อยไปอีสาน คุณไปดูได้เลย วรรณคดีทุกเล่มสมัยอยุธยา ไม่มีพูดถึงมะละกอ เพิ่งมีในพระอภัยมณี แต่งสมัยรัชกาลที่ 3 และขุนช้างขุนแผน แต่งในสมัยรัชกาลที่ 4”

ความอร่อยจากครัวไทย ภูมิใจได้
แต่ไม่ใช่หลงตัวเอง

อีกประเด็นสำคัญที่ไม่กล่าวถึงไม่ได้ นั่นคือการผสมผสานวัฒนธรรมด้านอาหาร ซึ่งไม่เพียงจีนเท่านั้นที่มีบทบาทสูงมากในอาหารไทย ทว่า อาหาร “แขก” นั้นไซร้ ก็สำคัญยิ่ง

“อาหารแขกมี 2 กลุ่มกว้างๆ คือ แขกอินเดียหรือแขกพราหมณ์ กับแขกมุสลิม อินเดียกับอิหร่านหรือเปอร์เชียเป็นกลุ่มเดียวกัน นักวิชาการบางคนเรียกวัฒนธรรมนี้ว่า อินโดเปอร์เชีย อาหารที่เราเรียกว่าอาหารอินเดีย ส่วนหนึ่งก็เป็นเปอร์เชีย แพร่เข้ามาในไทยอย่างน้อย 1,500 ปีมาแล้ว แม้ไม่พบหลักฐานเกี่ยวกับอาหาร แต่พบชุดหินบดยาสมุนไพร สมัยทวารวดี อายุราวหลัง พ.ศ.1100 คือแทนหินบดและลูกกลิ้งสมุนไพร แต่ในวิถีชีวิตปัจจุบันของอินเดียจนถึงอินโดนีเซีย ใช้งานเหมือนครก สำหรับทำอาหารด้วย อาหารตระกูลแขก สิ่งสำคัญคือ น้ำข้น อาทิ แกงเขียวหวาน มัสมั่น แกงเผ็ดต่างๆ แกงแดง ที่เข้าเครื่องเทศ เข้ากะทิ แขกหมด ทำไมเรียกว่าแกง เพราะต้องฆ่าสัตว์ แกง แปลว่าฆ่า เช่น ฆ่าแกง ต้องดับกลิ่นเนื้อสัตว์ด้วยเครื่องเทศ ส่วนขนม เดิมไทยไม่มีในวัฒนธรรมการกินของคนพื้นเมือง จะมีก็แต่ของกินเล่น เช่น แป้งจี่”

“เอะอะอะไร เราก็รักความเป็นไทยจนหลงคิดว่าอยู่คนเดียวในโลก เป็นมนุษย์ต่างดาว ถ้าไม่เหมือนใคร ไม่มีส้มตำกิน เพราะโคลัมบัสไม่เอามะละกอมาให้ (หัวเราะ) ข้อเสียของประวัติศาสตร์ไทยคือไม่อยู่ในประวัติศาสตร์โลก ยกตัวเองออกมาโดดๆ เอะอะบอกเป็นของไทย แล้วคนอื่นมาเลียนแบบ มาเหมือนตัวเองหมด หลงตัวเอง” สุจิตต์ปิดท้ายแบบ “แซ่บลืม” อันเป็นรสชาติเอกลักษณ์ของตัวเอง

เป็นจานเด็ดเล่นใหญ่ที่พ่อครัวอย่างสุจิตต์-ขรรค์ชัยเคาะตะหลิวเรียกยอดไลค์ เสิร์ฟความรู้และมุมมองชวนขบคิดให้สังคมไทยรับชิมอย่างครบรส

พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร

The post ขรรค์ชัย-สุจิตต์ เคาะกระทะอาหารไทย เสิร์ฟ ‘ความจริง’ ปรุงรสชาติ ‘ร้อยพ่อพันแม่’ appeared first on มติชนออนไลน์.

ทางออกร่วมของศิลปินในวังวนโควิด ‘ดุริยางค์มรณะ’ หนังระทึกขวัญ ทุนต่างชาติช่วยเศรษฐกิจไทย

$
0
0

ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 ส่งผลกระทบให้ศิลปินจำนวนมากต้องปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินงานต่างๆ

ภาพของนักร้อง คนกลางคืน ยื่นหนังสือที่ทำเนียบรัฐบาลกลายเป็นภาพที่ได้เห็นในช่วงเวลาอันยากลำบาก

แม้แต่วาทยกรและคีตกวีดังระดับอินเตอร์อย่าง สมเถา สุจริตกุล ซึ่งมีตำแหน่งผู้อำนวยการมหาอุปรากรกรุงเทพพ่วงท้าย ก็ได้รับผลกระทบงานคอนเสิร์ตมากมายที่ถูกเลื่อนกำหนดการแสดง

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์นี้ก็นำมาซึ่งโอกาสให้กลับไปทำงานในสายงานเดิมที่ห่างเหินไปนานถึง 2 ทศวรรษ นั่นคืองานในวงการภาพยนตร์ซึ่งเจ้าตัวเคยทำงานในวงการภาพยนตร์แบบไม่จริงจังมาก่อน โดยกำกับการแสดงภาพยนตร์ประเภททุนต่ำที่ฮอลลีวู้ด 2 เรื่อง รวมทั้งเรื่องที่เคยได้รับรางวัลอย่าง Ill Met by Moonlight ในฐานะนักเขียนนวนิยายแนวสยองขวัญที่ประสบความสำเร็จ

การพูดคุยกับ พอล สปูริเออร์ อดีตนักแสดงเด็กในวงการภาพยนตร์และละครเวที ทั้งยังเป็นผู้กำกับมือรางวัลจากภาพยนตร์เรื่อง The Forest จึงเกิดขึ้นโดย สมเถาและพอล ตัดสินใจหาทางออกด้วยกันภายใต้วิกฤตการแพร่ของโรคระบาดด้วยโครงการสร้างภาพยนตร์ทุนต่ำ

“เราพอจะสร้างภาพยนตร์ทุนต่ำร่วมกันได้หรือไม่ ซึ่งจะช่วยให้นักดนตรีในวงออเคสตราเยาวชนของผมมีโอกาสได้ทำงานในช่วงนี้”

เป็นข้อความที่สมเถากล่าวกับพอล ก่อนได้รับคำตอบในทันทีว่า

“ผมอยากทำหนังเกี่ยวกับปรมาจารย์ทางดนตรีที่สติเฟื่อง โดยตัวละครนี้พยายามหลอกล่อวงออเคสตราเยาวชนให้เล่นผลงานเพลงชิ้นเอกระดับมาสเตอร์พีซของเขา แต่แล้วทุกอย่างก็เริ่มดำเนินไปผิดแผน… ผมมีข้อแม้อย่างเดียวคือคุณต้องรับบทเป็นปรมาจารย์สติเสียคนนั้นเอง…นี่คือเรื่องราวของอัจฉริยภาพกับวิกลจริตและเส้นเบาบางระหว่างกลางของสองสิ่งนี้” พอลกล่าว

และนี่คือจุดกำเนิดของภาพยนตร์เรื่อง The Maestro: A Symphony of Terror หรือในชื่อภาษาไทยว่า ‘ดุริยางค์มรณะ’ ซึ่งสมเถาลงมือเขียนบทภาพยนตร์

ในขณะที่พอลมีทีมงานสร้างสรรค์ภาพยนตร์ที่พร้อมสรรพอยู่ในมือ ขณะที่ตัวเขาเองยังเป็นผู้กำกับภาพที่ประสบความสำเร็จ ทั้งยังมีทีมงานคุณภาพอย่างภรรยาของเขาที่ทำงานด้านเสียง รวมทั้งน้องของภรรยาที่เป็นผู้ช่วยช่างภาพมากประสบการณ์ พอลเป็นที่ยอมรับนับถือในวงการภาพยนตร์จากผลงาน 2 เรื่องของเขาที่แพร่ภาพผ่านทางเน็ตฟลิกซ์ รวมทั้งภาพยนตร์ซีรีส์ทางโทรทัศน์เรื่อง Eullenia ซึ่งได้เปิดตัวในเทศกาลภาพยนตร์แห่งอาเซียน

เรื่องราวของภาพยนตร์ดังกล่าว เกี่ยวกับความหลงผิดของนักดนตรีอัจฉริยะผู้มีปัญหาทางจิตอันท่วมท้นนามว่า ดร.อรุณ แสงสมนึก หลังจากที่เขาถูกปฏิเสธโดยสถาบันดนตรีมีชื่อเสียงในยุโรป ก็ซมซานกลับบ้านเกิดในเมืองไทยและได้เริ่มงานสอนดนตรีภายใต้โครงการดนตรีเยาวชน ดร.อรุณ ถูกหญิงสาวที่คลั่งไคล้อยากเป็นนักร้องโอเปร่าตามตื๊อ ไปไหนก็ถูกหัวเราะเยาะ ซ้ำร้ายความหวังที่จะเปิดตัวผลงานชิ้นเอกยังพังทลายเพราะถูกวาทยกรมีชื่อระดับโลกช่วงชิงไป เขาจึงก้าวเข้าไปสู่ภาวะวิปริตทางจิตเต็มขั้น นอกจากนี้ ยังมีตัวละครวัยรุ่นสองคนคือนักไวโอลินแบหมวกขอทานกับนักเปียโนอัจฉริยะจากครอบครัวที่มีปัญหา ดร.อรุณเริ่มสร้างสวรรค์แห่งการดนตรีที่ความเพ้อฝันให้กลายเป็นจริง…แต่แล้วทุกสิ่งทุกอย่างกลับกลายเป็นความผิดพลาดอย่างมหันต์

เมื่อแผนของโครงการสร้างภาพยนตร์ได้แพร่ออกไป กิตติศัพท์ของพอล ได้ดึงดูดนักแสดงไทยที่โด่งดังในระดับนานาชาติมารวมตัวกัน อาทิ เดวิด อัศวนนท์ นักแสดงมือรางวัลจากภาพยนตร์ฟอร์มใหญ่ เช่น Countdown สหจักร บุญธนกิจ จาก The Beach, Broke Down Palace และ No Escape วิทยา ปานศรีงาม จาก Only God Forgives และ The Last Executioner รวมทั้ง ไมเคิล เชาวนาศัย จาก Metrosexual

นอกจากนี้ ยังมีเยาวชนกว่า 160 คน มาร่วมออดิชั่นเพื่อรับบทตัวละครเด็กพิเศษ 2 คน โดย ชนิศพงษ์ กังวานเลิศอุไร หรือ น้องเจแปน ได้รับคัดเลือกให้แสดงบทนักเปียโนวัยรุ่นปากเสียผู้มีพรสวรรค์ และ
กิตติธัช กาญจนบวร หรือน้องอินคัม รับบทเป็นหนุ่มน้อยนักไวโอลินแบหมวก ทั้งคู่เป็นนักแสดงมือใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวครั้งแรก ร่วมด้วยนักแสดงอีกรายคือ ศิรินญา ปึงสุวรรณ ผู้รับบท ลียา สาวิตรี หญิงสาวผู้มีความมุ่งมั่นแรงกล้า ส่วนนักแสดงหน้าเก่าที่คร่ำหวอดในโลกมายาคือจิม สุนทร มีศรี

“มันเป็นการแสดงที่ต้องใช้ความประณีตเป็นพิเศษ ต้องมีองค์ประกอบที่ลงตัวและสมดุลทั้งในส่วนของความระทึกขวัญ และประเภทของการสร้างสรรค์ซึ่งต้องใคร่ครวญอย่างหนัก รวมทั้งมุขขำขันในรูปแบบตลกร้ายหรือ dark comedy พอลกำลังพาพวกเราลุยท้องน้ำที่เชี่ยวกรากด้วยความระมัดระวัง” สมเถาระบุ

ในการสร้างภาพยนตร์ด้วยทุนต่ำสุด สมเถาต้องติดต่อนักลงทุนจากสหรัฐอเมริกาและคานาดาให้เข้ามามีส่วนร่วม อีกทั้งบริษัทเอกชนในประเทศที่สนับสนุนสถานที่ถ่ายทำและบริการต่างๆ เพื่อช่วยให้ผลงานสำเร็จด้วยดี โดยสถานที่ในการถ่ายทำภาพยนตร์คือ บางนา กับ ปากช่อง ผมภูมิใจมากที่การผจญภัยเล็กๆ ของเรามีส่วนนำเงินเข้าประเทศเพื่อช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจแม้จะน้อยนิดเพียงใดก็ตาม” สมเถากล่าว

นอกจากนี้ หนึ่งในจุดเด่นของภาพยนตร์เรื่องนี้คือดนตรีจากวงออเคสตราเยาวชนที่มีดีกรีรางวัลระดับโลกอย่างสยามซินโฟนิเอตต้าภายใต้การอำนวยเพลงโดย ทฤษฎี ณ พัทลุง ที่จะบรรเลงดนตรีซาวด์แทรคที่ประพันธ์โดย สมเถา ซึ่งถ่ายทอดดนตรีในจินตนาการของ ดร.อรุณ ทั้งยังมีนักดนตรีเยาวชนมือหนึ่งของประเทศไทยร่วมโซโลเปียโนและไวโอลิน

คาดว่าภาพยนตร์เรื่อง The Maestro : Symphony of Terror ดุริยางค์มรณะ จะเปิดแสดงรอบปฐมทัศน์ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติต่อไป

ทีมข่าวเฉพาะกิจ

The post ทางออกร่วมของศิลปินในวังวนโควิด ‘ดุริยางค์มรณะ’ หนังระทึกขวัญ ทุนต่างชาติช่วยเศรษฐกิจไทย appeared first on มติชนออนไลน์.

ขรรค์ชัย-สุจิตต์ ทอดน่องท่องไทม์ไลน์ บนความรัก ความตาย จากผีบรรพชนถึง ‘อีนากพระโขนง’

$
0
0

กุมภาพันธ์ เดือนแห่งรัก ความรู้สึกอันซับซ้อนยิ่งในความเป็นมนุษย์

ทว่า ในเรื่องเล่าบนความเชื่อ ไม่เพียงปุถุชนคนธรรมดาที่ไม่อาจหลีกพ้นวังวนแห่งรัก หากแต่ผีสางผู้ข้ามภพไปสู่โลกหลังความตาย ก็ยังเปี่ยมล้นไปด้วยอารมณ์ความรู้สึกและความผูกพัน

ดังเช่นเรื่องราวของ ‘แม่นาคพระโขนง’ เรื่องผีระดับตำนานอันมีความลึกซึ้ง ซับซ้อน และซ่อนไว้ซึ่งประวัติศาสตร์ความทรงจำ

ขรรค์ชัย บุนปาน ประธานกรรมการบริษัทมติชน จำกัด (มหาชน) และ สุจิตต์ วงษ์เทศ คอลัมนิสต์ในเครือมติชน เปิดประเด็นแรกของปี 2564 ด้วยเรื่องรักที่มากกว่ารัก ในรายการ ‘ขรรค์ชัย-สุจิตต์ ทอดน่องท่องเที่ยว’ ตอน ‘แม่นาคพระโขนง LOVE STORY ผีกับคน ขวัญในโลกต่างมิติ’ พาผู้ชมเดินทางไปยังแหล่งกำเนิด ‘ผีแม่นาค’ ณ วัดมหาบุศย์ ริมคลองพระโขนง ย้อนจินตนาการถึงบรรยากาศป่าช้ายุคเก่า ซึ่งปัจจุบันอยู่บนแนวถนนฝั่งอ่อนนุช แขวงสวนหลวง กรุงเทพมหานคร

ก่อนปักหลักนั่งพูดคุยหน้า ‘ศาลพ่อปู่’ สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่ ‘มติชน’ สะท้อนความเชื่อเรื่องศาสนา ‘ผี’ ที่อยู่กับคนไทยควบคู่พุทธศาสนามาเนิ่นนาน

(จากซ้าย) เอกภัทร์ เชิดธรรมธร พิธีกร, ขรรค์ชัย บุนปาน, สุจิตต์ วงษ์เทศ ในรายการ “ขรรค์ชัย-สุจิตต์ ทอดน่องท่องเที่ยว” ตอนแรกของปี 64 “แม่นาคพระโขนง LOVE STORY ผีกับคน ขวัญในโลกต่างมิติ” เผยแพร่ผ่านเฟซบุ๊กมติชนออนไลน์, ข่าวสด, ศิลปวัฒนธรรม และยูทูบมติชนทีวี

‘อีนากพระโขนง’ ผีผู้หญิงในความทรงจำ จากน้ำโขงถึงเจ้าพระยา

เริ่มต้นที่ความหลากหลายในสำนวนเรื่องแม่นาค ซึ่งมีด้วยกันหลากหลายเวอร์ชั่นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ทว่า บางสำนวนอ้างอิงถึงยุคก่อนหน้า ไกลถึงรัชกาลที่ 3 ก่อนกลายเป็นภาพยนตร์ละครโทรทัศน์และวรรณกรรม

ขรรค์ชัย และ สุจิตต์ ยกข้อมูลในหนังสือ ชีวิตและงานของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ โดย หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล ซึ่งตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์คลังวิทยา เมื่อ พ.ศ.2517 ซึ่งกล่าวถึงเรื่องแม่นาคได้อย่างน่าสนใจว่า

“ท่านหญิงพูนบอกว่าคุยกับกรมดำรงฯ ตอนนั้นกรมดำรงทรงมีพระชนมายุได้ 81 อยู่ในช่วงบั้นปลาย ทรงเล่าว่า สมัยรับราชการใหม่ๆ เป็นนายทหารประจำการพระราชวังหลวง มีเจ้าพี่เจ้าน้องมักมาประทับคุยอยู่ใกล้ๆ ประตูวัง เห็นคนเข้าออกเนืองแน่นอยู่เสมอ ทรงคิดว่า จะลองความรู้คนดูสักที แล้วลองจดชื่อบุคคล 4 คน คือ 1.ท่านขรัวโต คือ สมเด็จพระพุฒาจารย์วัดระฆัง 2.พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก 3.จำไม่ได้ว่าใคร และ 4.อีนากพระโขนง แล้วคอยถามคนที่เข้าออกประตูวังทุกคน ว่าใน 4 คนนี้ รู้จักใครบ้าง ปรากฏว่า อีนากพระโขนง มาเป็นที่ 1 นี่เป็นพยานอีกเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องผีที่คนทุกคนอยากรู้เรื่อง”

อดีตสองกุมารสยามยังชี้ถึงร่องรอยสำคัญที่ทำให้คนสนใจมาก อยู่ที่ความเป็น ‘ผีผู้หญิง’

“ถ้าไม่ใช่ผู้หญิง เจ๊ง ไม่มีคนดูหรอก ความทรงจำยาวนานเรื่องแม่นาค เพราะโครงสร้างของเรื่องถูกจริตชาวอุษาเคนย์ รักครอบครัว รักผัว รักลูก เป็นมรดกตกทอดจากเรื่องแม่นาค ผีบรรพชนหลายพันปีมาแล้ว อยู่ในความทรงจำของคนทั้งในกัมพูชาและไทย จากน้ำโขง ถึงเจ้าพระยา”

จากนั้น ยกหลักฐานคือนิทานในพงศาวดารเขมร เรื่อง ‘พระทอง นางนาค’ ซึ่งเชื่อว่าส่งอิทธิพลถึงราชสำนักอยุธยา

“พระทอง เป็นพวกชวา มลายู ติดต่อค้าขายทางทะเล มาเห็นนางนาคซึ่งเป็นหญิงพื้นเมืองแก้ผ้าอาบน้ำ ก็ไปเกี้ยวพาราสี ได้เสียกัน จากนั้นพระทองเกาะสไบนางนาคไปหาพ่อซึ่งเป็นพญานาคใต้บาดาล พญานาคเนรมิตนครวัดนครธมให้อยู่ด้วยกัน นางนาคคุมราชอาณาจักร พอตายไปก็เป็นผีบรรพชน มีนิทานบอกว่า เวลากลางคืน พระเจ้าแผ่นดินต้องไปสมพาส คือ มีสัมพันธ์กับนางนาค ถ้าไม่ไป บ้านเมืองล่มจม

เรื่องนี้ เข้ามาอยู่ในกฎมณเทียรบาลในราชสำนักอยุธยา คือ พระราชพิธีเบาะพก กำหนดให้พระเจ้าแผ่นดินเสด็จไปบรรทมกับแม่หยัว คือ แม่อยู่หัว ทั้งหมดนี้ยืนยันว่านาค เป็นความทรงจำศักดิ์สิทธิ์สืบเนื่องมา ผู้หญิงในอุษาคเนย์ หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเจ้าของบ้านและที่ดิน การสืบสันตติวงศ์ในอดีตก็สืบสายทางฝ่ายผู้หญิง ความรู้เรื่องนางนาคฟักตัวอยู่ในไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นอย่างน้อย แต่เล่ากันในสำนวนไหน เราไม่ทราบ นาค คือผีบรรพชน ไม่ใช่ผีหัวไร่ปลายนาทั่วไป การรักลูก รักผัว รักครอบครัว คือบุคลิกผีผู้หญิงในอุษาคเนย์ที่อยู่ในความทรงจำเรื่อยมา บุคลิกนี้ถูกนำมาใส่ในแม่นาคพระโขนง เราจึงพบว่ากิจกรรมหลักของแม่นาคคือช่วยผัวทำงาน ไม่ได้ไปหลอกใคร การหลอกคือสิ่งที่ถูกเพิ่มเข้ามาภายหลังเพื่อความสนุกในภาพยนตร์”

‘ตายทั้งกลม’ คือ ศักดิ์สิทธิ์ เปิดพงศาวดารเฮี้ยนของผีผู้พิทักษ์

ฟังเรื่องราวลึกซึ้ง ยิ่งชวนตะลึงไปกับความคิดความเชื่อที่มากกว่าเรื่องผีๆ ในวัฒนธรรมบันเทิง ยิ่งไปกว่านั้น ขรรค์ชัย-สุจิตต์ ยังจูงมือให้แฟนรายการดำดิ่งลงไปค้นข้อมูลลึกเรื่อง ‘ผี ขวัญ วิญญาณ’ ที่จะอธิบายความเรื่องแม่นาคได้เป็นอย่างดี

“เรื่องผี สังคมยังมีความเข้าใจที่แตกต่างกันไป ผีในศาสนาดั้งเดิมก่อนรับศาสนาพุทธและพราหมณ์ กับหลังรับศาสนาแล้ว พอพูดไปจะสับสนและปนเป แต่ถ้าค่อยๆ ทำความเข้าใจร่วมกัน เราจะไม่ปนกัน” วิทยากรอาวุโสชิงเกริ่นนำในความมึนงงที่อาจเกิดขึ้นต่อจากนี้

“คำว่าผี เป็นเรื่องเล่าเก่าแก่ดึกดำบรรพ์หลายพันปีมาแล้ว ตั้งแต่มีคน มีชุมชนเกิดครั้งแรกในโลกก็มีผีแล้ว ผีหมายถึงคนที่ตายไปแล้ว แต่ขวัญไม่ตาย ดำรงวิถีปกติ เหมือนตอนไม่ตาย แต่ต่างมิติ จับต้องไม่ได้ มองไม่เห็น ขวัญเป็นความเชื่อดั้งเดิมคนอุษาเคนย์ และจีนหรืออาจทั้งโลกก็ได้ แต่ปัจจุบันเราเอาไปปนกับวิญญาณที่รับมาจากอินเดียสมัยหลังจากพุทธ และพราหมณ์ ฮินดู

ขวัญกับวิญญาณ ไม่เหมือนกัน ไม่ใช่อย่างเดียวกัน แต่ปัจจุบันเราเอาไปปนกัน จึงสับสน

รูปปั้นแม่นาคจากดิน 7 ป่าช้า ฝีมืออาจารย์พวน ช้างเจริญ ซึ่งเคยบวชที่วัดมหาบุศย์ ก่อนถูกแต่งตัวด้วยเครื่องประดับสวยงามในศาลใหม่ดังที่เห็นในปัจจุบัน

เรื่องแม่นาค ไม่ใช่วิญญาณ แต่เป็นเรื่องผี ขวัญ

เวลาหมอผีเรียกแม่นาคพระโขนงมาใส่หม้อแล้วไปถ่วงน้ำ ซึ่งในความเชื่อของพุทธ-พราหมณ์ชัดเจนว่า พอตายแล้ว วิญญาณออกจากร่าง ไปจุติ เกิดใหม่ สิ่งที่เหลืออยู่ ไม่ใช่วิญญาณ แต่เป็นผี ขวัญ ในภาษาไทย มีคำว่า มิ่ง กับ ขวัญ ขวัญคือสิ่งที่ไม่มีตัวตน แต่อยู่ในร่างคนทุกจุดของร่างกาย แต่วิญญาณมีดวงเดียว แต่ขวัญมี 80 หรืออาจจะมากกว่า ถามว่า ขวัญไม่มีตัวตน แล้วมันอยู่อย่างไร มันอยู่ในสิ่งที่มีตัวตน เรียกว่า มิ่ง ขวัญต้องอยู่กับมิ่ง มิ่งเป็นที่สถิตของขวัญ มิ่งคือ ร่างกาย คือตัวตน เมื่อคนตาย ร่างกายตาย คือ มิ่งตาย มิ่งเป็นซาก แต่ขวัญไม่ตาย ขวัญเปลี่ยนสภาพไปอยู่อีกมิติหนึ่ง ซึ่งจับต้องไม่ได้ มองไม่เห็น”

อธิบายยาว ก่อนสรุปรวบความเพื่อความเข้าใจตรงกันว่า

“นี่แหละแม่นาค ไปมีวิถีปกติ เหมือนที่เคยปฏิบัติมาและจะปฏิบัติต่อไป แต่มองไม่เห็น จับต้องไม่ได้ เพราะฉะนั้น สิ่งที่หมอผีเชิญแม่นาคมาลงหม้อ คือ ขวัญ ไม่ใช่วิญญาณ”

สำหรับประเด็น ‘ตายทั้งกลม’ คือ ตายทั้งแม่ทั้งลูกในท้อง ขรรค์ชัย-สุจิตต์ อธิบายว่าคนปัจจุบันมักถูกหลอกให้กลัว แต่แท้จริงแล้วในสมัยโบราณ เป็นเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์

“การตายทั้งกลม ถือว่าเฮี้ยน คือศักดิ์สิทธิ์ ไม่ใช่ดุร้าย พบหลักฐานเก่าสุดในพงศาวดารมอญ-พม่า ตอนสร้างปราสาทให้พระเจ้าฟ้ารั่ว มีการผลักหญิงท้องแก่ลงหลุมให้เสาปราสาทกระแทกตายคาหลุม มีเลือดพุ่งขึ้นมาเป็นงู หลักเมืองกรุงเทพฯ มีเรื่องเล่าว่าต้องหาคนชื่อ อิน จัน มั่น คง ใส่ในหลุม นี่เป็นพัฒนาการความเชื่อเรื่องผีผู้พิทักษ์”

คนตาย ขวัญไม่ตาย น้ำเต้าดินเผา ‘มดลูกของแม่’ เมื่อกว่า 2,500 ปี

ปิดท้ายด้วยความยาวไกลในการสืบหลักฐานความเชื่อของผู้คน โดย 2 บัณฑิตศิษย์เก่าคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ยกภาพภาชนะดินเผารูปทรงคล้าย ‘น้ำเต้า’ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของ ‘ครรภ์มารดา’

ภาชนะดินเผา มีฝา บรรจุกระดูกมนุษย์ ราว 2,500 ปีมาแล้ว พบในแหล่งโบราณคดีเขตทุ่งกุลาร้องไห้ อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด รูปร่างคล้าย “น้ำเต้า” สัญลักษณ์ “ครรภ์มารดา”

“นี่คือภาชนะดินเผา กรมศิลปากรขุดพบที่ทุ่งกุลาร้องไห้ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด มีส่วนที่เป็นทรงกลม และฝา ทั้งหมดรูปร่างคล้ายกับน้ำเต้า น้ำเต้าคือสัญลักษณ์ของครรภ์มารดา หรืออวัยวะเพศของแม่ มดลูกของแม่ที่ให้กำเนิดคน ขุดพบในหลุมศพร่วมกับภาชนะอื่นๆ เต็มไปหมด มหาศาล บรรจุกระดูก อายุ 2,500 ปีเป็นอย่างน้อย

หม้อใส่กระดูกตามวัดตามวา เขาทำกันมาตั้งดึกดำบรรพ์ ปฐมกัปป์ ที่เขาเรียก หม้อฝาละมี

การเก็บกระดูก ซึ่งคือ มิ่ง รอ ขวัญ กลับมา ความตาย คือ ขวัญออกจากร่าง แล้วมันหาทางกลับไม่ถูก เพราะไม่รู้ว่าไปไหน ในอีกสาน จึงมี งันเฮือนดี ตีเกราะเคาะไม้ มีระเม็งละคร หมอลำ เพื่อเรียกขวัญกลับมา ดังนั้น จึงมีมหรสพงานศพ”

ขรรค์ชัย-สุจิตต์ ร่วมอธิบายผ่านหลักฐานทางโบราณคดีชิ้นสำคัญ

พาผู้ชมผู้ฟังและผู้อ่านเดินทางไปยาวไกลเกินกว่าเรื่องแม่นาคพระโขนงที่คุ้นเคย ข้ามเส้นของเรื่องเล่า ประวัติศาสตร์ วรรณกรรม สู่มิติทางมานุษยวิทยาและโบราณคดีกับสังคมร่วมสมัยที่ไม่อาจแยกจากกันได้โดยสิ้นเชิง

อีนาก แม่นาค นางนาก
สำนวนหลากหลายในความทรงจำ

ตํานานเรื่องแม่นาคพระโขนง เป็น ‘คำบอกเล่า’ ที่ถูกแต่งเป็นนิทาน อยู่ในความทรงจำสืบมายาวนาน ประกอบด้วยสำนวนหลากหลายตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ทว่า บางสำนวนอ้างอิงถึงยุคก่อนหน้า ไกลถึงรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

1.สำนวนของ ก.ศ.ร.กุหลาบ ซึ่งเขียนขึ้นเมื่อพุทธศักราช 2442 โดยเล่าว่า อำแดงนาก (สะกด ด้วย ก.ไก่) เป็นเมีย นายชุ่ม อาชีพเล่นโขน เป็นตัวทศกัณฐ์ ฐานะร่ำรวย มีลูกหลายคน ครั้งอำแดงนากคลอดลูกตายทั้งกลม ก็ถูกนำร่างไปฝังในป่าช้าวัดมหาบุศย์ ลูกๆ ของอำแดงนากกับนายชุ่ม ร่วมกันสร้างเรื่องผีมาหลอกคนริมคลองพระโขนง หวังไม่ให้บิดามีเมียใหม่ เพราะหวั่นแย่งชิงสมบัติไป

แม่นาค 2505 เวอร์ชั่น “ปรียา รุ่งเรือง” ฉายา “อกเขาพระวิหาร” พี่สาวเพื่อนคนหนึ่งของ สุจิตต์ วงษ์เทศ ซึ่งเคยหยิบยืมอุปกรณ์เสริมมาแต่งหญิงเพื่อแสดงละครของโรงเรียน

2.นางนาก พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวครั้งยังทรงศึกษาอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ โดยทรงใช้นามแฝงว่า C.H.T. (Calton H. Terris) เรื่องมีอยู่ว่า นางนาก หญิงงาม เป็นภรรยา นายขำ ชาวนาผู้มั่งคั่งแห่งบางพระโขนง นางนากคลอดลูกแล้วตาย นายขำไม่กล้าแต่งเมียใหม่ เพราะผีนางนากมาช่วยทำงานบ้านทุกวัน อีกทั้งต้อนควาย วิดน้ำเข้านา จึงไม่มีหญิงใดกล้ามาอยู่ด้วย สำนวนนี้ แต่งด้วยภาษาอังกฤษ ในชื่อว่า ‘The Second Ghost of Phra-Kanong’

3.พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 แต่เป็นภาษาไทย ใช้นามปากกา ‘นายแก้วนายขวัญ’ ตีพิมพ์ในหนังสือ ทวีปัญญา ฉบับเมษายน พ.ศ.2448 สำนวนนี้ นางนาก เป็นภรรยาขี้หึงของพันโชติ (กำนัน) ก่อนตายเคยบอกไว้ว่าถ้าพันโชติมีเมียใหม่ จะเป็น ‘ปีศาจ’ มาหลอกหลอน ครั้นนางนากตายไปจริงๆ ไม่ได้มาหลอกใคร แต่ลูกชายร่วม20กันสร้างสถานการณ์ผีๆ ให้คนกลัว เพราะไม่อยากให้พ่อมีเมียใหม่

4.บทละครร้อง ‘อีนากพระโขนง’ ของ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ เล่นที่โรงละครปรีดาลัย ในวังแพร่งนรา ถนนตะนาว กรุงเทพฯ สำนวนนี้ นางนากเป็นเมีย ‘นายมาก’ อย่างที่เรารู้จัก บ้านอยู่ริมคลองพระโขนง วันหนึ่งถูกเกณฑ์ไป ‘เข้าเดือน’ ทำงานราชการในเมือง นางนากจึงต้องอุ้มท้องลำพัง ต่อมาคลอดลูกตายทั้งกลม เพื่อนบ้านและสัปเหร่อช่วยจัดแจงงานศพ แล้วฝังในป่าช้าวัดมหาบุศย์ ผีนางนากอุ้มลูกชายไปหานายมากที่กรุงเทพฯ แล้วร่วมหลับนอนกัน รุ่งเช้าก็หายไป ครั้นนายมากออกเวรได้//กลับบ้านบางพระโขนง เพื่อนบ้านบอกว่านางนากตายแล้ว แต่นายมากไม่เชื่อ แล้วมีเรื่องราวพิสดารออกไป

นับแต่นั้น เรื่องราวเหล่านี้ก็ได้รับการสร้างสรรค์เป็นผลงานให้รับชมทั้งจอเงินและจอแก้ว อีกทั้งรูปแบบอื่นๆ มากมาย

พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร

The post ขรรค์ชัย-สุจิตต์ ทอดน่องท่องไทม์ไลน์ บนความรัก ความตาย จากผีบรรพชนถึง ‘อีนากพระโขนง’ appeared first on มติชนออนไลน์.

อาศรมมิวสิก : ทำดนตรีไทยให้เป็นดนตรีโลก

$
0
0

อาศรมมิวสิก : ทำดนตรีไทยให้เป็นดนตรีโลก

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 มีงานแถลงข่าวที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาฯ เป็นประธานในการแถลงข่าวเรื่องการแสดงดนตรีที่วัดพระราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งได้แสดงไปเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2564 เป็นการนำผลงานวิจัยเรื่อง “พื้นที่ทางวัฒนธรรมดนตรีเพื่อพัฒนาและสร้างสรรค์จินตนาการใหม่ โดยอาศัยร่องรอยวิถีชีวิตของชุมชนผ่านศิลปินในท้องถิ่นผู้สืบทอดวัฒนธรรมดนตรี”

ในวันแถลงข่าวและวันแสดง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาฯ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ก่อนการแสดงได้ตั้งคำถามไว้หลายเรื่อง ทั้งคำถามเชิงหารือว่าดนตรีจะช่วยพัฒนาชาติได้อย่างไร ส่วนคำถามที่เป็นข้อสงสัยว่าดนตรีจะเป็นอาชีพทำมาหากินได้อย่างไร นอกจากนี้ ยังมีคำถามที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ว่าจะนำดนตรีไทยไปสู่ดนตรีโลกได้อย่างไร แบบดนตรีจีน ดนตรีอินเดีย ดนตรีญี่ปุ่น เป็นต้น

ซึ่งก็คงไม่มีคำตอบที่สมบูรณ์นัก แต่จะตอบคำถามตามสามัญสำนึกว่า ดนตรีนั้นจะช่วยพัฒนาชาติได้อย่างไร ดนตรีพัฒนาเศรษฐกิจชาติ ดนตรีเป็นหุ้นส่วนของชีวิต ดนตรีพัฒนาคนและศักยภาพของคน ดนตรีเป็นมรดกของชาติที่มีราคาแพง และดนตรีสร้างความสามัคคีของปวงชน

ดนตรีทำหน้าที่รับใช้สังคม ใช้ประกอบพิธีกรรมมาช้านาน ดนตรีอยู่ในสังคมสยามโดยใช้เป็นเครื่องมือและอุปกรณ์ของพิธีกรรม ดนตรีเป็นเครื่องมือของผู้นำ พิธีกรรมทุกชนิดต้องอาศัยเสียงดนตรีทำหน้าที่ประโคมทำเสียง เพราะเสียงมีอำนาจ ผู้นำต้องใช้เสียงเพื่อนำจิตวิญญาณ เสียงดนตรีทำให้พิธีกรรมเกิดความศักดิ์สิทธิ์ หากว่าพิธีกรรมใดก็ตามที่ไม่มีเสียงดนตรี พิธีกรรมนั้นก็จะไม่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่ขลัง ไม่ปัง และไม่ยิ่งใหญ่ เสียงดนตรีจะประสานเนื้องานของพิธีกรรมให้ศักดิ์สิทธิ์และขลัง ดนตรีได้ทำหน้าที่อยู่ในพิธีกรรมของสยาม

เสียงดนตรีอยู่กับทุกศาสนา ทั้งหมอผีและนักบวช เพลงที่สวดในศาสนาเชื่อว่า “เสียงน้อยกิเลสน้อย” เสียงดนตรีจะนำดวงวิญญาณไปอยู่กับพระผู้เป็นเจ้าหรือไปสู่สรวงสวรรค์ ทุกศาสนาจึงต้องมีเพลงสวด เมื่อสวดแล้วก็จะมีความสุข จิตใจสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน สร้างความเชื่อมั่น เสียงดนตรีทำให้จิตใจของทุกคนมั่นคง

วรรณคดีเรื่องลิลิตพระลอ มีเครื่องดนตรี แตรงอน สังข์ พิณพาทย์ ฆ้อง ใช้เสียงดนตรีเป็นเครื่องประโคมในพิธีกรรม เครื่องดนตรีเหล่านี้ทำให้เกิดเสียงดัง แต่ไม่ได้เป็นทำนองเพลงที่ไพเราะอย่างใด มนุษย์มีความกลัว จึงต้องการเสียงดังๆ เพื่อช่วยขจัดความกลัวให้ออกไป เมื่อมนุษย์ได้ยินเสียงแล้วรู้สึกว่าอบอุ่นและมั่นคง ดนตรีจึงทำหน้าที่รวบรวมจิตใจคนไว้ด้วยกัน

“แตรสังข์พิณพาทย์ฆ้อง เสียงประโคมครื้นก้อง แหล่งหล้ากรุงไกร”

“เสียงแตรสังข์พาทย์ฆ้อง กึกก้องเสทือนธรณิน”

“เปนมหามหรสพ ตลบดุริยางคดนตรี ตีฆ้องกลองครื้นเครง ละเวงศัพท์แตรสังข์ ประดังเสียงกึกก้อง ท้องธรณีนฤนาท”

ในลิลิตโองการแช่งน้ำ เป็นพิธีกรรมของพราหมณ์ ซึ่งรับมาจากเขมรอีกทอดหนึ่ง มีพระวิษณุหรือพระนารายณ์ทรงครุฑ

“อันนารายณ์นั้นสี่หัตถา ทรงตรีคทาจักรสังข์”

ซึ่งเสียงดนตรีได้ทำหน้าที่ประโคมในพระราชพิธีของกษัตริย์ ตั้งแต่สมัยสุโขทัยกระทั่งปัจจุบัน

ดนตรีทำหน้าที่เพื่อความบันเทิง พบหลักฐานในวรรณคดีกาพย์พระไชยสุริยา เป็นวรรณคดีที่ประพันธ์ขึ้นโดยสุนทรภู่ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ.2383-2385) รัชกาลที่ 3 ซึ่งเป็นวิถีชีวิตที่ยึดถือประเพณีและองค์ความรู้จากสมัยอยุธยา เป็นช่วงเวลาที่สุนทรภู่ไปอยู่และศึกษากับครูมีแขก (พระประดิษฐไพเราะ) ได้วรรณคดีเรื่องพระอภัยมณีขึ้น มีเรื่องราวที่เกี่ยวกับดนตรีจำนวนมาก ทั้งปรัชญา ความเชื่อ พิธีกรรม ความบันเทิง และหุ้นส่วนของชีวิต สำหรับดนตรีที่มีในกาพย์พระไชยสุริยา น่าสนใจมาก ดังนี้

“อยู่มาหมู่ข้าเฝ้า ก็หาเยาวะนารี ที่หน้าตาดีดี ทำมะโหรีที่เคหา ค่ำเช้าเฝ้าสีซอ เข้าแต่หอล่อกามา”

เป็นวรรณคดีที่บอกให้รู้ว่า เจ้านายได้หาผู้หญิงที่หน้าตาดีให้มาเล่นมโหรี สีซอทั้งเช้าค่ำและเสพกาม อีกตอนหนึ่งบอกว่า “กระจับปี่สีซอทอเสียง ขับรำจำเรียง สำเนียงนางฟ้าน่าฟัง” พูดถึงผู้หญิงสวยเล่นกระจับปี่และขับร้อง ซึ่งเป็นดนตรีที่รับอิทธิพลจากเขมร ทั้งการขับร้องและการเล่นกระจับปี่

“กระจับปี่สีซอท่อเสียง ขับรำจำเรียง สำเนียงนางฟ้าน่าฟัง”

ในวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณี สามพราหมณ์ซึ่งเป็นตัวแทนสังคมทั่วไป ได้ตั้งคำถามด้วยความสงสัยว่า ทำไมพระอภัยมณีจึงเรียนดนตรี ดนตรีมีประโยชน์อย่างไร เป็นคำถามที่เป็นปรัชญา (คลาสสิก) ของสังคมไทย

“อันดนตรีมีคุณที่ข้อไหน ฤาใช้ได้แต่ข้างเที่ยวเกี้ยวผู้หญิง
ยังสงสัยในจิตคิดประวิง จงแจ้งจริงให้กระจ่างสว่างใจ”

เมื่อดนตรีออกจากพิธีกรรม ดนตรีเป็นหุ้นส่วนที่สำคัญของชีวิต ดนตรีเป็นความบันเทิง ดนตรีเข้าไปอยู่กับกิจกรรมสังคม ดนตรีช่วยหล่อเลี้ยงให้กิจกรรมมีความสุขสนุกสนาน ในความบันเทิงมีดนตรีอยู่ 2 ระดับ คือ ดนตรีที่ต่ำกว่าสะดือและดนตรีที่สูงกว่าสะดือ โดยธรรมชาติแล้ว ดนตรีที่ต่ำกว่าสะดือนั้นสัมผัสได้ง่ายและเสพได้เร็วกว่า จากวรรณคดีเรื่องระเด่นลันได ดนตรีเป็นวิชาข้างถนนเต้นกินรำกิน เป็นภาพลักษณ์ของวิชาไพร่

“เที่ยวสีซอขอข้าวสารทุกบ้านช่อง เป็นเสบียงเลี้ยงท้องของถวาย
ไม่มีใครชังชิงทั้งหญิงชาย ต่างฝากกายฝากตัวกลัวบารมี
พอโพล้เพล้เวลาจะสายัณห์ ยุงชุมสุมควันแล้วเข้าที่
บรรทมเหนือเสื่อลำแพนแท่นมณี ภูมีซบเซาเมากัญชา”

ทีนี้จะนำดนตรีไทยไปให้ถึงชาวโลกได้อย่างไร สิ่งแรกก็ต้องสร้างภาพลักษณ์ดนตรีให้เป็นวิชาที่มีเกียรติเชื่อถือได้ก่อน ดนตรีเป็นวิชาของนักปราชญ์ ดนตรีสามารถให้ความสุขแก่คน ดนตรีสามารถสร้างรอยยิ้ม สร้างจินตนาการ สร้างความคิดสร้างสรรค์ สร้างสุขภาพจิตที่ดี ดนตรีทำให้คนฉลาดขึ้นได้ ดนตรีสามารถพัฒนาด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้เกิดความเจริญงอกงาม จึงต้องสร้างภาพดนตรีให้ดีก่อน เรียนดนตรีดูดี “เก่งและรวย”

ไทยขายธุรกิจการท่องเที่ยวเป็นรายได้ลำดับต้นๆ ของประเทศ ในประเทศที่เจริญแล้วจะขายความสุขที่สูงกว่าสะดือ ดนตรีเป็นเรื่องของคุณภาพชีวิต ดนตรีสร้างเสน่ห์และให้รสนิยม ดนตรีเป็นหุ้นส่วนสำคัญของชีวิต นักท่องเที่ยวชั้นดียินดีที่จะจ่ายเพื่อคุณภาพชีวิต เพื่อให้ตนเองดูดี มีเสน่ห์ และมีรสนิยม

ดนตรีที่ดีต้องเล่นโดยนักดนตรีที่มีฝีมือสูง มีศักยภาพความเป็นเลิศ ดนตรีที่มีคุณภาพและขายคุณภาพ ขายความสำเร็จคือคุณภาพ สุดยอดฝีมือคือคุณภาพ ดนตรีเป็นศิลปะของหัวใจและเป็นหัวใจของศิลปะทั้งมวล

การสร้างดนตรีที่มีคุณภาพ ต้องลงทุน ซึ่งทุนประกอบด้วย หัวใจที่มีความรักในการทำงานดนตรี ต้องใช้สมอง สติปัญญา และประสบการณ์ ต้องลงมือทำทั้งสองมือและทำให้สำเร็จด้วยดีมีคุณภาพ ใช้จิตวิญญาณในการทำงานดนตรี ส่วนสุดท้ายก็ต้องมีเงินทำงาน “งานคือเงิน เงินคืองาน” แต่งานที่ดีนั้น มีคุณภาพยิ่งใหญ่กว่าเงิน

หากว่าท่านรัฐมนตรีกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ต้องการให้ผมควบคุมการทำงานเพื่อนำดนตรีไทยไปสู่ดนตรีโลก จะใช้เงินปีละ 200 ล้านบาท ใช้เวลา 5 ปี รวมเป็นเงิน 1,000 ล้านบาท ซึ่งเชื่อว่าสามารถรวบรวมดนตรีไทยในพื้นที่ภาคต่างๆ ได้สำเร็จ เพลงภาคกลาง 2,000 เพลง เพลงภาคเหนือ 400 เพลง เพลงภาคอีสาน 400 เพลง และเพลงภาคใต้ 300 เพลง รวมกันคร่าวๆ 3,100 เพลง นำมาพัฒนาให้เป็นเพลงของโลก โดยที่ยังรักษาวัฒนธรรมเพลงของชาติเอาไว้ กระบวนการรวบรวมเพลงเป็นเรื่องที่ง่ายมาก เพราะเมื่อมีเงินแล้วจะทำอย่างไรก็ไม่น่าเกลียด

ให้นักดนตรีชาวบ้านส่งเพลงมาให้ทางไลน์ หรือเชิญวงดนตรีชาวบ้านมาเล่นบันทึกเสียง โดยใช้ทฤษฎี “เสียงดังตังค์มา” ศิลปินชาวบ้านผู้รักษาเพลงก็จะมีเงินเลี้ยงชีพ สามารถเล่นดนตรีด้วยความสุข จะเอากี่ร้อยกี่พันเพลงก็สามารถทำได้ ได้เพลงมาแล้วก็เอาเพลงไปฝากไว้กับเทวดา (iCloud)

ดนตรีพื้นบ้านและดนตรีประจำชาติเหล่านี้ สามารถนำมาเรียบเรียงให้เป็นวงซิมโฟนีออเคสตราและให้เป็นวงดุริยางค์เครื่องเป่า ให้วงดนตรีเล่นบันทึกเสียงทุกเพลง โดยใช้นักดนตรีฝีมือชั้นเยี่ยมมาตรฐานนานาชาติ กระจายเพลง กระจายงาน กระจายเงินไปให้วงดนตรีที่มีอยู่ในเมืองใหญ่ วงดนตรีในมหาวิทยาลัย วงดนตรีในโรงเรียน วงดนตรีของโลก ให้สืบทอดเพลงของชาติ เผยแพร่ไปที่เยาวชนรุ่นใหม่ ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ

เมื่อเพลงได้บันทึกเสียงแล้วผลิตออกมาเป็นไฟล์เสียง กระจายเพลงไปเปิดในสนามบิน บนสายการบิน ในร้านอาหารไทยทั่วโลก โรงแรมไทยที่รองรับนักท่องเที่ยว ทั้งโรงแรมที่อยู่ในประเทศไทยและโรงแรมของคนไทยในต่างประเทศ ใช้เพลงเป็นของที่ระลึกให้แก่ชาวต่างชาติโดยผ่านร้านค้าที่สนามบิน สถานทูตไทย ใช้เพลงเป็นของที่ระลึกจากประเทศไทย ซึ่งดนตรีเป็นสินค้าทางวัฒนธรรม ใช้ดนตรีประกอบภาพยนตร์ไทย ในสารคดีไทย รายการโทรทัศน์ไทย การ์ตูนไทย รายการวิทยุเพลงไทย เป็นต้น เป็นธุรกิจและอุตสาหกรรมเพลงไทย

การจัดประกวดดนตรีระดับนานาชาติ ใช้เพลงไทยเป็นเพลงบังคับและเป็นเพลงเลือก ทั้งเพลงเดี่ยวและเพลงสำหรับวงดุริยางค์เครื่องสายและวงดุริยางค์เครื่องเป่า การให้รางวัลผู้ชนะเลิศการประกวดดนตรีราคาที่สูง (เหมือนนักกีฬา) สูงพอที่ทุกคนทั่วโลกอยากเข้าร่วมแข่งขัน เมื่อมีการแข่งขันดนตรีในประเทศไทย โดยเล่นเพลงไทย นักดนตรีระดับโลกก็เล่นเพลงไทย จะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้ดนตรีไทยออกไปสู่ชาวโลกเร็วขึ้น

โดย สุกรี เจริญสุข

The post อาศรมมิวสิก : ทำดนตรีไทยให้เป็นดนตรีโลก appeared first on มติชนออนไลน์.

‘กัญชา-กัญชง’ใครก็ปลูกได้ เปิดทุกขั้นตอน จากเลือกสายพันธุ์ถึงวันเก็บเกี่ยว

$
0
0

ก้าวผ่านศักราชแห่งการเริ่มต้นพร้อมความสำเร็จอันล้นหลาม สำหรับมหกรรม “กัญชา กัญชง 360 องศา เพื่อประชาชน”

ณ สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต จังหวัดบุรีรัมย์ ตลอด 5-7 มีนาคมที่ผ่านมา เพื่อขานรับนโยบายปลดล็อกกัญชา-กัญชง ให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางยา ผลิตภัณฑ์และอาหาร สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ เพิ่มรายได้ให้กับประชาชน

โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) บุรีรัมย์ สถาบันการศึกษา ตลอดจนภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมขนองค์ความรู้จากต้นจนถึงปลายน้ำ มาเผยแพร่ให้กับแพทย์ พยาบาล อสม. ผู้ประกอบการ ไปจนถึงชาวบ้าน ในรูปแบบนิทรรศการมีชีวิต เวทีสัมมนาวิชาการ ห้องให้คำปรึกษา คลินิกกัญชาและร้านค้า จากผู้เชี่ยวชาญ ให้ได้ขนไอเดียจากงานไปคิดต่อ หรือก่อตั้งวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ของตน ตามต้นแบบวิสาหกิจที่ยกมาให้คำปรึกษาครบจบในงานเดียว

“เริ่มต้นปลูกไม่เป็นเลย ปลูกกี่ต้นก็ตายหมด ที่สนใจปลูกเพราะก่อนหน้ากฎหมายกัญชาถูกกฎหมายจะเกิด มีโอกาสเฝ้าพ่อในโรงพยาบาล ได้ยินคนป่วยร้องโอดโอย เจ็บปวด กิน-นอนไม่ได้ คนเฝ้าก็ไม่ได้นอน สุดท้ายป่วยทั้งคู่ จึงมองเห็นว่าถ้ากัญชาช่วยให้ผู้ป่วยกินข้าวได้ มีแรงได้ ก็จะกลับมาอยู่กับครอบครัวได้ แต่ไม่ใช่แค่นั้น กัญชายังมีประโยชน์อีกมาก”

คือเสียงจาก ผศ.ดร.สมชาย แก้ววังชัย อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหาสารคาม กล่าวบรรยายในหัวข้อ “เคล็ดลับการปลูก ‘กัญชา กัญชง’ ที่ใครก็ทำได้” ให้ผู้สนใจที่ร่วมงานมหกรรมได้ตักตวงความรู้ จนล้นห้องสัมมนา

ด้วยประสบการณ์ที่เคยล้มลุกคลุกคลาน ก่อนจะก่อร่างสร้าง “วิสาหกิจชุมชนสมุนไพรศรทอง” ณ ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม จุดเริ่มต้นคือการใช้ความรู้ด้านวิทยศาสตร์-เคมี ไปกับการวิเคราะห์วิจัยในหลากสายพันธุ์กัญชา

เริ่มต้นปลูก ตั้งแต่กันยายน 2562 ทำให้รู้ว่า “กัญชา ไม่ต่างจากมนุษย์” ที่มีเพศผู้-เพศเมีย มีกะเทย บ้างก็ไม่ชอบแสง-หิวแสง ไปจนถึงความใส่ใจที่เป็นปัจจัยสำคัญในการปลูกพืชสมุนไพรชนิดนี้ นำไปสู่การขยับขยาย ทำดินขาย รับสร้างโรงเรือนและรั้วสำหรับผู้ต้องการปลูก ไปจนถึงเสื้อผ้าและสินค้าอื่นๆ จากการดัดแปลงส่วนที่เหลือนอกเหนือช่อดอก

หากรู้สึกว่าตนเองมือร้อน ปลูกอะไรก็ไม่รอด ไม่งอกงาม ต่อไปนี้คือเคล็ดลับการปลูกจากผู้ที่ไม่เป็นมาก่อน เพื่อเป็นแนวประกอบการตัดสินใจให้กับผู้ที่สนใจต่อยอดพืชกัญชาทางการแพทย์ และกัญชงเพื่อเศรษฐกิจ

หลากสายพันธุ์‘กัญชา’

แบบไหนเลือกให้ชัด แค่อย่าปลูก‘ตัวผู้’

อ.สมชาย เล่าว่า จากการทำวิจัยที่ ม.มหาสารคาม และจากการที่มีราชกิจจานุเบกษาปลดล็อกให้วิจัย-ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้ 50 กว่าท่านอาจารย์ จึงรวมกลุ่มเสนอโครงการวิจัย 18 โครงการ ก่อนไปขออนุญาตปลูก

โดยส่วนตัวจบ ป.ตรี โท เอก ในสายเคมี ด้านการสังเคราะห์สาร แต่ด้วยแรงจูงใจเห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น จึงทำใบอนุญาตปลูกและขอตัวอย่างจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) 50 กิโลกรัม เพื่อทำการสกัดวิจัยในช่วงเริ่มต้น

“เราอยากปลูก แต่เรารู้จักมันแค่ไหน สายพันธุ์อะไรที่จะปลูก แต่ละสายพันธุ์ เหมือนหรือต่างอย่างใดบ้าง

ทุกคนเข้าใจว่าสารสำคัญในกัญชาอยู่ในใบ แต่ความจริงอยู่ที่ปลายช่อดอก จากการวิจัยในต่างประเทศ ดอกช่อบนสุดจะมีสารสำคัญมากกว่าช่อข้างล่าง จึงต้องมีเทคนิคในการต่อยอดขึ้นมา และกัญชามี “ไตรโครม” (ขน) ที่เก็บสารสำคัญ 2 ตัวหลัก คือ THC และ CBD ซึ่งแต่ละตัวมีคุณสมบัติต่างกัน นอกจากนี้ ยังมีสารสำคัญกลุ่ม “เทอร์พีน” อีกกว่า 100 ชนิด ให้กลิ่น เช่น กลิ่นมะม่วง ส้ม แต่หากดูจริงๆ แล้วจะมีสารสำคัญมากกว่า 500 ชนิด เราจึงต้องดูว่าจะปลูกเอาสารอะไร กลิ่นไหน”

ผู้เชี่ยวชาญสอบถามขั้นต้น ก่อนชี้ว่า ในมุมนักเคมี มีกัญชา 3 สายพันธุ์หลัก คือ

1.Savita ต้นจะสูง มีสาร THC (เมา) สูง

2.Indica ต้นเตี้ย สารที่มีมาก คือ CBD (ไม่เมา)

3.Ruderalis ใบหนา ลำต้นเตี้ย-สั้น ข้อป้อม มีทั้ง CBD และ THC

ซึ่งถ้ามีการผสมสายพันธุ์ไทยกับต่างประเทศจะเรียกว่า “สายพันธุ์ไฮบริด”

“กัญชา” ยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1.Photoperiod ใช้ชั่วโมงแสงน้อยในการเริ่มทำดอก และ 2.Auto flowering ข้อดีไม่ขึ้นกับชั่วโมงแสง ให้กี่ชั่วโมงก็ได้ คือ 2 สายพันธุ์หลัก

“กัญชา” เดิมอยู่ในรูปดอก-สด มีสาร THCA ไม่เมา แต่ถ้าโดนความร้อนจะเกิดปฏิกิริยาดีคาร์บ กลายเป็นสารเมา หรือ THC จึงต้องสกัดโดยไม่ใช้ความร้อน ซึ่ง ผศ.ดร.สมชายบอกถึงสรรพคุณที่มากมาย ไม่ว่าจะลดแบคทีเรีย ฆ่ามะเร็ง แก้ปวด ช่วยให้นอนหลับ ลดความเครียด เพิ่มความอยากอาหาร รักษาพาร์กินสัน โดยความฝันส่วนตัวคือ จะทำสายพันธุ์กัญชาในการรักษาเฉพาะโรค โดยให้ความรู้ก่อนว่า อย่าปลูกต้นตัวผู้ เพราะละอองปลิวได้ไกล อาจเกิดการข้ามสายพันธุ์จนเสียสารสำคัญในกัญชาได้

“กัญชาเหมือนคน มีต้นตัวเมีย (มีขน) ตัวผู้ (มีแง่งยื่นออกมา) ตัวเมียดอกจะแหลมๆ และมีเกสรตัวเมีย 2 เส้น (คล้ายขนอวัยวะเพศ) ส่วนเพศผู้เป็นกระเปาะกลมๆ เห็นเพศผู้ตัดทิ้งทันที เพราะเมล็ดนั้นอาจจะทำให้สายพันธุ์เปลี่ยน และสารสำคัญในดอกจะลดลงมาก จึงไม่ควรมีต้นตัวผู้ คนเรายังมี กะเทย มีทอม กัญชาก็มี มีดอกตัวผู้และเมีย และกะเทย ซึ่งจะคล้ายตัวเมียแต่มีลักษณะคล้ายกล้วยยื่นออกมา ซึ่งเวลานำไปผสมพันธุ์ สารสำคัญจะลดลง” นักเคมีชี้แนะ

47 สายพันธุ์เป็นอะไรที่อลังการมาก สำหรับผู้ดูแลอย่างอาจารย์สมชาย เพราะแต่ละต้น แต่ละสายพันธุ์ กินน้ำและปุ๋ยไม่เท่ากัน มีสีสันและกลิ่นที่แตกต่าง ความต้องการหลากหลายกันไป

ย้อนไปเมื่อเริ่มต้นปลูก อ.สมชาย เล่าว่า เอาเมล็ดไปเพาะด้วยดินถุงตลาด ผลปรากฏว่าต้นอ่อนป่วยตายทั้งหมด รอบสองก็ไม่แคล้ว จึงเริ่มศึกษากลุ่มสายพันธุ์ ซึ่งเมื่อผสมสายพันธุ์ จาก 82 ตัวอย่าง พบสายพันธ์ที่มีสาร CBD สูง 5 ตัวอย่าง และ THC : CBD เท่ากัน 25 ตัวอย่าง ซึ่งนอกจากจะสามารถพัฒนาสายพันธุ์ที่มี THC และ CBD ได้แล้ว ยังพัฒนากลิ่น (เทอร์พีน) ได้อีกด้วย อีกทั้งในปัจจุบัน ยังได้เข้าร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำการตรวจคุณภาพสมุนไพรด้วยเทคนิค HPTLC ในสายพันธุ์ไทยต่างๆ จนทราบว่ากัญของไทยในแต่ละชนิด มีสารอะไรมากกว่าสารอะไรบ้าง ส่วนตัวใช้วิธีสกัดด้วย เอทานอล ซึ่งได้ออกมาเป็นน้ำสีน้ำผึ้ง

สำหรับวัตถุประสงค์ในการขออนุญาต ผลิต จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง ต้องเป็นไปภายใต้ 6 ข้อนี้ คือ

1.เพื่อประโยชน์ตามภารกิจของหน่วยงานรัฐ

2.เพื่อประโยชน์จากเส้นใยตามประเพณี วิถีชีวิตและใช้ในครอบครัวเท่านั้น โดยปลูกได้ไม่เกินครอบครัวละ 1 ไร่

3.เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์หรืออุตสาหกรรม

4.เพื่อประโยชน์ในทางการแพทย์

5.เพื่อประโยชน์ในการศึกษา วิเคราะห์วิจัย หรือปรับปรุงพันธุ์

6.เพื่อประโยชน์ในการผลิตเมล็ดพันธุ์รับรอง

แต่สำหรับประชาชนทั่วไป ผศ.ดร.สมชายบอกว่า สามารถขอปลูกได้ภายใต้ข้อ 3 เท่านั้น คือ ในเชิงพาณิชย์กับอุตสาหกรรม จะปลูกแบบไหนก็แล้วแต่เรา แต่ต้องมีแหล่งปลายน้ำให้ถูกต้องชัดเจน

โดยสรุปแล้ว “กัญชง” จะปลูกง่ายกว่า “กัญชา” แล้วคุณจะปลูกกัญชาหรือกัญชง จะปลูกชนิด “โฟโต้” หรือ “ออโต้” ปลูกเอาสาร CBD หรือ THC ต้องรู้ให้แน่ชัด ก่อนเริ่มต้นปลูกในลำดับถัดไป โดยเตรียมความพร้อมด้านสถานที่ ซึ่งมี 3 แบบคือ

การปลูกกลางแจ้ง ทุนน้อย-ความเสี่ยงสูง ข้อดีคือ ไม่ต้องซื้อหลอดไฟ ออกดอกตามชั่วโมงแสงธรรมชาติ ข้อจำกัดคือ ศัตรูพืชซึ่งอาจใช้ “ตัวห้ำ” มาช่วยจัดการ, เก็บเกี่ยวได้ปีละครั้งถึงสองครั้ง ไม่มีที่บัง ความร้อนสูง ปลูกเอาสาร CBD ก็อาจจะยากขึ้นเล็กน้อย

ส่วน การปลูกในโรงเรือน ต้องใช้หลอดไฟ จะไม่สามารถปลูกพันธุ์ไทยได้เพราะจะไม่ออกดอก เนื่องด้วยแสงจากหลอดไฟเข้มไม่พอ

ดังนั้น ในงานวิจัยจึงปลูกเฉพาะ “สายพันธุ์ไฮบริด” คือการเอาพันธุ์ไทยผสมพันธุ์ต่างประเทศ ทั้งชนิดโฟโต้และออโต้ ซึ่งสามารถปรับไฟหลอกให้ออกดอกได้ แค่ข้อเสียคือ ใบอาจเหลือง เปลืองค่าแอร์ ค่าไฟ และไม่ได้ปลอดภัยจากแมลง หรือคุมไรแดงได้ 100 เปอร์เซ็นต์

ต่อมา การปลูกกลางแจ้ง แบบกรีนเฮาส์ คือการเอา 2 ข้อดีนี้มาร่วมกัน เป็นระบบปิด มีหลังคาแต่ใช้แสงธรรมชาติ ซึ่งข้อดีใช้ทุนน้อย ข้อเสียคือ จะเกิดความร้อน ยากต่อการควบคุมผลผลิต หลายคนจึงใส่พัดลมเพื่อปรับอากาศ และสามารถเก็บเกี่ยวได้ปีละ 1 ครั้งเท่านั้น

เริ่มต้น ลงมือ

อุปสรรค-เคล็ดลับ จากนักเคมี

เมื่อขออนุญาตเป็นที่เรียบร้อย หากได้เริ่มทดลองปลูก หลายคนจะต้องพบกับอุปสรรค “เมล็ดไม่งอก” หรืองอกแค่ 5 เปอร์เซ็นต์ จากที่เพาะ

ณ จุดนี้ อ.สมชายชี้ว่า เมล็ดที่ดีต้อง “อ้วน แน่น สมบูรณ์ แข็ง มีสีน้ำตาลแก่ ผิวแข็งเรียบเนียน ขั้วแห้งสุก ไม่มีรอยปริแตก” ซึ่งช่วงแรกๆ มีการเผยแพร่ทางโซเชียลว่าดูเพศจากลักษณะของเมล็ดได้ทันที ซึ่ง “ไม่จริง”

อ.สมชายแนะเคล็ดลับการปลูกอย่างละเอียด ตามลำดับขั้น

1.การเพาะเมล็ด 3-7 วัน

ใช้น้ำเปล่าที่มีค่า pH 6.3-6.8 แช่เมล็ดในที่มืดและอุ่น 12 ชั่วโมง, วางบนทิชชูที่ชุ่มน้ำหมาดๆ แล้วใช้ทิชชูอีกแผ่นปิด, ปิดฝากล่องแล้วเก็บให้พ้นแสง, เมล็ดเริ่มปริ และมีรากแทงออกมาภายใน 1-3 วัน หมั่นเช็กเมล็ดทุก 12-24 ชม.

ซึ่งบางเมล็ดอาจต้องใช้กรรไกรหนีบเล็กน้อยแล้วเอาไปแช่น้ำ โดยหนีบตรงปลายเปลือก แต่อย่าให้ถึงเนื้อเมล็ด

2.การอนุบาล 1-2 สัปดาห์

วัสดุปลูก ร่วนฟู รากสามารถไชผ่านได้ง่าย อย่าง พีทมอส (Peat moss) ที่มีค่า pH ระหว่าง 6.3-6.8 มีสารอาหารไม่มาก จนเกินไป เอามาใส่ในแก้วพลาสติกที่เจาะรูใต้แก้ว โดยเว้นความสูงลงมาจากขอบ 2-3 ซม. รดน้ำให้ชุ่มทั่วกระถาง ก่อนใช้ไม้หรือปากกาทำหลุมลึกลงไป 2-3 ซม. เพื่อใส่เมล็ด

จากนั้นอนุบาลด้วยไฟให้แสง 18 ชั่วโมง/วัน 150-300 PPFD แสงแดดธรรมชาติกรองด้วยสแลน ชอบความชื้นและแสงรำไร เลี่ยงรับแสงโดยตรง และไม่ควรปล่อยให้ต้นแห้ง หรือโดนความร้อนเป็นเวลานาน

อ.สมชายยังเน้นย้ำว่า ค่า pH สำคัญมากในการปลูกกัญชา จึงควรดูค่า pH ของน้ำ ก่อนนำมารดต้นกัญชา

โดยในระยะอนุบาลนี้ จะมีศัตรูที่ต้องระวังกวนใจต้นอ่อน เช่น หอยทากจิ๋ว มด นก

ขั้นตอนต่อไป ผสมวัสดุปลูก ดินต้องร่วนซุย ชื้นแต่ไม่แฉะ ค่า pH 5.6-6.5 ส่วนตัว อ.สมชาย พยายามทำดินที่จะใช้ปลูก ด้วยการผสมวัสดุปลูกด้วยสูตร 12 ชนิด คือ พีทมอส 30%, ดินปลูก 20%, Perlite 15%, ขุยมะพร้าว 15%, แร่เวอร์มิคูไลท์ (vermiculite) 5%, หินพัมมิช 5%, แกลบสด 5%, มูลไส้เดือน 5%, Rebone 70 กรัม มูลค้างคาว 70 กรัม และไตรโคเดอมา 15 กรัม, B1 2 มล./น้ำ 1 ลิตร

โดยการปลูกในดิน จะใช้กระถางพลาสติกที่มีรูรอบๆ (Air pot) เพื่อระบายน้ำได้ดีถ่ายเทอากาศ

3.ระยะเลี้ยงใบ 4-8 สัปดาห์

เป็นระยะของการสร้างราก กิ่ง ใบ ควรเปลี่ยนไซซ์กระถางให้เหมาะสม เพราะหากรากไชไปไม่ได้ ต้นจะชะงัก โดยให้เน้นปุ๋ยไนโตรเจนเป็นหลัก แนะนำปุ๋ยมูลไส้เดือน ฮอร์โมนไข่

ในขั้นนี้ หลักการคือ “ให้โดยแสงครบทุกมุม” ซึ่งนอกจากนี้ยังมีเทคนิค อาทิ

“Topping” คือการตัดระหว่างข้อและยอดเพื่อให้เกิดการแบ่งสารอาหารและแตกยอด

“Firming” คือการตัดยอดออกให้กิ่งไม้สูง และยอดขึ้นมาเพิ่มอีกหลายกิ่ง

“Low stress training Topping” คือการดัดดึงต้นกัญชาลงมา ให้กิ่งก้านสาขาโตไปในแนวนอน เพื่อกระตุ้นพืชส่วนด้านข้าง

“High stress training supercooling” และ “Lollipopping” ซึ่งข้างล่างลำต้น มีใบมาก อากาศจึงไม่ถ่ายเท และทำให้ไม่โดนแสง ไม่มีดอก เมื่ออากาศไม่ถ่ายเทก็เกิดรา จึงต้องตัดให้โปร่ง มีช่องลมผ่าน

“Sea of green” คือ ปลูกถี่ๆ ข้างล่างไม่เอา เอาแต่ยอดบน แต่ยอดต้องสูง ซึ่งช่วยให้ประหยัดพื้นที่ อยู่ที่เทคนิคว่าจะทำอย่างไร

“Screen of green” (SCROG) ด้วยการใช้ตาข่าย ในการช่วยพยุงต้น

โดยในช่วงทำใบ จะมีศัตรูพืช เช่น เพลี้ยกระโดด เพลี้ยแป้ง แมลงหวี่ขาว ไรแดง (จุดขาวๆ) ซึ่งตอนฉีดยาต้องฉีดใต้ใบ

กัญชาปลูกไม่ยาก แต่ใช้ ‘ความใส่ใจ’ อย่างมาก

อ.สมชายบอกว่า ที่สำคัญ คือขั้นที่ 4 ระยะทำดอก

ซึ่งต้องปรับแสง เป็นเปิดไฟ 12 ชม. – ปิด 12 ชม. แต่แสงต้องเข้มขึ้น ช่วงนี้ต้องการดูแลเป็นพิเศษ ถ้ามีตัวผู้ต้องตัดทิ้ง อย่าเก็บ

ในระยะนี้ต้องให้มีธาตุ โพแทสเซียม NPK และฟอสฟอรัสเป็นหลัก เพื่อช่วยเพิ่มการแตกดอก

สำหรับข้อระวังคือ อย่าฉีดน้ำที่ดอก เพราะน้ำจะไม่สามารถระเหยได้ ก่อให้เกิดโรคราเทา ในช่วงนี้ให้ใช้ “ตัวห้ำ” ช่วย และต้องลดอุณหภูมิ ลดความชื้น ลดชั่วโมงแสง แต่เพิ่มความเข้มแบบที่ไม่ถึงกับร้อน และอาจต้อใช้แผ่นกาวดักแมลงช่วยด้วย

5.ระยะการเก็บเกี่ยว และจัดการหลังการเก็บเกี่ยว

เพื่อความแม่นยำ ควรใช้กล้องส่อง เพื่อดูสีและความใสของไตรโคม (ขน) ด้วยแว่นขยาย หรือกล้องส่องพระ ซึ่งดอกกัญชาที่สุกพร้อมเก็บเกี่ยว จะมีเส้นเกสรแห้ง เป็นสีส้มหรือน้ำตาล ค่อนข้างขุ่น หรืออาจเป็นสีเหลืองทองก็ได้

แต่ถ้าหากจะเอาสาร CBD สามารถเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่ที่ไตรโคมเริ่มมีสีขาว

ขั้นตอนต่อไปคือ การ “แต่งดอกสด” (Wet trim) โดยตัดออกจากกิ่งหลัก และเล็มใบส่วนเกินรอบๆ ดอกออกทั้งหมด ก่อนนำไปตาก ซึ่งต่างประเทศจะตากในห้องเย็น มืด และอากาศถ่ายเท เพื่อให้ในดอกแห้งได้ทุกข้อเท่าๆ กัน

เมื่อตากดอกแห้งดีแล้ว ก็มา “แต่งดอกแห้ง” (Dry trim) เพื่อเอาใบรองดอกออกมา และตัดแต่งให้มีมีรูปร่างสวยงาม ทั้งยังคงกลิ่นของดอกให้ชัดเจน

เหล่านี้ คือขั้นตอนแบบละเอียดยิบสำหรับผู้ที่อยากเริ่มต้นปลูก ก่อนนำส่วนช่อดอกที่ได้ส่งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เพื่อใช้ในการทำยารักษาผู้ป่วย

แต่ส่วนอื่นที่เหลือ อย่างใบ ลำต้น กิ่ง ก้าน ราก ผู้ปลูกสามารถขออนุญาตกับ อย. เพื่อนำมาเป็นส่วนประกอบ ต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลิตภัณฑ์และอาหารได้หลากหลายตามความชอบ

อธิษฐาน จันทร์กลม

The post ‘กัญชา-กัญชง’ใครก็ปลูกได้ เปิดทุกขั้นตอน จากเลือกสายพันธุ์ถึงวันเก็บเกี่ยว appeared first on มติชนออนไลน์.

‘ผมต้องการ 2 สิ่ง สิ่งหนึ่งคือ เสรีภาพแบบธรรมดาๆ’ สบตา ‘สามัญชน คนชื่อป๋วย’ ผ่านหอจดหมายเหตุยุคใหม่ ใน 105 ปีชาตกาล

$
0
0

‘เสรีภาพของประชาชนเป็นสิ่งแปลก ถ้าตัวเราเองไม่ได้ถูกลิดรอนเสรีภาพดังกล่าว ก็จะไม่รู้สึกอะไร และจะพูดได้เสมอว่าคนอื่นยังสามารถอยู่ได้เลยภายใต้การกดขี่ปราบปราม’

คือคำกล่าวของ ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ปูชนียบุคคลวงการเศรษฐศาสตร์ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ถูกนำมาอ้างถึงบ่อยครั้งในสถานการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะเมื่อการเมืองไทย ‘ไม่ปกติ’

เช่นเดียวกับบรรยากาศในห้วงเวลานี้ ที่การเรียกร้องของประชาชนยังเกิดขึ้นแทบทุกหัวระแหงในโลกออฟไลน์ คู่ขนานไปกับทุกแพลตฟอร์มในโลกออนไลน์ แม้ปฏิเสธไม่ได้ว่ากระแส ‘แผ่ว’ ลงอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็หาใช่หยุดชะงัก ดังปรากฏการนัดม็อบต่อเนื่องในหลายจุดเกือบทุกวันไม่มีเว้น ท่ามกลางการทยอยจับกุมคุมขังแกนนำโดยไม่ได้รับการประกันตัว แม้ระดับอดีตอธิการบดี อดีตคณบดี อีกทั้งบรรดาคณาจารย์รั้วธรรมศาสตร์ รับเป็น ‘นายประกัน’ ครั้งแล้วครั้งเล่า

นี่จึงเป็นอีกปีที่ต้องจับตาในสิทธิเสรีภาพ สิ่งซึ่ง ‘อาจารย์ป๋วย’ ให้ความสำคัญยิ่งเช่นเดียวกับ ‘สันติ ประชาธรรม’ หลักคิดซึ่งส่งต่อสู่คนรุ่นหลัง ยับยั้งความรุนแรงทุกรูปแบบ

พุทธศักราช 2564 ครบรอบ 105 ปี ชาตกาล ป๋วย อึ๊งภากรณ์

9 มีนาคมที่ผ่านมา ‘วันอาจารย์ป๋วย’ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ และวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ไม่เพียงจัดงานแสดงมุทิตาจิตอย่างเคย แต่ยังทำพิธีเปิดหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ณ อาคารอุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปี หรือที่มักถูกเรียกสั้นๆ ว่า ‘สวนป๋วย’

รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีคนเดิมและคนใหม่แห่งรั้วแม่โดม เปิดงาน โดยกล่าวถึงอาจารย์ป๋วยในตอนหนึ่งว่า ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการวางรากฐานเศรษฐกิจไทยสมัยใหม่ อีกทั้งเป็นผู้ที่อุทิศตนให้กับชาติบ้านเมืองด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และมีจริยธรรมในการทำงานเสมอมา จนได้รับการยกย่องจาก องค์การยูเนสโก ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ในด้านผู้มีผลงานดีเด่นด้านการศึกษา สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์

นอกจากนี้ ยังย้อนเล่าถึงความเป็นมาของหอจดหมายเหตุฯ ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2534 เพื่อเป็นแหล่งบริการข้อมูล การศึกษา งานวิจัย โดยให้บริการสังคมและประชาชนมาตลอด 30 ปี จนกระทั่งปี 2560 ที่หอจดหมายเหตุฯ ได้เข้ามาเป็นหนึ่งในหน่วยงานของหอสมุดฯ ซึ่งถือเป็นการยกระดับการให้บริการให้เท่าทันยุคสมัยมากยิ่งขึ้น

กล่าวโดยสรุปว่า หอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์พัฒนาขึ้นตามโลกเทคโนโลยี โดยมีการพัฒนาระบบการจัดเก็บเอกสารที่ทันสมัย ใช้นวัตกรรมเพื่อจัดเก็บเอกสารให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลไฟล์เต็มรูปแบบ ตลอดจนพัฒนาระบบการสืบค้นตามมาตรฐานสากล ซึ่งทำให้ง่ายต่อการใช้งาน

นอกจากนี้ หอจดหมายเหตุฯ ยังได้รับการจัดสรรพื้นที่ภายในอาคารอุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี เพื่อจัดตั้งเป็นสํานักงานและสถานที่ให้บริการ โดยมีการออกแบบ ตกแต่ง และสร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้ รวมถึงจัดแสดงนิทรรศการ “สามัญชนคนชื่อ ‘ป๋วย’ ชีวิต ความคิด และผลงาน” ซึ่งประกอบด้วยนิทรรศการถาวร และนิทรรศการเสมือนจริง เพื่อระลึกถึงคุณงามความดี ในฐานะผู้ริเริ่มและบุกเบิกการขยายมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มายังศูนย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี

2 สิ่งที่ ‘ป๋วย’ อยากได้ ‘เสรีภาพแบบธรรมดาๆ’
กับสิทธิร่วมกำหนดชะตากรรมสังคม

“ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ หรือ อาจารย์ป๋วยของชาวธรรมศาสตร์ เป็นบุคคลที่ชาวธรรมศาสตร์รักและเคารพ ทั้งนี้ก็เป็นเพราะคุณความดีของตัวท่านเป็นสำคัญ……

……ชีวิตของท่านอาจารย์ป๋วยนั้นควรค่าแก่การศึกษาเป็นอย่างยิ่ง เพราะแสดงถึงความอุตสาหะ ขยันหมั่นเพียร ทั้งในการศึกษาและการงาน และที่โดดเด่นเป็นพิเศษก็คือความซื่อสัตย์ กับจิตใจที่รักประชาธิปไตย รักประเทศชาติ ด้วยการสร้างความเป็นธรรมในสังคม เป็นตัวอย่างของคนดี ผู้นำที่สังคมยังต้องการ อาจารย์ที่ศิษย์รักและเคารพ”

ศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงอาจารย์ป๋วย เมื่อครั้งจัดพิมพ์หนังสือครบรอบ 80 ปีเมื่อ พ.ศ.2539 ให้ภาพรวม และภาพจำของอาจารย์ป๋วย ต้นแบบคนดีในนิยามที่แตกต่างไปจากคำเสียดสียั่วล้อ ‘คนดี’ ในปัจจุบัน คนที่มองเห็นความสำคัญของสิทธิเสรีภาพ ประชาธิปไตย และความทุกข์ยากของผู้อื่น

ในคำให้การของอาจารย์ป๋วย ต่อคณะอนุกรรมการว่าด้วยองค์การระหว่างประเทศ ของคณะกรรมการวิเทศสัมพันธ์ ในสภาผู้แทนราษฎรแห่งรัฐสภาที่ 95 ของสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2520 ในตอนหนึ่งที่ลึกซึ้งกินใจ สะท้อนปมปัญหาที่ต้องแก้ไข ในความขมขื่นที่แม้กระทั่งทุกวันนี้ก็ยังเกิดขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ ความว่า

“ถ้าคุณเป็นชาวนา และบุตรของคุณถูกตำรวจนำตัวไปโดยที่เขามิได้ก่อกวนแต่อย่างใด มิได้ทำอะไรทั้งนั้น ถูกนำตัวไปโดยปราศจากข้อหา เมื่อนั้นแหละคุณจะรู้สึกขมขื่นมาก

ฉะนั้น ผมจึงไม่คิดว่า จริงๆ แล้วมันเป็นเรื่องของปัญญาชนที่จะวิตกกังวลเท่านั้น คนตัวเล็กๆ ซึ่งได้รับความเดือดร้อน เพราะการไร้ซึ่งสิทธิและเสรีภาพ ถูกข่มขู่จากพวกเผด็จการ จะได้รับความทุกข์กันทุกคน มีพวกปัญญาชนเท่านั้นที่สามารถจะบอกเล่าอะไร ชาวนาไม่ทราบจะพูดออกมาอย่างไร แต่พวกเขารู้สึกขมขื่นอย่างรุนแรง

ผมอยากจะเตือนคุณว่า คำว่า ‘ไทย’ หมายความว่ามีเสรีภาพ และพวกเราคนไทยที่อยู่ในประเทศไทยต้องมีเสรีภาพ ไม่ว่าเราจะจน ไม่ว่าเราจะอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้

ผมเห็นว่า การเป็นอยู่ของเพื่อนร่วมชาติของผมนั้น ไม่มีทางอื่นนอกจากอยู่อย่างเป็นไท อย่างมีเสรีภาพพอสมควร

ผมเห็นด้วยกับความเห็นที่ว่า สภาพต่างๆ อาจไม่พร้อมพอที่จะทำให้ได้ประโยชน์จากประชาธิปไตย จากเสรีภาพอย่างเต็มที่ ทว่าบทสรุปของผมต่างจากพวกที่คุณอ้างมามากทีเดียว

ผมอยากจะพูดว่า ขอให้เราพยายามให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตย มากกว่าจะบอกว่ามีเผด็จการกันเถอะ ประชาธิปไตยต้องใช้เวลาแน่นอน และเราต้องมุ่งที่จะทำให้ประชาธิปไตยก่อตั้งขึ้นมาให้ได้

ประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่ไม่สามารถสอนในชั้นเรียนได้เลย ผมไม่แคร์นักกับรูปแบบของประชาธิปไตยที่จะมีขึ้นในประเทศของผม มันจะต้องเหมาะกับสภาพความเป็นมาทางวัฒนธรรมของประเทศของผม ประชาธิปไตยวิถีทางรัฐสภาแบบในตะวันตกอาจจะไม่เหมาะกับเรา ผมเห็นด้วยอย่างนั้น

ขอให้เราได้มีเสรีภาพที่จะค้นคว้าแสวงหาสิ่งนั้น

และในที่สุดแล้วผมต้องการ 2 สิ่ง สิ่งหนึ่งคือ เสรีภาพ เสรีภาพแบบธรรมดาๆ อีกสิ่งหนึ่งคือ สิทธิที่จะได้มีส่วนร่วมในการกำหนดชะตากรรมของสังคม

2 สิ่งนี้จริงๆ แล้วไม่ได้เป็นแนวคิดของตะวันตกแต่ผู้เดียว ในคำสอนทางพุทธศาสนามีแนวคิดเกี่ยวกับสังฆะ เกี่ยวกับความเป็นปึกแผ่นและการมีตัวแทน

แต่เราละเลยแนวคิดนี้ แล้วไปคิดว่าประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่เอื้อมไม่ถึง เราจึงมักคิดว่า เราต้องใฝ่หาเสถียรภาพโดยการมีระบบเผด็จการ”

เปิดจม.ถึง ‘คุณสุชาติที่รัก’ (สังคมศาสตร์ปริทัศน์)
เป็นเพลิงให้เสรีชนได้มองเห็น

ในช่วงเวลาของการรำลึกถึงอาจารย์ป๋วยในปีนี้

สุชาติ สวัสดิ์ศรี ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ นักเขียนและบรรณาธิการรุ่นใหญ่ฝั่งประชาธิปไตย นำข้อความในเอกสารฉบับหนึ่งมาเปิดเผย โดยระบุว่า เป็นหนึ่งในจดหมายจากอาจารย์ป๋วย ในช่วงที่ตนเป็นบรรณาธิการ “สังคมศาสตร์ปริทัศน์” ที่เหลือรอดจากเหตุการณ์ “6 ตุลาคม 2519” ในช่วงที่ต้องหลบหายไปจากบ้าน “ศรีดาวเรือง” ภริยาได้ช่วยเป็นธุระเอาหนังสือ “ต้องห้าม” และจดหมายส่วนตัวจำนวนหนึ่ง มัดรวมกันใส่ไว้ในถังข้าวสารพลาสติกหลายสิบใบ และขุดดินฝังไว้ใต้ถุนบ้าน

นี่คือข้อความในจดหมายฉบับนั้น

3 Barton Close
Cambridge CB 3 9 L Q
England.
10 กุมภาพันธ์ 2515

คุณสุชาติที่รัก

จดหมาย 28 มค.ของคุณที่ส่งมาพร้อมกับ “สังคมศาสตร์ปริทัศน์” ฉบับหลัง 17 ผมได้รับแล้วด้วยความขอบคุณ

ผมเห็นด้วยกับคุณในเรื่องที่จะต้องประคับประคอง ปริทัศน์ ไว้เท่าที่จะทำได้ (โดยถือเสรีภาพให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้) เป็นดุลที่ค่อนข้างจะยากในการรักษา แต่ก็จำเป็น เพราะเราเป็นฉบับเดียวที่ถือเสรีภาพอยู่ได้ตลอดมา เป็นเพลิงให้เสรีชนได้มองเห็นอยู่ ถ้ามืดมนเมื่อใดก็จะหาหนทางได้ยาก

ผมอยากจะเขียนเรื่องมาลง ปริทัศน์ แต่ระหว่างนี้กำลังงานแยะเพราะค้างมาเมื่อต้นปี ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ไปหลายเวลา แต่ถ้าคุณเตือนมาเรื่อยๆ ก็จะดี

มีบทความที่ผมเขียนเสร็จอยู่ 1 บท ทำนองจดหมายจาก ‘นายเข้ม เย็นยิ่ง’ ถึง ‘นายทำนุ เกียรติก้อง ผู้ใหญ่บ้านไทยเจริญ’ ผมจะส่งไปให้จอมพลถนอม กิตติขจร พรุ่งนี้ และจะส่งสำนวนให้ คุณสาคร ถาวโรฤทธิ์ เลขานุการของผมที่คณะเศรษฐศาสตร์ มธ. พิมพ์โรเนียวแจกในหมู่เสรีชนทั้งหลาย ไม่อยากนำลงใน ปริทัศน์ เพราะเหตุข้างต้น ขอให้คุณติดต่อคุณสาครมารับเอาไป (คุณชวลิต ปัญญาลักษณ์ รู้จัก) ผมจะให้คุณสาครโทรศัพท์บอกคุณด้วย

รัก + คิดถึง
(ป๋วย อึ๊งภากรณ์)

เป็นเรื่องราวจุดกำเนิด “จดหมายจากนายเข้ม เย็นยิ่ง ถึงนายทำนุ เกียรติก้อง ผู้ใหญ่บ้านไทยเจริญ” เมื่อต้นปี พ.ศ.2515 ที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์

‘พูนดินที่โคนต้นไม้’ ถึง ‘สวนป๋วย 100 ปี’

ไม่เพียงผลงานที่จารึกไว้ในความทรงจำธรรมศาสตร์และสังคมไทย ชีวิตส่วนตัวของอาจารย์ป๋วยก็มากมายด้วยเกร็ดน่าสนใจ ตั้งแต่ชื่อ ‘ป๋วย’ ซึ่งท่านได้อธิบายไว้อย่างละเอียดว่า

“ชื่อของผม ‘ป๋วย’ นั้น เตี่ยผมตั้งคำจีนให้เป็นชื่อตัว (ซึ่งต่างจากชื่อสกุลและชื่อรุ่น คือ Generation ตามธรรมเนียมจีน ชื่อสกุลของผมคือ อึ๊ง ชื่อรุ่นคือ เคียม อ่านทั้ง 3 ตัวตามลำดับประเพณีจีน สำเนียงแต้จิ๋ว จะเป็น ‘อึ้ง ป้วย เคียม’ แต่ถ้าอ่านโดดๆ วรรณยุกต์จะเปลี่ยนไป ชื่อสกุลเป็น อึ๊ง และชื่อตัวเป็น ป๋วย)

คำว่า ‘ป๋วย’ ตามที่เตี่ยเขียนให้นั้น แปลตรงตัวได้ว่า ‘พูนดินที่โคนต้นไม้’ เพราะตัวประกอบในอักษรระบุไว้เช่นนั้น แต่มีความหมายกว้างออกไปอีก คือ ‘บำรุง’ ‘หล่อเลี้ยง’ ‘เพาะเลี้ยง’ และ ‘เสริมกำลัง’ ปทานุกรมจีน-อังกฤษที่พิมพ์จำหน่ายที่ฮ่องกง แปลว่า ‘to bank up with earth; to cultivate; to nourish; to nurse; to add energy; to strengthen’

จอมพล ป. พิบูลสงคราม เคยสัพยอกผมในเรื่องชื่อของผมครั้งหนึ่ง ท่านเคยพูดว่า คุณป๋วยน่าจะเป็นข้าราชการผู้ใหญ่แล้วไม่เปลี่ยนสักที ชื่อเป็นเจ๊กเป็นจีนอยู่อย่างนั้น

ผมก็เรียนท่านว่า พ่อผมตั้งชื่อมา ถ้าจะให้เปลี่ยนก็ต้องให้พ่อเปลี่ยน แต่เสียใจที่พ่อตายเสียแล้ว เลยเปลี่ยนไม่ได้

อีกประการหนึ่ง ถ้าท่านนายกรัฐมนตรีรู้จักภูมิศาสตร์ของไทยดี จะทราบว่าที่จังหวัดลำปางมีตำบลหนึ่งชื่อว่า ปางป๋วย ฉะนั้น ป๋วยจึงเป็นคำไทยด้วย ท่านก็เลยหัวเราะและเลยไม่พูดถึงนามสกุลด้วยซ้ำ”

ความหมายของชื่อป๋วยนี้ ต่อมา เมื่อมีการสร้าง ‘อุทยานการเรียนรู้ ป๋วย 100 ปี’ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ก็ถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดการออกแบบ โดยมีการสร้างอาคารใต้หลังคาที่มีลักษณะเป็น ‘พูนดิน’ สื่อถึงการบำรุง หล่อเลี้ยง เสริมกำลัง ดังที่กล่าวมาข้างต้น โดยเปิดเป็นสาธารณะประโยชน์ให้คนทั่วไปเข้าใช้ได้ ไม่เฉพาะนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเพียงไม่กี่วันก่อน 9 มีนาคม ‘สวนป๋วย 100 ปี’ ก็เป็นสถานที่ต้อนรับ กลุ่มผู้ทำกิจกรรม ‘เดินทะลุฟ้า’ ซึ่งเดินทางมาจากจังหวัดนครราชสีมาเป็นวันที่ 14 เปิด ‘อภิปรายไม่ไว้วางใจระบอบ คสช.’ อย่างเผ็ดร้อน โดยเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.), คณะกรรมการนักศึกษาวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,เครือข่ายรณรงค์รัฐธรรมนูญ และโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ ไอลอว์

ประติมากรรมอาจารย์ป๋วย นั่งคู่ ปรีดี พนมยงค์ ผู้ประศาสน์การ ม.ธรรมศาสตร์ บนม้านั่งในสวนป๋วย ซึ่งสร้างขึ้นจากภาพถ่ายของ จริย์วัฒน์ สันตะบุตร บริเวณหอพัก Beit Hall ของ Imperial College กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2520 เป็นจุดสนใจในการแปะ ‘โพสต์อิท’ ข้อความสะท้อนการเมืองไทยในวันที่ทั้ง 2 ท่านยังคงมีชีวิตอยู่บนผลงานและแรงบันดาลใจสู่คนรุ่นใหม่

เป็นอีกหนึ่งบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย ที่ต้องสบตา สนทนา และทำความรู้จักย้อนสู่วันเวลาในอดีต เพื่อหันมองปัจจุบัน และต่อสู้เพื่อวันพรุ่งนี้ที่ดีกว่าเมื่อวาน

เข้าชมนิทรรศการ “สามัญชนคนชื่อ ‘ป๋วย’ ชีวิต ความคิด และผลงาน” ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
ณ หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาคารอุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี
รวมถึง อ่านจุลสารหอจดหมายเหตุฯ หนังสือ คลังภาพ โปสเตอร์ และชมนิทรรศการออนไลน์ได้ทางเว็บไซต์ของหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ http://archives.library.tu.ac.th/

 

The post ‘ผมต้องการ 2 สิ่ง สิ่งหนึ่งคือ เสรีภาพแบบธรรมดาๆ’ สบตา ‘สามัญชน คนชื่อป๋วย’ ผ่านหอจดหมายเหตุยุคใหม่ ใน 105 ปีชาตกาล appeared first on มติชนออนไลน์.

อาศรมมิวสิก : ‘ชิยา อามอส’ : จากวาทยกรสู่คนส่งอาหาร,บทเรียนชีวิตแห่งการละวางของคนหนุ่ม

$
0
0

‘ชิยา อามอส’ : จากวาทยกรสู่คนส่งอาหาร,บทเรียนชีวิตแห่งการละวางของคนหนุ่ม

เราเคยรู้สึกต่ำต้อยไร้ค่าไหม, ถ้าเราเคยรู้สึกว่าเราโชคร้าย เรื่องราวของวาทยกรหนุ่มตกอับแห่งสิงคโปร์วัยเพียง 30 ปี นาม “ชิยา อามอส” (Chiya Amos) คงจะเป็นเพื่อนปลอบใจเราได้บ้างว่า อย่างน้อยที่สุดในโลกนี้ก็ยังมีคนที่โชคร้ายอยู่อีกมากที่ยังต้องดิ้นรนต่อสู้ชีวิตเป็นเพื่อนร่วมโชคชะตาทุกข์ยากของเราในโลกนี้ มีคำคมกล่าวไว้ว่า “ถ้ามองทางโลกให้มองทางต่ำ ถ้ามองทางธรรมให้มองทางสูง” ซึ่งหมายความไปในทำนองที่ว่า หากเราคิดว่าเราโชคร้ายตกอับ ชีวิตยากลำบากแล้ว แต่ในความเป็นจริงนั้นยังมีคนที่ต้องทุกข์ยากลำบากยิ่งกว่าเราอยู่อีกมากมายนัก (อันนี้คือ “มองทางโลกให้มองทางต่ำ”) และหากเราคิดหยิ่งทะนงตัวว่าเราดีพอแล้ว เราเก่งแล้ว ก็ขอให้พึงรู้ว่าในโลกนี้ยังมีคนดี, คนเก่งกว่าเราอีกมากจงพึงหมั่นฝึกฝนปรับปรุงตนเองให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิมเถิด (อันนี้คือ “มองทางธรรมให้มองทางสูง”) เรื่องราวของวาทยกรหนุ่มชาวสิงคโปร์ที่กำลังเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ในคณะอุปรากรและบัลเลต์ในแถบรัสเซีย แต่ต้องมาตกงาน, ชีวิตตกอับราวกับเทวดาตกสวรรค์ ต้องมาทำงานขี่จักรยานส่งอาหาร-เครื่องดื่ม นับเป็นเรื่องราวสอนใจเราทุกคนได้ดี ถึงความไม่แน่นอนแห่งชีวิต คนที่ชีวิตมาจากศูนย์แล้วไต่เต้าขึ้นไปจนได้ดีเป็นใหญ่เป็นโตนั้นน่ายกย่องนับถือ แต่คนที่เคยเป็นใหญ่เป็นโตและต้องกลับลงมาสู่สามัญในชั่วพริบตานี่สิ เป็นเรื่องที่ยิ่งน่าจะต้องเรียนรู้และนับเป็นแบบอย่าง ในการประคองสติประคองชีวิตให้อยู่รอดได้ โดยเฉพาะหากเรื่องนั้นเกิดขึ้นในช่วงที่ชีวิตกำลังรุ่งโรจน์ นี่เองกระมังที่มีคำสอนกันอยู่เสมอๆ ว่าหากต้องการเรียนรู้ชีวิตก็จงเรียนจากความทุกข์เพราะทุกข์นั้นจะทำให้เราแข่งแกร่งเติบโตขึ้นในจิตวิญญาณ แต่ความสุขเป็นมายาที่มักจะทำให้เราเพลิดเพลินอยู่กับกิเลสและความประมาทในชีวิต

เรื่องราวของ “ชิยา อามอส” กำลังเป็นที่กล่าวขวัญกันอยู่ในโลกออนไลน์ เขาเป็นวาทยกรหนุ่มวัยเพียง 30 ปี ชาวสิงคโปร์ ก่อนการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เขาเป็นวาทยกรที่ตั้งหลักแหล่งพำนักอยู่ในรัสเซีย มีความเชี่ยวชาญในการอำนวยเพลงอุปรากร (Opera) และบัลเลต์ (Ballet) ในปี พ.ศ.2561 เขาได้ดำรงตำแหน่งวาทยกรรับเชิญประจำ (Permanent Guest Conductor) แห่งคณะอุปรากร-บัลเลต์ “มาริยินสกี” (Mariinsky Theatre North Ossetia-Alania) อันเป็นสาขาย่อยของคณะมาริยินสกีแห่งเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กและเขายังเป็นหนึ่งในคณะวาทยกร (Conducting Fellow) ในเทศกาลดนตรีฤดูใบไม้ผลิที่กรุงโตเกียวประเทศญี่ปุ่นในปี พ.ศ.2562-2564 โดยมีวาทยกรระดับโลกนาม “ริคคาร์โด มูติ” (Riccardo Muti) เป็นหัวหน้าคณะวาทยกร ชิยา อามอสเคยชนะได้รับรางวัลในการแข่งขันอำนวยเพลงหลายรายการ เป็นวาทยกรผู้ช่วย (Assistant Conductor) ให้กับวาทยกรชาวฝรั่งเศสชั้นนำอย่าง “ญอง ปาสกาล ทอร์เทลิเยร์” (Yan Pascal Tortelier) แห่งวงไอซ์แลนด์ซิมโฟนีออเคสตรา (Iceland Symphony Orchestra) และ “บีบีซี. ฟิลฮาร์โมนิกออเคสตรา”(BBC. Philharmonic Orchestra) ก่อนหน้าการแพร่ระบาดของโควิด-19 นั้นแม้ว่าเราไม่อาจเรียกเขาได้ว่าเป็น “วาทยกรระดับโลก” ได้เต็มปาก แต่เขาก็เป็นคนหนุ่มที่กำลังเจริญก้าวหน้า มีงานอำนวยเพลงรับเชิญให้สั่งสมประสบการณ์และบารมีกับโรงอุปรากร, คณะบัลเลต์และวงออเคสตราต่างๆ ทั่วรัสเซียและยุโรป

อาศรมมิวสิก : ‘ชิยา อามอส’ : จากวาทยกรสู่คนส่งอาหาร,บทเรียนชีวิตแห่งการละวางของคนหนุ่ม

ชิยา อามอส เล่าถึงประสบการณ์ตกสวรรค์ที่แทบจะเรียกได้ว่าสายฟ้าแลบ กล่าวคือหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โรงละครและสถานที่แสดงต่างๆ ถูกปิดตัวลง เขาตกงานกะทันหัน ไม่มีการจ้างงาน ไม่มีเงินชดเชยจากการถูกยกเลิกงานใดๆ อีกด้วย นับเป็นระยะเวลากว่า 10 เดือน เขาเริ่มหันไปสอนดนตรีส่วนตัวบ้างเล็กๆ น้อยๆ บรรยายในการสัมมนาออนไลน์บ้าง และแม้ว่าจะมีมาตรการผ่อนคลายมากขึ้นทั่วยุโรปในช่วงปลายปีที่แล้ว แต่ทว่าสถานการณ์ก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างกลับตาลปัตร บรรดาวงออเคสตราส่วนใหญ่เริ่มที่จะเลือกใช้งาน, ว่าจ้างวาทยกรที่เป็นคนท้องถิ่นก่อน และในขณะเดียวกันก็สนับสนุนวาทยกรคนรุ่นใหม่ในพื้นที่ซึ่งกำลังเติบโตขึ้น แทนที่จะต้องเชิญวาทยกรต่างชาติอย่างตัวเขา

ในการแพร่ระบาดรอบสองของโควิด-19 ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลกในปลายปีที่แล้วทำให้สถานการณ์ซ้ำร้ายลงไปกว่าเดิม เขาต้องนำเงินเก็บออมไว้ออกมาใช้จ่าย คนเราเมื่อชีวิตตกอับหมดทางไป มักจะหวนคิดถึงบ้านอย่างรุนแรง ตัวเขาก็เช่นกัน (เขากล่าวว่าบ้านคือที่ซึ่งดวงใจเราจะอยู่ที่นั่น!) เขาจึงตัดสินใจไปตายเอาดาบหน้า เดินทางกลับบ้านที่สิงคโปร์ในเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมา ยื่นขอสมัครงานไปกว่า 40 แห่ง ทั้งงานขาย, งานบริหารจัดการ และงานทางวิชาการ, การศึกษา แต่ก็ถูกปฏิเสธไปทุกงาน และด้วยการที่เขาได้ไปใช้ชีวิตอยู่ในต่างประเทศเป็นระยะเวลาหลายปี เขาจึงไม่มีสิทธิในการรับเงินช่วยเหลือในโครงการเยียวยาใดๆ จากทางรัฐบาล ชิยา อามอส บอกว่า เขาต้องเผชิญหน้ากับความไม่มั่นคงในชีวิตและการเงิน เขารู้สึกเศร้าใจ, สลดหดหู่, ท้อแท้ผิดหวัง, วิตกกังวล

ในที่สุดวาทยกรหนุ่มที่กำลังจะไต่สวรรค์, สร้างสะสมความสำเร็จในชีวิตก็จึงตัดสินใจว่าทำไมไม่ไปรับใช้สังคมในวิถีทางที่แปลกออกไปบ้างล่ะ เขาจึงตัดสินใจไปสมัครเป็นคนส่งอาหาร โดยในช่วงแรกต้องไปใช้รถสกู๊ตเตอร์แบบขายันใช้แล้ว (Second-hand kick scooter) มาใช้เป็นพาหนะในการส่งอาหาร เขาบอกว่าไม่มีแม้กระทั่งเงินที่จะซื้อจักรยานมาใช้ เขาเล่าว่าในช่วงแรกๆ อาจมีผู้คนพากันพูดว่า “โอ้ว……คุณกำลังทำอย่างนี้อยู่รึ?” ผมก็จะบอกว่า “ใช่ มีอะไรผิดปกติหรือ?” ผู้คนจะพูดกันว่า “เราคิดว่าคุณเป็นวาทยกรเสียอีก” ผมก็จะบอกว่า “ทำไมวาทยกรจะทำสิ่งนี้ไม่ได้ล่ะ” ชิยา อามอส เริ่มทำงานเป็นคนส่งอาหารมาตั้งแต่ช่วงปีใหม่เดือนมกราคม (ช่างเป็นการต้อนรับชีวิตในช่วงปีใหม่ที่ท้าทายอะไรเช่นนี้) เขาเล่าถึงความลำบากในช่วงแรกๆ ว่า เขาต้องใช้ขายันรถสกู๊ตเตอร์วันละ 12 ชั่วโมง จนข้อเท้าพลิก บาดเจ็บ และโดยธรรมชาติเขาเกิดมาเป็นคนผิวขาว, ผิวบางอีกทั้งไปใช้ชีวิตอยู่ในรัสเซียเป็นระยะเวลายาวนาน ที่รัสเซียไม่ค่อยมีแสงแดด เมื่อครั้นต้องมาทำงานส่งอาหารในสิงคโปร์ที่ต้องเดินทางผ่านแสงแดดจัด จนผิวเริ่มไหม้เกรียมต้องหาครีมโลชั่นกันแดดมาช่วยบรรเทาอาการแสบผิว การที่ต้องไถรถด้วยเท้าพร้อมแบกกระเป๋าใส่อาหารหนักอึ้งบนหลัง ปีนขึ้นสะพานลอยเพื่อหลีกเลี่ยงเส้นทางถนนใหญ่ เป็นเรื่องที่ลำบากอยู่ไม่น้อย (อาจมีเรื่องดีขึ้นมาบ้าง เพราะมีบทความในต่างประเทศเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคมที่ผ่านมา ชิยา อามอส เก็บเงินซื้อจักรยานมาใช้ขี่ส่งอาหารได้แล้ว)

‘ชิยา อามอส’ : จากวาทยกรสู่คนส่งอาหาร,บทเรียนชีวิตแห่งการละวางของคนหนุ่ม

คนเราเมื่อชีวิตทุกข์ยากลำบาก สิ่งหนึ่งที่จะช่วยประคับประคองชีวิตเราได้ก็คือ ความคิดเชิงบวก หรือการมองโลกในแง่ดี ผู้เขียนเองเชื่อเหลือเกินว่านี่เป็นกุศลที่ตัวเขาได้รับภูมิคุ้มกันชีวิตนี้มาจากการทำงานกับศิลปะอันดีเลิศของมนุษยชาติ ผู้คนที่ใช้ชีวิตกับศิลปะขั้นนี้มักต้องฝึกมุมมองในการตีความเข้าใจชีวิตจากมายาในงานศิลปะอยู่เสมอๆ การฝึกมุมมอง, การตีความชีวิตในงานศิลปะย่อมมีส่วนช่วยส่องทางให้บุคคลผู้นั้นมีมุมมองและเข้าใจชีวิตจริงๆ ได้ดีขึ้น ชิยา อามอส ก็เช่นกัน เขากล่าวเปรียบเทียบถึงงานการเป็นวาทยกรและการเป็นคนส่งอาหารของเขาว่า “……… เรานำอาหารไปส่งให้ผู้คน นั่นคือเราได้นำปัจจัยยังชีพไปส่งให้ผู้คน และในฐานะวาทยกรเราได้ทำงานกับออเคสตราต่างๆ นั่นคือหน้าที่ในอันที่จะนำปัจจัยยังชีพไปสู่จิตวิญญาณและความคิดของผู้คนเช่นกัน………” ในเวลาที่เขาขี่จักรยานส่งอาหารเขายังคงใส่หูฟังเพลงซิมโฟนีและอุปรากรที่เขารักไปด้วย ในช่วงเวลาหยุดพักเขายังคงศึกษาสกอร์ดนตรี (Score) อย่างไม่หยุดพัก มาถึงขั้นนี้แล้วดนตรีจะสถิตมั่นอยู่กับบุคคลนั้นเสมอไม่ว่าจะในสถานการณ์ใด (ดาเนียล บาเรนบอย์ม วาทยกรและศิลปินเดี่ยวเปียโนระดับโลกจึงมักกล่าวเสมอๆ ว่า ดนตรีไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องของ “อาชีพ” หากแต่เราต้องทำให้ดนตรีเป็น “วิถีชีวิต” ของพวกเรา) ชิยา อามอส ได้รับภูมิชีวิตสะสม มาจากดนตรีและอุปรากรที่เขาสัมผัสซึมซับมาตลอดระยะเวลาหลายปี ในยามนี้พลังแห่งศิลปะในการมองโลกในแง่บวกส่งอานิสงส์ ให้เขายังคงมีพลังและเต็มไปด้วยความหวัง เขาหวังว่า โลกนี้จะต้องดีขึ้น, สถานที่แสดงดนตรีและศิลปะ, โรงอุปรากร, โรงคอนเสิร์ตจะกลับมาเปิดได้เป็นปกติหลังจากผู้คนจะได้รับวัคซีนทั่วโลก (ผู้เขียนเองอึดอัดมากกับคำว่า “ชีวิตวิถีใหม่” New Normal ในช่วงการแพร่ระบาด เพราะมันไม่ใช่ New Normal หากแต่มันคือชีวิตที่ “Abnormal” ต่างหาก ซึ่งมนุษย์ที่ชาญฉลาดจะต้องพยายามแก้ไขและนำพาโลกนี้กลับสู่ชีวิตมนุษย์ในสภาพปกติให้ได้โดยเร็วที่สุดมิใช่ยอมรับความผิดปกติในชีวิตว่าเป็น “วิถีใหม่” และพูดติดปากตามๆ กัน) ชิยา อามอส กล่าวว่าเขายังคงมีความหวังที่จะกลับไปยืนอำนวยเพลงอีกครั้ง

‘ชิยา อามอส’ : จากวาทยกรสู่คนส่งอาหาร,บทเรียนชีวิตแห่งการละวางของคนหนุ่ม

เขาบอกว่ามาถึง ณ ตอนนี้เขารู้สึกสงบนิ่งขึ้นเป็นอย่างมาก แม้วิกฤตจะผ่านมาเป็นระยะเวลาแค่ปีกว่าๆ หากแต่เขากลับรู้สึกเติบโตขึ้นอย่างมากมายราวกับเวลาผ่านไปนานหลายปี เขากล่าวว่าเขากำลังมองเห็นมันในฐานะประสบการณ์แห่งการเดินทางเพื่อเรียนรู้ตนเอง, การเดินทางค้นพบด้วยตนเอง พบปะผู้คนมากขึ้นรู้สึกเข้าใจ, สัมผัสความรู้สึกและรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับผู้คนได้มากขึ้น เขากล่าวว่านั่นคือทักษะสำคัญมากที่พวกเราพึงมี และเป็นอะไรบางอย่างที่สอนกันไม่ได้ (ใช่แล้วมันเป็นเรื่องสอนกันไม่ได้ หากแต่เราจะเรียนรู้สัมผัสและเติบโตแข็งแกร่งได้ทางจิตวิญญาณได้เยี่ยงนี้ ก็ในยามช่วงลำบากหรือช่วงวิกฤตในชีวิตนั่นเอง) ชิยา อามอส ยังมีโชคดีทางดนตรีเหลืออยู่บ้าง เพราะในเทศกาลดนตรีฤดูใบไม้ผลิที่กรุงโตเกียวในเดือนเมษายน ที่จะถึงนี้เขามีกำหนดการได้ขึ้นอำนวยเพลงในเทศกาลนี้ด้วย (คงจะเป็นสัญญาตกค้างข้ามปีที่มีอยู่เดิม) และความงดงามในมุมมองแห่งอุดมคติทางศิลปะที่ไม่เกินจริงจนเกินไปก็คือ เขาบอกว่าประสบการณ์นี้ได้ช่วยเสริมสร้างมุมมองและวุฒิภาวะให้กับเขาเป็นอย่างมาก “….ผมอำนวยเพลงอุปรากรของแวร์ดิ (Giuseppe Verdi) มาหลายเรื่อง มีสิ่งที่เป็นโศกนาฏกรรมมากมายอยู่ในอุปรากรเหล่านั้น ซึ่งผมคิดว่าประสบการณ์ชีวิตในครั้งนี้ที่สร้างความยากลำบากในชีวิต จะช่วยให้ผมสามารถแสดงออกและถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ได้ดีขึ้น ผมรู้สึกว่าผมได้เติบโตขึ้นมาหลายๆ ขวบปี ทั้งๆ ที่แท้จริงแล้วมันเป็นเวลาเพียงแค่ปีเดียว……”

ผู้เขียนคิดว่ามันมิได้เป็นการกล่าวเกินเลยความจริงแต่อย่างใด การยืนอำนวยเพลงเป็นงานแห่งการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกและความคิดจากดุริยกวี ผ่านไปสู่นักดนตรีเพื่อถ่ายทอดผ่านไปสู่ผู้คน (ผู้ชม) ปรากฏการณ์นี้เป็นสิ่งปกติธรรมดาๆ ในวิถีทางดนตรีอยู่เป็นปกติ ซึ่งมันก็คือการถ่ายทอดความรู้สึกผ่านกระแสจิตผ่านกระบวนการอย่างเป็นระบบชนิดหนึ่งนั่นเอง เราจึงไม่ต้องแปลกใจที่เรามักจะพบคำกล่าวในเชิงปรัชญาคมๆ ออกมาจากปากศิลปินระดับนี้กันได้เสมอๆ เรื่องราว 1 ปี ในวิกฤตชีวิตของวาทยกรหนุ่มผู้หนึ่ง มันคงเป็นเพียงฉากตอนหนึ่งในละครชีวิตจริง หากแต่ก็มีประเด็นอันงดงามมากมายที่เราน่าจะเรียนรู้และสัมผัสได้โดยไม่จำเป็นต้องไปประสบกับความเจ็บปวดนั้นด้วยตนเอง เรื่องนี้ทำให้ผู้เขียนคิดไปถึงบทเพลงระดับกวีนิพนธ์บทหนึ่งนั่นคือเพลงจากละคร ผลงานของพลตรี หลวงวิจิตรวาทการ ที่ชื่อว่าเพลง “โชคมนุษย์” จึงขอนำเนื้อเพลงนี้มาปิดท้ายไว้ในบทความครั้งนี้ ซึ่งผู้เขียนแอบทึกทักเอาเองว่า นี่ถ้าเอาบทเพลงนี้ไปแปล และขับร้องให้ชิยา อามอส ได้ฟังในตอนนี้เขาน่าจะชื่นชอบและประทับใจจนอาจจะน้ำตาคลอก็เป็นได้ เนื้อเพลงของหลวงวิจิตรท่านว่าไว้ดังนี้

“โลกมนุษย์ นี้ไม่มี ที่แน่นอน                   ประเดี๋ยวเย็น ประเดี๋ยวร้อน ช่างแปรผัน

โชคหมุนเวียน เปลี่ยนไป ได้ทุกวัน          สารพัน หาอะไร ไม่ยั่งยืน

ชีวิตเหมือน เรือน้อย ล่องลอยอยู่            ต้องต่อสู้ แรงลม ประสมคลื่น

ต้องทนทาน หวานสู้อม ขมสู้กลืน           ต้องจำฝืน สู้ภัย ไปทุกวัน

เป็นการง่าย ยิ้มได้ ไม่ต้องฝืน                เมื่อชีพชื่น เหมือนบรรเลง เพลงสวรรค์

แต่คนที่ ควรชม นิยมกัน                      ต้องใจมั่น ยิ้มได้ เมื่อภัยมา”

บวรพงศ์ ศุภโสภณ

The post อาศรมมิวสิก : ‘ชิยา อามอส’ : จากวาทยกรสู่คนส่งอาหาร,บทเรียนชีวิตแห่งการละวางของคนหนุ่ม appeared first on มติชนออนไลน์.


แท็งก์ความคิด : ลายแทงอีสาน

$
0
0

“ทีซีดีซี” ตั้งขึ้นตามยุทธศาสตร์ฟื้นฟูเศรษฐกิจประเทศ

มีเป้าหมายคือกระตุ้นให้คนไทยเกิดความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ

สามารถสร้างมูลค่าสินค้าและบริการ ทำให้คนไทยมีรายได้เพิ่ม

วันก่อนเดินทางไปจังหวัดขอนแก่น พบว่าที่นั่นก็มี ทีซีดีซี

ทีซีดีซีขอนแก่น ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น อาคารที่ตั้งมีดีไซน์สวยงาม

วันนั้น มีโอกาสโฉบไปดูนิทรรศการเรื่องพลาสติกนิดหน่อย เพราะมีเวลาน้อย

ก่อนกลับแวะดูเอกสารที่ทีซีดีซีทำไว้เผยแพร่

เอกสารชิ้นหนึ่งชื่อว่า “แผนที่วัตถุดิบในภาคอีสาน” น่าสนใจ

เป็นเอกสารที่ทีซีดีซีให้ชื่อว่า “ลายแทงวัตถุดิบอีสานที่พร้อมเสิร์ฟตามฤดูกาล”

เป็นข้อมูล วัตถุดิบที่มีในภาคอีสานที่สามารถใช้ประกอบอาหารอีสานได้

เอกสารชิ้นนี้ ทีซีดีซีร่วมกับร้านซาหมวยแอนด์ซันส์ จ.อุดรธานี จัดทำขึ้น

จัดทำเป็น “ลายแทง” วัตถุดิบอาหาร พร้อมมีคำอธิบายว่าวัตถุดิบไหนหาได้ในฤดูกาลใด

เริ่มจากฤดูร้อน เอกสาระบุว่า ช่วงฤดูร้อน บริโภคผักผลไม้ที่มีฤทธิ์เย็น ช่วยคลายร้อน

พืชผักผลไม้ มีอาทิ ย่านาง ดอกติ้ว ผักติ้ว หมากผีผ่วน ตำลึง ฟ้าทะลายโจร ผักหวานป่า ใบบัวบก ใบมะยม กระโดนย่านาง กระโดน ใบหมาน้อย ต้นและดอกอ่อมแซ่บ

ผักเสี้ยน ดอกแค ผักกูด ผักหนาม ผักกาดฮีน ผักลิ้นปี มะม่วงเปรี้ยว หมากบก มะขามป้อม ตะขบ กระถิน

อาหารที่ให้โปรตีนในฤดูกาลนี้ก็มี ไข่มดแดง มดแดง จักจั่น รวมไปถึงหอยจำพวกต่างๆ

พร้อมกันนั้นยังระบุสถานที่ซื้อหาวัตถุดิบ

อาทิ เครือข่ายเกษตรกรคนรุ่นใหม่ภาคอีสานตอนบน ขอนแก่น สวนผักคนเมืองขอนแก่น อีสานอารมณ์ดี อุบลราชธานี เครือข่ายเกษตรยั่งยืน มหาสารคาม ตลาดปันสุข สุรินทร์

หรือจะซื้อไข่ไก่จากกลุ่มเกษตรอินทรีย์ บึงปากเขื่อน จ.ขอนแก่น ก็มีขาย

จากฤดูร้อนเข้าสู่ฤดูฝน ประมาณตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงเพาะปลูกข้าว

ตลอดหน้าฝนพืชผักต่างๆ เติบโต ทั้ง ผักกูด ผักกาดหญ้า ผักแว่น ผักโขม ผักบัวสด ข่าอ่อน ดอกขจร ดอกหลอด ผักหนาม ผักบะแบง กระชายอ่อน ดอกข่าว ผักสะแงะ ดอกกระเจียว ใบส้มโมง หน่อไม้

รวมถึงเห็ดต่างๆ เช่น เห็ดไค เห็ดหล่ม เห็ดป่า เห็ดตาโล่ เห็ดโคน เห็ดตับเต่า เห็ดเผาะ เห็ดก่อ เห็ดระโงก เห็ดหล้าแหล่ เห็ดผึ้ง

ฤดูกาลนี้คนอีสานมักจะถนอมอาหารเก็บไว้กินตลอดปีด้วยการทำปลาร้า

มีโปรตีนหลากหลายชนิดที่หาได้จากท้องถิ่น เช่น ปลาขาว ปลาซิว ปลายสร้อย ปลาตะเพียน ปลาช่อน รวมไปถึงปลาน้ำโขง

แหล่งซื้อหาวัตถุดิบ เช่น ตลาดนัดเป็งจาน จ.บึงกาฬ ตลาดโพธิ์ชัย จ.หนองคาย ตลาดเช้าเทศบาล 2 จ.อุดรธานี ตลาดป่าบ้านห้วยเดื่อ จ.หนองบัวลำภู ตลาดปลาสด แม่น้ำศรีสงคราม จ.นครพนม ตลาดปลา อุบลราชธานี ตลาดสีเขียว จ.ขอนแก่น เป็นต้น

พอเข้าสู่ฤดูหนาวก็ถึงช่วงเวลาเก็บเกี่ยวข้าว พืชจำพวกเหง้าหรือรากก็เติบโต นำไปเป็นอาหารได้

เช่น ขมิ้น เผือก มัน ฟักทอง ผักขะแยง ฟักข้าว ตะลิงปลิง เพกา ขี้เหล็ก ผักขี้หูด มะรุม ผักชีลาว จักด่านหรือสะด้าน มะเดื่อ ผักปลัง ผักเฮือด สะเดา ผักไผ่ และผักฮ้วนหมู

นอกจากนี้ อีสานยังมีฟาร์มปศุสัตว์หลายแห่ง

เช่น ฟาร์มวากิวศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย มีเนื้อวากิวให้ลิ้มลอง สหกรณ์โคขุนโพนยางคำ จ.สกลนคร ที่นี่ก็ดัง

ปศุสัตว์เป็ด ไก่ ไข่ จากหมู่บ้านพ่อสวาท จ.ขอนแก่น พร้อมให้บริการ

ด้านข้าวเจ้าข้าวเหนียวในภาคอีสานก็มีให้เลือก

อาทิ ยโสธรมีข้าวอินทรีย์พื้นเมือง ที่มหาสารคามมีข้าวพื้นเมืองหอมใบเตย

จังหวัดสกลนคร มีข้าวหอมดอกฮัง และข้าวเหนียวลืมผัวที่ จ.สุรินทร์ เป็นต้น

หน้าหนาวอากาศเย็น อีสานมีสาโทเอาไว้ดื่มสร้างความอุ่น

เอกสารชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่า แต่ละภูมิภาคมีวัตถุดิบที่มีเอกลักษณ์

แต่ละภูมิภาคมีวิธีการปรุงอาหารเป็นของตัวเอง

แต่ละฤดูกาลมีวัตถุดิบและวิธีการปรุงอาหารที่หลากหลาย

นี่แค่ภาคอีสานเท่านั้น ขณะที่ประเทศไทยยังมีภาคเหนือ กลาง ตะวันออก ตะวันตก และภาคใต้

และที่กล่าวมามีแค่วัตถุดิบด้านอาหารเท่านั้น

แต่ละภาคของไทยยังมีวัตถุดิบด้านอื่นๆ อีก

วัตถุดิบเหล่านี้ เมื่อบวกกับไอเดียสร้างสรรค์ ผลักดันให้ชุมชน หมู่บ้าน ผลิตสินค้าและบริการอย่างมีเป้าหมาย

หาวิธีการสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้น รายได้ของชาวบ้านก็จะได้มากขึ้น

แผนที่วัตถุดิบเช่นนี้ น่าจะขยายผล และเผยแพร่

อย่างน้อยผู้บริโภคที่รู้จะได้สั่งซื้อหา ยิ่งปัจจุบันการสื่อสารผ่านทางออนไลน์มีประสิทธิภาพ

คนทั้งในและนอกภูมิภาคได้รับทราบและอุดหนุน

บางคนนำไปอุปโภคบริโภค บางคนนำไปต่อยอดทางธุรกิจ

ไทยอุดหนุนไทย สร้างรายได้กันเองภายในชาติ

นอกจากจะทำให้ชุมชนเข้มแข็ง ท้องถิ่นพึ่งพาตนเองได้แล้ว

ยังทำให้เงินสะพัดในประเทศ ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยได้อีกด้วย

นฤตย์ เสกธีระ

The post แท็งก์ความคิด : ลายแทงอีสาน appeared first on มติชนออนไลน์.

นพ.กิตติ โล่สุวรรณรักษ์ ถอดรหัส โมเดลกัญชา “บ้านละ 6 ต้น”ฝันที่เป็นจริง

$
0
0

จากศักราช 2562 ที่งาน “พันธุ์บุรีรัมย์” มหกรรมกัญชา จัดขึ้นเป็นครงแรก สร้างเสียงขานรับจากประชาชน เข้ามาขอจดแจ้งปลูก และครอบครองกัญชาภายในงานอย่างล้นหลาม

สู่ศักราช 2564 ณ สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต จังหวัดบุรีรัมย์ ในวันที่ 5-7 มีนาคมที่พ้นผ่าน สถานจัดงานมหกรรม “กัญชากัญชง 360 องศา เพื่อประชาชน”

วันประกาศความสำเร็จนโยบาย “กัญชา 6 ต้น” โดย อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ภายหลังองค์การอาหารและยา (อย.) มีมติเห็นชอบ (ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้ใช้ส่วนของกัญชาและกัญชง ในผลิตภัณฑ์อาหารได้

จากผลผลิตด้านยา สู่การต่อยอด ขยับขยายให้ชุมชน ได้มีโอกาสก่อเกิดโครงการ กัญชา 6 ต้น ที่โนนมาลัย เป็นวิสาหกิจชุมชนโมเดลแรก ภายใต้แนวคิด “ใช้กัญชาในครัวเรือนเพิ่มมูลค่าในผลิตภัณฑ์”

ให้ชาวบ้าน ต.หินเหล็กไฟ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์ รวมตัว 7-10 หลังคาเรือน ปลูกบ้านละ 6 ต้น นำผลผลิตส่วนช่อดอกส่งแก่ รพ.คูเมือง อันเป็นแหล่งแปรรูป ผลิตยา ของภาครัฐ ภายใต้การรับรองมาตรฐาน GMP ส่งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เพื่อจ่ายให้ผู้ป่วยในปลายทาง

ส่วนที่เหลืออย่าง กิ่ง ก้าน ใบ ลำต้น ราก ก็ให้นำไปต่อยอดเพิ่มรายได้แก่ครัวเรือน คลอดมาเป็นเมนู น้ำพริกซู่ซ่า จิ้งหรีดลนลา น้ำอ้อยหรรษา คุกกี้ม่วนกรุ๊บ เตรียมความพร้อมขออนุญาต อย.เพื่อผลิตต่อไป

“ในโมเดลนี้เราซ่อนอะไรไว้หลายอย่างอยากให้คนที่มาดูงานเข้าใจ model 6 ต้น ซึ่งไม่ได้ยากแต่ต้องรู้ว่าจะมีปัญหาอะไรบ้างที่อาจจะเกิด เราพยายามนำทุกส่วนมาใส่ไว้ในโมเดลหลักนี้”

คือเสียงของหนึ่งในต้นเรื่อง ด้านการผลิตเป็นยา อย่าง นพ.กิตติ โล่สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันกัญชาทางการแพทย์ และผู้อำนวยการ รพ.พยาบาลคูเมือง ก่อนค่อยๆ คลายอีกหลายแง่มุมที่ซ่อนไว้ภายใต้โมเดลนี้ออกมาทีละน้อย

บนเวทีสัมมนาวิชาการห้องใหญ่ในช่วงบ่าย ภายใต้หัวข้อ “บ้านละ 6 ต้น ฝันที่เป็นจริง” ท่ามกลางประชาชน เกษตรกร และหน่วยงานราชการ ร่วมฟังการบรรยายอย่างคับคั่ง

“คุณหมอกิตติ” เริ่มเล่าจาก บทบาทของ รพ.คูเมือง ในการผลิตยา อาทิ น้ำมันกัญชาหยดใต้ลิ้น สูตร CBD, ยาทาริดสีดวงทวารหนักและโรคผิวหนัง, ยาศุขไสยาศน์ และยาทำลายพระสุเมรุ ชนิดแคปซูล ไปพร้อมๆ กับการสนับสนุนยาจากกัญชาให้โรงพยาบาลทั่วประเทศ เพื่อใช้กับผู้ป่วยในคลินิกกัญชา ภายใต้ความร่วมมือกับ กรมการแพทย์แผนไทย, อย. และสถาบันทางการแพทย์

ใต้หมวก “ผอ.สถาบันกัญชาฯ” เป็นคณะทำงานขับร่วมกับกระทรวง ทบวง กรม ให้ไปในทิศทางเดียวกันไปจนถึงการคุยกับประชาชน ให้มีความเข้าใจที่ชัดเจน และใช้ประโยชน์จากกัญชาได้อย่างถูกต้อง

“บทบาทภารกิจ คือการเป็นศูนย์กลางนโยบายความร่วมมือหลัก ทำหน้าที่เชื่อมประสาน ระหว่างรัฐและเอกชน เช่น นิติบุคคล กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงศึกษาธิการ และกำลังจะไปร่วมมือกับกระทรวงอุตสาหกรรม เพราะเราขับคนเดียวไม่ได้ ต้องร่วมมือกันขับเคลื่อน”

นพ.กิตติบอกด้วยว่า ขณะนี้มี 2 เฟสหลัก ช่วงแรก คือการขับเคลื่อน “กัญชาด้านการแพทย์” พยายามเอากัญชาเข้าสู่ รพ.ภาครัฐให้มากที่สุด

“แต่เนื่องจากเป็นการขับเคลื่อนปีแรก หลายคนมองว่าชักช้า ผมบอกว่า ลองไปดูประวัติศาสตร์ของประเทศอื่น หลาย 10 ปีกว่าเขาจะขับเคลื่อนกัญชาได้ ของเราแค่ปีครึ่ง เข้าปีที่ 2 ตอนนี้สามารถเข้าถึงใบได้แล้วอนาคตก็จะเข้าถึงได้เรื่อยๆ เข้าใจอยู่ว่า จะมีบางกลุ่มที่มีความกังวลในเรื่องกัญชามาก มีทงกลุ่มต้าน และสนับสนุน เราจึงพยายามทำให้เดินไปในแนวทางที่เหมาะสม” คุณหมอกิตติประกาศบนเวที

บรรทัดนับจากนี้ คือคำตอบของข้อสงสัยในมุมประชาชน ที่ร่วมมหกรรมกัญชากัญชง ต่อโมเดล “กัญชา 6 ต้น” ที่พวกเขาวาดหวังว่าจะสร้างรายได้ ให้หลุดพ้นกับดักความยากจน อันเป็นส่วนหนึ่งของการฟื้นฟูเศรษฐกิจชาติ

เท่าที่ทราบ คือกัญชา กัญชง เป็นคนละสายพันธุ์ ดูกันที่ใบหรือไม่?

กัญชากัญชง กำหนดที่สารสำคัญเป็นหลัก ต่างประเทศไม่ได้แยก แยกที่ THC ทงใบ รากต้น เฉลี่ยแล้ว มีสารสำคัญเท่าไหร่ ถ้าน้อยกว่า 1%คือ กัญชง มากกว่า 1%คือ กัญชา ถ้าใบรับรองว่า มีสาร THC มากกว่า 1%จะนำเข้าไม่ได้ แต่ถ้าเขียนว่า 0.6-0.8%สามารถนำเข้าได้ ต่างกันที่สาร

ถ้าเป็นส่วนของสารสกัด จะต้องมีค่า THC น้อยกว่า 0.2%ส่วนที่มี THC จะเอาไปให้หน่วยงานรัฐ ถอดสารออก ให้เหลือแต่ CBD ไปด้านสู่เครื่องสำอาง อาหาร สมุนไพรแทน เช่น หากใครต้องการทำกัญชงใส่น้ำดื่ม สามารถทำได้ แต่ถ้ามี THC เกินกว่า 1%เป็นกัญชาก็เอามาทำไม่ได้

โมเดลกัญชา 6 ต้น เป็นอย่างไร?

เริ่มจาก “รพ.สต.” กับ “กรมการแพทย์แผนไทย” มีความต้องการใช้สูตรยาน้ำมันเดชา และยาทาริดสีดวงทวาร ก็ไปบอก “วิสาหกิจชุมชน” ว่าปลูกให้หน่อย ส่งช่อดอกมาให้ รพ.สต.ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งส่งไป รพ.ภาครัฐ ทำน้ำมันเดชา หรือเอาใบบางส่วนมาให้ รพ.สต.ผลิตยา ริดสีดวงทวารที่ใช้ใบ

ส่วนระหว่างที่ปลูก ใบ ราก ลำต้น ซึ่งปลดล็อกแล้ว ก็สามารถนำไปทำผลิตภัณท์ของท่านได้

แต่ท่านต้องเข้าใจว่า ภาครัฐไม่มีสิทธิผลิตยาแข่งกับเอกชน แต่ดันส่งช่อดอกให้หน่วยงานรัฐดูแลกำกับ เราเห็นปัญหาตรงนี้ ใน พ.ร.บ.ฉบับที่ 7 จึงต้องค่อยๆ ปลดไปทีละระดับ ว่ามีความกังวลเรื่องอะไรบ้าง แล้วค่อยๆ เดินกันไป อย่างงานนี้เราก็พยายามดึงข้อมูลคนไข้ที่กรมสุขภาพจิตทำข้อมูลผู้ที่ใช้ยากัญชาว่ามีปัญหาทางจิตเวชกี่คน กินแล้วเป็นมากขึ้น หรือน้อยลง เพราะแพทย์ต้องใช้ข้อมูลในการขับเคลื่อน สำหรับข้อกังวลทุกวันนี้ ข้อมูลจากทุกแห่งตรงกัน คือมีเพียง 3 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ป่วยที่มีผลข้างเคียงเท่านน หากใช้ภายใต้การกำกับของแพทย์

ทำไมต้องเป็น 6 ต้น?

เป็นเรื่องของโมเดล แต่มีตัวแปรหนึ่งที่สำคัญมาก คือกระบวนการที่ทำให้ต้นทุนถูก หากโรงเรือนราคาเป็นล้าน ชาวบ้านจะเข้าถึงได้อย่างไร จึงต้องออกแบบโมเดลด้วยการเอาชาวบ้านเป็นหลัก แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย

ความจริงอาจจะปลูก 10 ต้นก็ได้ 6 ต้นเป็นเพียงสัญลักษณ์ เป็นเพียงโมเดลรองรับงานวิจัยที่ รพ.คูเมือง ทำกับวิสาหกิจชุมชน “เพลา เพลิน” ซึ่งโรงเรือนต้องทำอย่างแน่นหนา เหมือนเอากัญชาขังคุก มีกล้องวงจรปิด 16 ตัว เก็บข้อมูลตลอดเวลา 1 ปี ตลอด 24 ชม. ถึงขนต้องใช้ฮาร์ดดิสก์ถึง 30-40 ลูก

ที่กำหนด 6 ต้นเพราะความเสียหายจะน้อย จะทำโรงเรือนหรือรวลวดหนามก็แล้วแต่ท่าน ผ่อนปรนลงบ้างเพื่อให้ประชาชนที่มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงได้ แต่ถ้าท่านจะปลูกในระดับใหญ่ขึ้น ความเสียหายที่อาจหลุดลอดไปสู่สังคมอาจจะมาก จึงต้องมีรวลวดหนาม มีกล้องวงจรปิด และระบบป้องกัน ปลูกมากกว่า 6 ต้นก็ได้ในพื้นที่ 50 ตารางเมตร แต่ต้องบริหารจัดการให้ดี

คอนเซ็ปต์ของ “โมเดล 6 ต้น ที่โนนมาลัย” เป็นอย่างไรบ้าง?

วิสาหกิจชุมชนจะปลูกทงหมด แต่ส่งช่อดอกให้ รพ.คูเมือง และ รพ.สต. เพื่อใช้กับผู้ป่วย สำคัญคือ ท่านเอาใบ ราก ต้นมาใช้ประโยชน์ได้ ด้วยการกลับไปดูว่าธุรกิจเดิมท่านทำอะไรมาก่อน เช่นเลี้ยงตั๊กแตน ปลูกข้าว ทำเบเกอรี่ ร้านอาหาร ทำโรงแรม ลองคิดโจทย์ว่าจะเอาสิ่งนี้ไปเพิ่มมูลค่าได้อย่างไร เช่น น้ำพริกซู่ซ่า จิ้งหรีดลนลา น้ำอ้อยหรรษา ใส่ใบ เชื่อไหม ในงานมหกรรมครงนี้ เตรียมจิ้งหรีดมา 30 กิโล ขายหมด น้ำอ้อยไม่มีเหลือ ถ้าท่านมองธุรกิจแบบนี้ จะสร้างมูลค่าได้จากตรงนี้ ลองคิดในภาพรวม ถ้าใครไม่อยากเสี่ยงปลูก 6 ต้น เลี้ยงแมลงห้ำ ที่กินแมลงด้วยกัน เอาไปปล่อยที่ที่เกิดเพลี้ยไฟ ไรแดง ซึ่งคุมได้ยาก โดยเราก็ได้ดึงกรมวิชาการเกษตรเข้ามาช่วย เช่น จู่ๆ ใบเป็นสีเหลือง ขาดธาตุอะไร ถ้าเป็นแบบนี้ท่านจะไปถามใคร จะถามใต้ดินก็ไม่ได้ เวลาเพลี้ยไฟไรแดงลง เอาไม่อยู่ 300-400 ตัวไม่พอ ต้องหลักพันขึ้นไป สุดท้ายต้องเอาต้นไปทำลาย

สำหรับโมเดล 6 ต้น ที่โนนมาลัย 3 หมู่บ้าน 7 หลังคาเรือน แต่ละบ้านทำโมเดลรวไม้ไผ่ รวเหล็ก ลงทุน 1,000-2,000 บาท ลงทุน 6 ต้นก่อน เนื่องจากเป็นงานวิจัยระยะแรก จะมีการนำกระถางดิน 3 รูปแบบมาเปรียบเทียบกัน เช่น ดินที่ เพลา เพลิน ดินภูเขาไฟ และที่บ้านของเขาจะได้รู้ว่าดินไหนปลูกดี

ทงนี้ ดินบางแห่งมีปัญหา แม้จะไม่ได้ใช้ยา เพราะน้ำไหลมาจากหมู่บ้านอื่นที่มีสารปนเปื้อน ก็ใช้ผลิตยาให้คนไข้ไม่ได้ บางคนจึงขายที่ดิน ที่ไม่มีสารปนเปื้อน อยู่ที่ว่าท่านมองอนาคตธุรกิจอย่างไรบ้าง

ที่ออกแบบปลูกในครัวเรือนเป็น 6 ต้น เพื่อ 2 ประการ คือ 1.ปลูกใช้เอง ในส่วนใบ ราก ลำต้น เช่น ทำยาประคบซึ่งมีในตำรับยาโบราณ มีสารที่ลดการอักเสบ

ส่วนจิ้งหรีดทอดที่ใส่ในกัญชา และเอาใบมาใส่กับจิ้งหรีดด้วย ถามว่าจะมีสารเมา THC หรือไม่ “ไม่มี” มันหลุดไปกับน้ำมัน แต่ยังมีสารที่ลดอาการเจ็บปวด พวกใบทอด น้ำพริก จิ้งหรีด น้ำอ้อย คุกกี้ เป็น THCa แทบไม่มี THC มีน้อยมาก

ทำไมต้องเป็นวิสาหกิจชุมชน เป็นบุคคลธรรมดาไม่ได้หรือ?

กุศโลบายของวิสาหกิจชุมชน คือ อยากให้ชาวบ้านกำกับกัน เพราะมีบางส่วนอย่างช่อดอกที่ยังเป็นยาเสพติดอยู่ ถ้าอยากปลูกคนเดียวสามารถไปปลูกกัญชงได้

ตอนนี้พันธุ์ที่โรงพยาบาลคูเมืองใช้คือ ชาร์ลอตต์ แองเจิล ซึ่งเดิมเป็นกัญชา แต่ตอนนี้เป็นกัญชงแล้ว เพราะสาร (เมา) THC น้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ เอาไปเคลมว่าเป็นกัญชงปลดล็อกออกจากยาเสพติด ออกจากการควบคุมกำกับโดยภาครัฐ

แต่สายพันธุ์ไทยอาจจะยาก เนื่องจากช่อดอกมีสาร THC สูงก็จะยังเป็นกัญชาอยู่ร่ำไป หน่วยงานรัฐต้องกำกับเท่านน

อย่าลืมว่ากัญชาอย่างไรก็ต้องจบด้านการแพทย์ ระหว่างนนใบ ราก ลำต้นก็เป็นผลประโยชน์ของประชาชนให้ได้ใช้ประโยชน์

มีโมเดลอะไรที่กำลังนำเสนออยู่ตอนนี้?

โมเดลที่กำลังนำเสนออยู่ ทางกรมวิชาการเกษตรจะช่วยดู เป็นโมเดลกัญชา seed collection & distribution, bank

โดยภาครัฐ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย วิสาหกิจชุมชน จะมีเมล็ดครอบครองอยู่เป็นจำนวนมาก โดยกรมการแพทย์แผนไทย มีพันธุ์กัญชาจำนวนมากที่สุด จึงเข้ามาช่วยดูแลในช่วงแรก และส่งกระจายไปโรงพยาบาลต่างๆ นำมาปลูกเป็นต้นกล้า เพราะบางที่ไม่อยากได้เมล็ด ก็เอาต้นกล้าไปปลูก

บางทีเราเอาใจใครก็ถูกด่า เอาเมล็ดเข้ามา เอื้อนายทุน แต่จะเอาอะไรปลูก ซึ่งความจริงถ้าท่านไปทำเรื่องขอนำเข้าเมล็ดจากต่างประเทศได้ แต่จะมีค่าใบรับรอง (Phytosanitary Certificate) เป็นหมื่น ยิ่งเอาเยอะ ค่าเมล็ดจะถูกลง บางคนถึงเอาเมล็ดเข้ามาขาย

ตอนนี้กรมวิชาการเกษตรก็จะทำหน้าที่รับรองพันธุ์ให้ ขณะนี้มีการขึ้นทะเบียนพันธุ์รับรอง “อิสระ 01” แต่ยังไม่คุ้มครอง ยังพัฒนาอะไรไม่ได้ แค่ขึ้นทะเบียนรับรองไว้เป็นโมเดลก่อน

จ.บุรีรัมย์น่าจะพร้อมแล้ว ขณะนี้กำลังคุยกับวิสาหกิจชุมชน ในการเพาะให้ต้นกล้าไปปลูก แต่ปัญหาที่กังวลคือ การดูแลโดยชาวบ้านมากกว่า จึงได้ประสานกับ รมช.เกษตรฯ และท่านอธิบดี ว่าเราจะวางแผนตรงไหนก่อน เพื่อเตรียมพร้อมให้ทีมเกษตรลงไปช่วยชาวบ้านว่าจะต้องดูแลอย่างไร

เพราะเราเจอศัตรูตามธรรมชาติ จึงเอาน้ำสะเดามาเคลือบไว้ไม่ให้มาเกาะ แต่ปัญหาคือ เคลือบมากไปจนใบเปลี่ยนสีและตาย อาจจะเกิดจากการกระตุ้นสารบางอย่าง ขนาดผมยังไม่รู้เรื่องนี้ แล้วชาวบ้านที่ปลูกๆ อยู่ เจอปัญหาว่าจะทำอย่างไร ประชาชนกี่หลังคาเรือนที่จะปลูกใครจะมาช่วยเขาดู วันนี้เราจึงต้องเตรียมการประกันว่า ถ้าชาวบ้านจะปลูก ต้องปลอดภัย และอยู่รอดได้ ดินแบบไหน ใครจะดูแล เอาดินจากแหล่งที่ไม่มีสารปนเปื้อนโลหะหนัก ยาฆ่าแมลงมาให้ เพราะไม่เช่นนนก็จะวนกลับเข้าไปสู่วัฏจักรเดิมๆ ของไทย คือปลูกออร์แกนิกไม่ได้ เพราะสุดท้ายต้องส่งด้านการแพทย์ ตามที่ พ.ร.บ.กำหนดไว้ ต้องทำอย่างไร ไม่อย่างนนจะมีสารเคมีปนเปื้อน เพราะต้องส่งทำยา แต่หากบอกว่าเป็นโมเดลแบบต่างประเทศ ที่คนป่วยไปหาหมอ และเอาเมล็ดไปปลูกที่บ้าน 6 ต้น ปลูกแล้วใช้เอง คือ พ.ร.บ.ฉบับที่ 8 ที่ยังไม่คลอด

ถ้าอยากปลูกกัญชา 6 ต้น ต้องทำอย่างไร?

จะต้องเริ่มเข้าใจกลไกของกัญชาก่อน ความจริงผมเป็น ผอ.โรงพยาบาลคูเมือง มีการทำงานวิจัยกัญชาตงแต่เป็นสมัยพันลำ มีคนมาจดแจ้ง 5,000 กว่าคน เจอคนไข้เป็นมะเร็ง บางคนบอกว่าตายแน่ๆ แต่ยังอยู่รอดมาจนถึงปัจจุบัน มีแบบนี้เยอะ

งานก่อนหน้าก็ยังไม่มีการงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ยังไม่มียาให้ใช้ผู้ใหญ่จึงหันมาหา รพ.คูเมือง คุยกันว่าสามารถทำที่นี่ได้ ผมจึงรับภารกิจตงแต่เวลานน มีการออกผลิตภัณฑ์มากมายจับคู่กับวิสาหกิจชุมชน “เพลา เพลิน” มียา CBD ยาศุขไสยาศน์ ออกมา ขณะนี้กระจายไปทั่วประเทศไทยแล้ว

ผมอยากให้มอง ต้น กลาง และปลายน้ำ วันนี้ขออนุญาตไม่พูดถึงการแพทย์ แต่ขอพูดด้านเศรษฐกิจ ข้อแรก 1.ทุกคนอยากปลูกหมด ซึ่งคุณค่าของกัญชากัญชง มี 3 ส่วน ตลอดทงต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ เราอยากจะสร้างมูลค่าที่ตรงไหน

“ต้นน้ำ” ไปเล่นที่การดูสารสำคัญ ว่าเป็น THC หรือ CBD ถามว่าอยากปลูก 6 ต้น เอาเมล็ดจากไหน อีกไม่นานเราจะมีกลุ่มหนึ่งขายเมล็ด อีกกลุ่มขายต้นกล้า ท่านจะได้เห็นอาชีพเหล่านี้เกิดขึ้น เราเตรียมไว้หมดแล้ว

เตรียมหน่วยงานด้ายการเกษตร ที่จะมาพัฒนาต้นกล้า กับสายพันธุ์ให้ท่าน ซึ่งการเตรียมพร้อมนนสำคัญมาก

ถามว่า “กลางน้ำ” ใครสกัด บางคนใช้แอลกอฮอล์เอทานอลสกัดธรรมดา บางที่สกัดแบบร้อน หรือสกัดเย็น สุดท้ายคนที่สกัดได้มากสุด จะได้กำไรสูงสุด คนเริ่มเล่นเรื่องเหล่านี้แล้ว

บางเจ้าไม่แข่งตรงนน แต่ไปทำโอท็อปของฉันเอง จึงต้องมองตำแหน่งของสายธารให้เจอ คุณค่ามีตลอดทงสารธาร แต่สุดท้ายปลายน้ำสำคัญมาก เราจะหามูลค่าอย่างไร ตอนนี้ ใบ ราก ลำต้น ให้ท่านเล่นได้แล้ว ก่อนหน้านี้ราคา 5,000 บาท ตอนนี้ปั่นมาถึง 15,000 บาทแล้ว

แต่อย่าไปใส่ใจการปลูกมากนัก คุณค่าสุดท้าย อยู่ตรงที่ จิ้งหรีดทอด เดิมถุงละ 30 บาท ใส่ใบกัญชา 1 ใบ เพิ่มมา 60 บาท มูลค่าเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว หรือน้ำอ้อยหรรษา ใส่มะนาวไปนิด ใส่กัญชาให้มีกลิ่น แต่เทอร์พีน (กลิ่น) ไม่เหมือนกัน บางคนเป็นกลิ่นเลม่อน บางคนกลิ่นมะม่วง ซึ่งกลิ่นเทอร์พีนบางพันธุ์ บางคนก็เหม็น จึงคาดเดาได้เลยว่าการใส่ใบกัญชาในอาหาร ที่ตอนนี้ขายได้หมด แต่ต่อไปจะไม่ใช่ อยู่ที่ใครทำอร่อยที่สุด

ไปจนถึง “ภาคส่งออก” ล่าสุดบางบูธในมหกรรมนี้ มีการจัดอบรม มีธุรกิจโรงแรม สอนทำอาหาร และการปลูกแล้ว ดังนน อย่ามองแค่การปลูก มองให้ถึงตรงนี้ด้วยจะดีมาก เพราะการจะสร้างมูลค่าได้มากที่สุดอยู่ที่ปลายทาง เราอาจจะจับมือกัน ระหว่างต้น กลาง และปลายน้ำทำผลิตภัณฑ์ออกมา นี่คือสิ่งที่อยากให้เห็นภาพ คือการออกแบบ Ecosystem เพราะกัญชาไม่ได้มีคุณค่าแค่กัญชา

ผมอาจจะไปเลี้ยงแมลงนักล่า (predators) เลี้ยง ตัวห้ำ เพื่อจัดการ เพลี้ยไฟ ไรแดง ฉันทำกระถาง ฉันขายน้ำ ขายปุ๋ย ฉันขายดิน ไม่ต้องยุ่งกับการปลูกยาเสพติด ซึ่งตอนนี้มีคนทำแพคเกจ “สมาร์ทฟาร์ม” แล้ว ทำเป็นตู้ ซื้อไป คุณปลูกได้เลย

กัญชาไม่ได้ขับเคลื่อนด้านเดียว จะเห็นว่าอาชีพใหม่เกิดขึ้นหลายอย่าง ต่อไปนี้คนที่ปลูกเก่ง ฉันอาจไม่ต้องขายกัญชาแต่ขายคอร์สสอนการปลูกแทน

ส่วนคลื่นต่อไป คือเมื่อไหร่ที่ อย.กำหนดสเปกของอาหาร ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เครื่องสำอาง ว่าต้องมีสารสำคัญเท่าไหร่แล้ว ที่จะขายดี คือ “แล็บ” ตรวจสารสำคัญ

ผมถึงบอกว่า การขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้านนี้ ไม่ใช่เศรษฐกิจเฉพาะส่วนกัญชา แต่มีเศรษฐกิจ อีโคซิสเต็ม อยู่เต็มไปหมด อยู่ที่ว่าจะหาโอกาสได้หรือไม่ แม้กระทั่งร้านอาหาร ทำแฟรนไชส์เต็มไปหมด หรือวิสาหกิจชุมชนบางคน ทำหน้าที่เพาะเมล็ดและต้นกล้าขายให้ลูกค้า ได้รู้ชัวร์ๆ ว่าเป็นต้นเพศผู้-เมีย พันธุ์ไหน ทำได้หมด ส่งออกนอก ส่งไป รพ.ของรัฐที่ใช้ดอกกัญชาทำยาก็ได้

ส่วนช่วงใบที่ปลดล็อกมาแล้ว ภาคเอกชนก็สามารถรับใบไปผลิตได้ แต่ตอนนี้มีราคาสูง ถ้าคนปลูก 6 ต้นเต็มไปหมด ราคาจะเริ่มลดลง ช่วงนี้น่าจะผลิตยาก เพราะใบกิโลละหมื่น

อยากให้จำไว้ว่า ไม่ได้มีเฉพาะกัญชา แต่ยังมีสิ่งรอบๆ กัญชาที่สามารถสร้างมูลค่าได้ทั้งหมด เช่น ถ้า จ.บุรีรัมย์ทำ 6 ต้นทั้งหมด จะต้องเจอปัญหาแมลงและดินอย่างแน่นอน เราอาจจะขายกระถางแอร์พอต แถมดินปลอดสารเคมี ก็ว่ากันไป อย่าไปมองแค่ส่วนของกัญชา บางคนรอขายอย่างนี้ดีกว่า ได้กำไรกว่า ไม่ต้องเสี่ยงในการควบคุมกำกับด้วย


เวลานี้ หน่วยงานรัฐที่ขับเคลื่อนงานด้านกัญชา กำลังเดินหน้าอยู่ในขั้นตอนไหน?

เราทำไปหลายข้อแล้ว เราทำทุกวันประชุมตลอด แต่ภาคราชการต้องขับเคลื่อนด้วยกฎหมาย ตอนนี้กรมวิชาการเกษตรกำลังพัฒนาสายพันธุ์ให้เราอยู่แต่เขาบอกว่าใช้คำว่า “ธนาคารเมล็ดพันธุ์” (seed bank) ไม่ได้ ให้ใช้คำว่า “คนเก็บ” กับ “คนกระจายเมล็ด”

อีกโจทย์ใหญ่คือการกระจายยาสู่ รพ.ภาคเอกชน, เรื่องสิทธิประโยชน์ ตอนนี้ก็มีการบรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ส่วน “การส่งออก” คือโจทย์ต่อไป

เรื่องของการแบ่งเขต (Zoning) กัญชา กัญชง ผมได้คุยกับคณะกรรมการแล้วว่า ถ้าสมมุติเราจะปลูกกัญชา 6 ต้น แต่ข้างบ้านปลูกกัญชง ซึ่งจะข้ามสายพันธุ์กัน จึงต้องคอยดู อยากให้เข้ามาดูในเว็บไซต์ของ อย. ว่าพื้นที่ปลูกตรงไหนบ้างที่อยู่ใกล้เรา เพราะบางทีเกสรตัวผู้ลอยไกลเป็น 10 กิโลเมตร บางคนเอาต้นตัวเมียมาโชว์ในงาน มีคนเอาต้นกะเทยมาในงาน พอกลับไป ออกดอก มีเมล็ด ต้องเข้าใจว่าต้นตัวเมียเมื่อไหร่ติดเมล็ด สารสำคัญจะร่วงออกมา บางคนถึงขนท้อ ขอปลูกกัญชายากมาก ไปปลูกกัญชงก็แล้วกัน ไม่ต้องมีการกำกับโดยหน่วยงานรัฐ

นอกจากนี้ ภาครัฐกำลังทำการลดขนตอนขออนุญาตปลูก ซึ่งมีขนตอนชัดเจน เช่น ที่ดินชาวบ้านที่จะทำโรงเรือนปลูก มีปัญหา เรื่องการเช่าจำนองไม่ถูกต้อง ชื่อไม่ตรงกับเจ้าของ ผู้ว่าราชการจังหวัดก็จะไม่เซ็นให้ หากอยากปลูก เริ่มจากที่ดินก่อน แล้วคุยกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จากนนจับมือกันตงวิสาหกิจชุมชน

ส่วนกรมการแพทย์แผนไทย กำลังทำตำรับยาที่หลากหลาย ด้านงานวิจัย กำลังหาทุนให้กลุ่มแพทย์เฉพาะทางได้ทำการวิจัย ซึ่งตอนนี้ก็มีภาคเอกชนหลายแห่งนำหลักสูตรมาให้สถาบันกัญชาดูให้ เพื่อสอนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีการอบรมกลุ่มแพทย์ พยาบาล ให้มีความรู้ ซึ่งประชาชนสามารถค้นข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ของ “สถาบันกัญชาทางการแพทย์” จะมีคนคอยตอบ นอกจากนี้ ยังมีการทำระบบสารสนเทศ คลินิกบูรณาการด้วย

เข้าใจว่าทุกท่านอยากปลูก แต่กัญชายังมีข้อจำกัดอยู่ ถ้าเราจะรอ พ.ร.บ.ออก ก็อีกหลายปี แต่ ณ วันนี้เราสามารถทำได้ภายใต้ข้อจำกัดที่มี

ใบกัญชาที่ขายออนไลน์ ผิดกฎหมายหรือไม่?

หากท่านไปซื้อกับวิสาหกิจชุมชน หรือหน่วยงานรัฐที่จำหน่ายให้วิสาหกิจชุมชน เพื่อไปทำประโยชน์ จะมีใบรับรอง ที่ติดตามย้อนกลับเพื่อตรวจสอบได้

ท่านซื้อจากออนไลน์ก็ได้ แต่สมมุติว่าวันหนึ่งมีตำรวจเข้าไปดูร้านของท่าน ว่าเอากัญชามาจากไหน ถ้าทำถูกต้องก็ไม่ต้องกลัว เพราะจะสามารถเช็กกับวิสาหกิจชุมชนได้ ซึ่งจะมีใบอนุญาตถูกต้อง

แล้วต้องมีใบอนุญาตซื้อหรือไม่?

ผู้ซื้อไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาต แต่ผู้ขายต้องมี เช่น “วิสาหกิจชุมชน เพลา เพลิน” จะเอาไปทำครัว แพทย์ก็จะออกใบอนุญาตให้เอาลำต้น ราก ใบ ไปใช้ ส่วน อย.จะตามสเต็ปเดียว คือ ควบคุมการนำไปใช้ประโยชน์ อย.ต้องติดตามย้อนกลับได้ ว่าเอาไปให้ใคร อยากให้สบายใจก็ต้องทำหลักฐานขณะทำการซื้อ-ขาย

กัญชา ไม่ใช่ยาเสพติดแล้ว ถ้าเป็นใบ ลำต้น ราก แต่ว่าท่านต้องตอบแหล่งที่มาให้ได้

รพ.สต.ต้องมีแพทย์แผนไทยอยู่ใน รพ.สต.เท่านนหรือไม่?

ถ้าจับมือกับ รพ.สต.ได้ ส่งให้โรงพยาบาลที่มีแพทย์แผนไทยได้ทงหมด ขอแค่ให้เป็นหน่วยงานรัฐที่ดูแลด้านการแพทย์และเภสัชกร

ถ้าหากในจังหวัดไม่มี รพ.แพทย์แผนไทย หรือแพทย์ทางเลือก ก็ไม่สามารถทำธุรกิจได้ใช่หรือไม่?

ในโรงพยาบาล ถ้ามีแพทย์แผนปัจจุบันอยู่ ก็สามารถทำกัญชาได้เช่นกัน จึงต้องตอบโจทย์ว่าต้องการปลูกกัญชาไปทำอะไร เหตุที่กำหนดเป็น รพ.สต. เพราะต้องการให้เป็นโมเดลที่สเกลเล็กสุด ซึ่งความจริงไม่จำเป็นต้องไปขออนุญาตที่ รพ.สต. ที่โรงพยาบาลก็ได้ เนื่องจากกฎหมายตอนนี้อยู่ในช่วงที่เราต้องทำความเข้าใจ รพ.สต. บางคนไม่อยากจับมือ เพราะคนถือใบอนุญาตคือหน่วยงานรัฐ หากมีอะไรผิดพลาด วันดีคืนดีมีคนขโมยเอาไปขาย ก็ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ต้องไว้ใจกันต้องทำให้เขามั่นใจว่าจะไม่ใช้ในทางที่ผิด

แต่ถ้าท่านบอกว่า ไม่อยากยุ่ง ปลูกกัญชงทำได้เลย จะปลูกอย่างไรก็แล้วแต่ท่าน ไม่ต้องมีระบบอะไรมากมาย ซึ่งมูลค่ากัญชงเวลานี้ก็มหาศาลไม่แพ้กัน

The post นพ.กิตติ โล่สุวรรณรักษ์ ถอดรหัส โมเดลกัญชา “บ้านละ 6 ต้น” ฝันที่เป็นจริง appeared first on มติชนออนไลน์.

คอลัมน์ ตามรอยพ่อไปชิม : สุดยอดปลาทูทอดน้ำปลา ร้านเจ๊เก๊กฮวย แม่กลอง โดย ปิ่นโตเถาเล็ก

$
0
0

เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าถ้าอยากชิมอาหารทะเลสดๆ ต้องดั้นด้นไปถึงแหล่ง รับรองว่าได้กินของอร่อยสมใจ ยิ่งถ้าเป็นร้านเล็กๆ บ้านๆ ที่รับของทะเลมาจากชาวประมงพื้นบ้านหรือไปจ่ายตลาดสดวันต่อวันแล้วล่ะก็ ยิ่งมีโอกาสได้ลิ้มลองของดีๆ ในท้องถิ่นนั้นๆ เลย

ขอพามาที่แม่กลองหรือจังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งโด่งดังขึ้นชื่อเรื่องปลาทู มีร้านอาหารทะเลบ้านๆ ขายสุดยอดเมนูปลาทูต่างๆ ที่หน้ายังไม่งอคอไม่หัก เพราะเป็นปลาทูสดจากทะเล ขับรถไม่นานเพียงชั่วโมงกว่าๆ ก็ถึงแล้ว ร้านนี้มีชื่อว่าเจ๊เก๊กฮวย เปิดมานานถึง 48 ปี

ร้านเจ๊เก๊กฮวยนั้นหาไม่ยาก มาตามถนนพระรามที่ 2 (ทางหลวงสาย 35) ผ่านทางต่างระดับเข้าตัวเมืองสมุทรสงคราม (ไม่ต้องเลี้ยวขึ้นนะจ๊ะ) ตรงไปเรื่อยๆ พอเห็นป้ายกลับรถใต้สะพานให้ออกทางคู่ขนาน ที่จะไปดอนหอยหลอดและบางจะเกร็ง แล้วไปกลับรถใต้สะพานพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พอลอดใต้สะพานช่วงที่เลี้ยวยูเทิร์นกลับจะเห็นร้านเจ๊เก๊กฮวยอยู่ตรงหัวเลี้ยวพอดี เป็นร้านบ้านไม้เก่าๆ ชั้นเดียวมีป้ายชื่อสีแดงเห็นได้ชัดเจน

มาแล้วไม่ต้องถามหาเจ๊เก๊กฮวยเพราะจากเราไปนานแล้ว น้องยุ้ยลูกสาวเจ๊เก๊กฮวยบอกว่าตอนนี้มีน้องสาวแม่ หรืออาอี๊เนาวรัตน์ เป็นแม่ครัวและเจ้าของร้าน และมีเฮียกลม สามีอาอี๊ อดีตไต้ก๋งเรือทำหน้าที่จ่ายตลาดและอยู่หน้าเตาอีกคน นอกนั้นก็เป็นหลานๆ รวมทั้งน้องยุ้ย ทำกันแค่ 4-5 คน

ทุกๆ วันจะรับปลาจากเรือประมงพื้นบ้านเจ้าประจำ เอามาส่งให้ที่ร้านเลย เน้นปลาสดไม่แช่เย็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งพอพ้นหน้ามรสุมช่วงตุลาคมถึงกุมภาพันธ์นั้นได้ลิ้มลองปลาสดๆ แน่นอน

เมนูสร้างชื่อเสียงให้กับร้านเจ๊เก๊กฮวยคือปลาทูทอดน้ำปลา (ตัวละ 35 บาท แล้วแต่ขนาด) ซึ่งขนาดวันที่เราไปเยือนนั้น ไม่มีปลาทูสดแต่เป็นปลาทูแช่เย็น ก็ยังอร่อยถึงขนาดสวาปามปลาทูไปกันคนละเกิน 5 ตัวทีเดียว โดยทางร้านจะกะปริมาณปลาตามจำนวนคนกิน มาเยอะก็ทอดให้เยอะ แนะนำให้ตักมาใส่จานทั้งตัว จานใครจานมัน จะได้แกะก้างกินได้หมด เคล็ดลับความหอมอร่อยของน้ำปลาคือต้องผสมซีอิ๊วขาวลงไปด้วย

และมีน้ำจิ้มคู่กันที่เด็ดมาก รสเค็มเปรี้ยวหอมอร่อย ทำจากน้ำปลาพื้นเมืองแม่กลองตราหอยกระปุกเหมือนกับที่ใช้ราดปลาทูทอด ผสมกับซีอิ๊วขาว น้ำตาลปี๊บ พริกซอย หอมแดงซอย มะนาว โรยด้วยผักชี ขอยืมสำนวนของพ่อมาใช้ว่า หอมอร่อยขนาดเอาสเต๊กมาแลกก็ไม่ยอม

ปลาทูต้มมะนาว
ปลาทูตาเตี๊ยะ
น้ำปลาพื้นเมืองใส่หอมแดงอร่อยมาก

มาร้านเจ๊เก๊กฮวยต้องสั่งปลาทูอื่นๆ ด้วย อย่างเช่น ปลาทูต้มมะนาว (ตัวละ 35 บาท มี 6 ตัว 210 บาท) กะเวลาต้มปลาให้สุกกำลังดี ปรุงรสจัดถึงใจง่ายๆ ด้วยพริก มะนาว น้ำปลา ใส่ผักชี แต่จะไม่ใส่ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูดเหมือนต้มยำ แค่นี้ก็กินอร่อยสดชื่นตื่นไปทั้งวัน อีกทั้งมีปลาทูตาเตี๊ยะ (210 บาท) ตัวสีเงินแวววาว เนื้อมันๆ รสชาติเข้าเนื้อ เคี่ยวกับน้ำปลา น้ำตาลปี๊บ กระเทียม พริกสด และรากผักชี

มาแม่กลองถิ่นกะปิคลองโคนชั้นดีก็ต้องกินเมนูผัดกะปิ ซึ่งกะปิที่นี่สั่งจากเจ้าประจำสำหรับร้านนี้โดยเฉพาะ ห้ามพลาด หมึกผัดกะปิ (200 บาท) จานโตแบ่งกันกินได้ถึง 4 คน ใช้หมึกกล้วยสดๆ ผัดกะปิ พริก กระเทียม ใส่ถั่วฝักยาว หอมอร่อยอย่าบอกใคร อีกอย่างที่ควรสั่งมาคู่กันคือผักบุ้งผัดกะปิ (100 บาท) ใช้ผักบุ้งไทยก้านอวบๆ กรอบๆ

หมึกผัดกะปิ
ผักบุ้งผัดกะปิ

นอกจากนี้ ก็มีเนื้อปลากะพงผัดฉ่า (200 บาท) เนื้อปลากะพงสดๆ ติดหนัง ผัดใส่ขิง ขึ้นฉ่าย และต้นหอม รสชาตินุ่มนวลไม่เผ็ดร้อนมาก หรือจะสั่งเป็นเนื้อปลากะพงผัดขึ้นฉ่ายก็ได้ ถ้าใครชอบปลาดุกทะเลเนื้อมันๆ ต้องลิ้มลองปลาดุกทะเลผัดฉ่า (200 บาท) ซึ่งจะผัดคนละสูตรกับปลากะพงผัดฉ่า (ถึงแม้จะเรียกชื่อผัดฉ่าเหมือนกัน) ใส่เม็ดพริกไทย กระชาย กะเพรา พริก และใบมะกรูด อีกทั้งมีหอยหลอดผัดฉ่ากับหอยลายผัดพริกเผาด้วย

ปลากะพงผัดฉ่า

มีของหายากซึ่งไม่ได้มีประจำทุกวัน แต่ปิ่นโตเถาเล็กโทรล่วงหน้าสองวันก่อนไปที่ร้าน ขอร้องให้เฮียกลมช่วยหามาให้ เมนูนี้ก็คือ ปลาจวดทอดน้ำปลา (ตัวละ 40 บาท) ปลาจวดตัวยาวๆ เรียวๆ เนื้อแน่นๆ กินอร่อย แต่ไม่รู้ว่าหน้าปลาจวดเป็นอย่างไรเพราะเค้าตัดหัวปลาออกไปแล้ว ฮ่าๆๆ

ในยามปกติ (อย่างเช่นเมื่อช่วงก่อนปลายปีที่ผ่านมา) ควรรีบตามไปชิมกันตั้งแต่ตอนเช้า ซึ่งร้านจะเปิดตั้งแต่ 7 โมงเช้าทีเดียว และปิดเร็วมากแค่บ่าย 2 โมงครึ่งเท่านั้น พอสายๆ จะมีผู้คนทยอยมาอุดหนุนกันจนแน่นร้าน

แต่ในช่วงนี้ยังไปชิมที่ร้านได้สบาย เพราะลูกค้าประจำเปลี่ยนพฤติกรรม สั่งไปกินที่บ้านที่ทำงานกันแทน ซึ่งน้องยุ้ยยังบอกว่าตอนนี้พอมีเวลาส่งอาหารดิลิเวอรีอาทิตย์ละครั้งให้กับขาประจำในกรุงเทพฯอีกด้วย ใครสนใจลองโทรสอบถามน้องยุ้ยได้ที่เบอร์ 0-3471-1964 และ 08-7155-1694

ข่าวดีก็คือน้องยุ้ยเริ่มช่วยทำอาหารประจำการหน้าเตาต้ม มีอาเจ็กอยู่หน้าเตาทอด สลับกับอาอี๊ จึงมั่นใจได้ว่าต่อไปจะมีทายาทสืบทอดการทำร้านเจ๊เก๊กฮวยอย่างแน่นอนนะจ๊ะ

ปลาจวดทอด

 

เจ๊เก๊กฮวย

โดย คุณเนาวรัตน์ เนติเวชวิทยา

ที่ตั้ง 177 ซอยบางจะเกร็ง 2 ถนนพระราม 2 ต.แม่กลอง อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม 75000

โทร 0-3471-1964, 08-7155-1694

เปิดบริการ 07.00-14.30 น. ทุกวัน

หยุด เมื่อมีธุระ (ไปหาหมอ)

แนะนำ ปลาทูทอดน้ำปลา ปลาทูต้มมะนาว ปลาทูตาเตี๊ยะ หมึกผัดกะปิ ผักบุ้งผัดกะปิ เนื้อปลากะพงผัดฉ่า ปลาดุกทะเลผัดฉ่า ปลาจวดทอดน้ำปลา

The post คอลัมน์ ตามรอยพ่อไปชิม : สุดยอดปลาทูทอดน้ำปลา ร้านเจ๊เก๊กฮวย แม่กลอง โดย ปิ่นโตเถาเล็ก appeared first on มติชนออนไลน์.

เมืองขยาย คลองต้องอยู่ คนต้อง ‘ไปต่อ’ สำรวจคุ้งน้ำ ‘ฝั่งธนฯ’ วางแผน ‘เส้นทาง’ ของพรุ่งนี้

$
0
0

กรุงเทพฯ นครหลวงของประเทศไทยที่ตัวเมืองขยับขยายพื้นที่ความเจริญมากขึ้นทุกวัน

เช่นเดียวกับทางเลือกการคมนาคมทางบก จากถนน สู่รถไฟฟ้าทั้งบนดินและใต้ดิน

ทว่า แม่น้ำลำคลองที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลังเมื่อครั้งถนนคอนกรีตมาแทนที่ ก็ได้ย้อนคืนสู่สปอตไลต์ในการฟื้นฟูทั้งจากภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าจะเป็นไปด้วยเหตุและผลด้านการอนุรักษ์ในนิยามโลกสมัยใหม่ ไม่ว่าจะด้วยอารมณ์ความรู้สึกรำลึกความหลัง ไม่ว่าจะความพยายามก้าวข้ามสู่ความเป็นสากล หรืออื่นใด แต่ก็ทำให้เกิดความพยายามหันกลับมาพัฒนาคูคลองมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

ล่าสุด โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองโอ่งอ่าง ในฝั่งพระนคร ได้รับรางวัล 2020 Asian Townscape Awards จากโครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (United Nations Human Settlements Programme: UN-HABITAT)

เส้นทางจักรยานริมคลองบางมด

ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี บอกว่า โครงการนี้จะเป็นต้นแบบของการปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่อื่นๆ ทั่วประเทศ รวมถึงเป็นต้นแบบการพัฒนาให้กับหลายๆ ประเทศทั่วโลก ในการปรับปรุงพื้นที่ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ส่งผลในแง่บวกทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยที่ผ่านมาเฉพาะในกรุงเทพมหานคร มีการปรับปรุงและอยู่ในระหว่างการปรับปรุงคลองแล้วหลายสาย เช่น คลองหลอด คลองผดุงกรุงเกษม คลองลาดพร้าว คลองช่องนนทรี โดยมีเป้าหมายสำคัญคือการปรับภูมิทัศน์พื้นที่เมือง

นอกจากนี้ยังระบุด้วยว่า มีการวางแนวทางการปรับปรุงที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวชุมชน รักษาเอกลักษณ์ของพื้นที่ พร้อมเพิ่มกิจกรรมใหม่ๆ ให้มีความหลากหลาย เพิ่มพื้นที่สีเขียวโดยรอบคูคลองให้กลายเป็นที่พักผ่อน รวมถึงการเชื่อมโยงการเดินทาง ซึ่งผลที่ได้มาคือ มูลค่าทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะถูกพัฒนาต่อยอดจากมรดกทางวัฒนธรรม ทั้งยังเป็นการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับวิถีชุมชนเข้าไว้ด้วยกัน จึงเป็นแนวการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ฟังดูเป็นสูตรสำเร็จ แต่หากทำได้จริงก็ต้องปรบมือดังๆ จึงยังต้องจับตา

จากฝั่งพระนคร ย้อนไปดูฝั่งธนบุรี ซึ่งแม่น้ำลำคลองยังมีบทบาทในวิถีชีวิตอยู่มากพอใช้ และอาจเกินกว่าที่คนในเมืองจะจินตนาการ

ล่าสุด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) หรือที่คนพื้นที่มักเรียกติดปากว่า ‘เทคโนบางมดฯ’ ผุด ‘โครงการสำรวจข้อมูลกายภาพพื้นที่ริมน้ำต้นแบบเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตเมืองเพื่อเปรียบเทียบผลกระทบเกาะความร้อนในพื้นที่แนวคลอง’ ชื่อโครงการยาวมาก แต่ทำความเข้าใจได้ไม่ยาก

ดร.กัญจนีย์ พุทธิเมธี

ดร.กัญจนีย์ พุทธิเมธี อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี อธิบายว่า โครงการนี้ทำการศึกษาและสำรวจพื้นที่คลองย่านฝั่งธนบุรี การสำรวจ 4 เขตนำร่อง ประกอบด้วย 1.เขตทุ่งครุที่มีโครงข่ายคลองเชื่อมโยงขนาดใหญ่ที่สามารถเชื่อมไปยัง 2.เขตจอมทอง 3.เขตธนบุรี และ 4.เขตคลองสาน เพื่อศึกษาคุณภาพน้ำคลอง คุณภาพสิ่งแวดล้อม รวมถึงศักยภาพของชุมชนริมน้ำ โดยดำเนินการสำรวจไปแล้วระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2563

“พื้นที่ริมน้ำและพื้นที่สีเขียวร่วมกันเป็น Cool Spot ของกรุงเทพฯ ถ้าดูแผนที่จะเห็นว่าใจกลางกรุงเทพฯนั้น มีพื้นที่สีเขียวน้อยมาก แต่เขตทุ่งครุยังมีพื้นที่สีเขียวที่เป็น Cool Air อยู่มาก ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเก็บข้อมูลเพื่อพิสูจน์ว่าพื้นที่เขตทุ่งครุสามารถใช้เป็นพื้นที่ฟอกอากาศ ที่จะเป็นประโยชน์กับกรุงเทพฯ ช่วยทำอากาศเย็นให้กับกรุงเทพฯได้หรือไม่ โดยการทำงานแบ่งออกเป็น 4 ทีม คือ ทีมสำรวจ ทีมวิเคราะห์ข้อมูลและแผนที่ ทีมประสานงาน และทีมชาวบ้าน เพื่อหาคำตอบใน 3 เรื่อง คือ คุณภาพชีวิตชุมชนริมน้ำ คุณภาพน้ำ และคุณภาพอากาศ” ดร.กัญจนีย์กล่าว

ถามว่า ข้อมูลที่ได้มา นอกเหนือจากเหตุผลเชิงวิชาการ ชาวเมืองและชาวบ้านจะได้อะไร ?

คำตอบคือ ข้อมูลเหล่านั้นจะถูกนำมาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในประเด็นของเส้นทางเชื่อมต่อเส้นทางคลองในพื้นที่ฝั่งธนบุรี และแน่นอนว่ารวมถึงการพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจ กระจายรายได้

“โครงการนี้ได้รับเงินสนับสนุนจากเครือข่ายพันธมิตรอเมริกาจัดซื้อ Weather Station นำไปติดตั้งบริเวณริมคลอง ใน 4 จุดที่กำหนด เพื่อวัดค่าอากาศ อุณหภูมิ (Temperature Control) แรงลม (Wind Load) และค่าฝุ่น PM2.5 อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนเครื่องมือจากคณะวิทยาศาสตร์ มจธ.ในการวัดคุณภาพน้ำ เพื่อสะท้อนข้อห่วงกังวลของชุมชนในเรื่องความเค็มของน้ำ และน้ำเสีย โดยเครื่องมือวัดประกอบด้วย การวัดค่าความเค็มของน้ำ สภาพนำไฟฟ้าของน้ำ ปริมาณของแข็งละลายน้ำทั้งหมดในน้ำ ค่าที่ตรวจวัดได้นี้ ใช้ประเมินการรุก หรือการหนุนของน้ำทะเลสู่คลอง และการวัดปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ ที่จะบ่งบอกการเน่าเสียของน้ำในคลอง ซึ่งทั้งหมดดำเนินการพร้อมกับการสำรวจคลองอื่นๆ ที่สามารถใช้สัญจรได้ และคลองที่มีเส้นทางเลียบคลอง เพื่อเข้าไปทำกิจกรรมเพื่อทำให้โครงการท่องเที่ยวเกิดขึ้นได้จริง

นอกจากนี้ ในอนาคตหากมีรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้ามหานคร (MRT) ในพื้นที่ทั้ง 4 เขต เชื่อมต่อกันจะช่วยเพิ่มศักยภาพ หรือความเป็นไปได้ในการขยายเส้นทางการคมนาคมให้ครอบคลุมมากขึ้นได้”ดร.กัญจนีย์อธิบาย ก่อนย้อนเล่าด้วยว่า นี่ไม่ใช่โครงการแรกที่ทางมหาวิทยาลัยทำโครงการที่ร่วมกับชุมชนในพื้นที่ตั้งของสถาบันการศึกษา แต่ในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา ได้จัดโครงการบางมดเฟสติวัล โครงการทางเดินจักรยานเลียบคลอง โครงการคลองสร้างสรรค์ชุมชนสร้างสุข และโครงการเปิดบ้านเปิดคลองเปิดวิถีบางมด ก่อนมาถึงโครงการล่าสุดนี้ ที่มุ่งเน้นการศึกษาพื้นที่ริมน้ำ วิถีชีวิตการทำเกษตรของชุมชนริมคลอง เพื่อพัฒนาชุมชนและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพื้นที่ริมคลอง เช่น ชุมชนริมคลองบางมด ในอดีตส่วนใหญ่ทำเกษตรสวนส้มเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “ส้มบางมด” แต่ภายหลังเกิดน้ำท่วม และน้ำเสีย ทำให้สวนส้มบางมดที่รู้จักนี้มีจำนวนลดลงจนแทบไม่เหลือ และเพื่อที่จะสามารถช่วยชุมชนให้มีรายได้โดยใช้วิถีชีวิตริมคลองที่เป็นเอกลักษณ์ ทางคณะผู้จัดทำโครงการจึงได้นำเอาแนวคิด เช่น “การท่องเที่ยวทางน้ำตามเส้นทางคลอง” เข้ามาทดลองดำเนินการในพื้นที่ เพื่อทดแทนการทำเกษตรแบบในอดีตที่ปัจจุบันแทบจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้อีกแล้ว

ด้าน วิไลวรรณ ประทุมวงศ์ และ พรทิพย์ ลิมปิชัยโสภณ ทีมวางแผนและประสานงาน สำรวจ วิเคราะห์ข้อมูล และแผนที่ เล่าถึงขั้นตอนการทำงานว่า หลังจากได้ข้อมูลทางทีม จะนำมาทำการวิเคราะห์ เพื่อจัดทำเป็นแผนที่ของทั้ง 4 เขต โดยแบ่งเป็น 2 เรื่องหลัก คือ

1.เรื่องการเดินทางและศักยภาพ พบว่าพื้นที่ทั้ง 4 เขตมีศักยภาพสูงมากในการเป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อกันและเป็นเส้นทางสัญจรหลักในอนาคต ถ้าใช้คลองให้เกิดประโยชน์ เมื่อมีรถไฟฟ้าเข้ามาในพื้นที่ก็จะสามารถเชื่อมต่อได้อย่างดี แต่จากที่ได้สำรวจพบว่าปัจจุบันคลองหลายๆ สายในฝั่งธนบุรี เช่น คลองเขตธนบุรี และเขตคลองสาน เรือไม่สามารถผ่านได้ เนื่องจากลักษณะคลองที่แคบและตื้นเขิน อีกทั้งมีโครงสร้างหลายอย่างกีดขวางเส้นทาง นอกจากนี้คุณภาพน้ำสกปรกและมีกลิ่นเหม็น

จากข้อมูลเบื้องต้นทำให้สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาแนวทางเป็นไปได้ที่จะสามารถทำให้การสัญจรเชื่อมต่อกัน เช่น คลองสายใดมีศักยภาพที่สามารถทำเป็นเส้นทางคลองเพื่อการท่องเที่ยวได้ อนาคตอาจจัดเป็นเรือโดยสารสาธารณะ หรือหากคลองสายใดที่เรือไม่สามารถสัญจรได้อาจทำเป็นเส้นทางคนเดินริมคลอง และไปเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า เป็นต้น

2.เรื่องข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม พบว่าปัจจุบันพื้นที่ตั้งแต่เขตจอมทองถึงเขตทุ่งครุเกือบทั้งหมด ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ทั้งเรื่องคุณภาพน้ำ สิ่งมีชีวิตในน้ำ ยังไม่ค่อยถูกทำลาย ทรัพยากรส่วนใหญ่ยังคงมีความอุดมสมบูรณ์ แต่พื้นที่เขตธนบุรี และคลองสาน สภาพทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมค่อนข้างเสื่อมโทรม หลายแห่งเสื่อมโทรมไปแล้ว เช่น คลองบางไส้ไก่ เมื่อก่อนใช้ในการสัญจรแต่ปัจจุบันกลายเป็นเพียงคลองระบายน้ำเสียเท่านั้น เนื่องจากคลองสานเป็นชุมชนที่ค่อนข้างหนาแน่นถึงแออัด และกลายเป็นชุมชนเมืองที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว อีกทั้งการวางแผนระบบจัดการน้ำเสียของชุมชนยังไม่มีประสิทธิภาพมากนัก ขณะที่เขตทุ่งครุมีสภาพผสมผสานกันระหว่างชุมชนกับสิ่งแวดล้อมค่อนข้างมาก แต่ในอนาคตหากมีรถไฟฟ้าเข้ามาทำให้การสัญจรคล่องตัวมากขึ้น ดึงดูดผู้คนให้เข้ามาอาศัยมากขึ้น เมืองขยายตัวมากขึ้น แนวทางการรักษาสิ่งแวดล้อมให้ดีดังเดิม และการพัฒนาการท่องเที่ยวท้องถิ่นที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับชาวบ้านชุมชนริมคลองได้อย่างไร

มาถึงตรงนี้ ดร.กัญจนีย์ เสริมว่า หากเขตทุ่งครุทำทางจักรยานเลียบคลองต่ออีก 2 กิโลเมตรได้จริง จะสามารถทำให้ปั่นจักรยานจากฝั่งคลองบางมดไปถึง MRT ใหม่ของเขตได้ ซึ่งในเขตมีทางเลียบคลองอยู่บางส่วนแล้ว ปัจจุบันขาดอีกประมาณ 2 กิโลเมตร ถ้าเชื่อม 2 กิโลเมตรนี้ได้ ก็จะสามารถปั่นจักรยานหรือขี่จักรยานยนต์ไปขึ้นรถไฟฟ้าใต้ดิน หรือเอ็มอาร์ที จากอีกด้านหนึ่งได้

“คล้ายการวางแผนผังเส้นทางย่านฝั่งธนบุรีล่วงหน้า”

ทีมข่าวเฉพาะกิจ

The post เมืองขยาย คลองต้องอยู่ คนต้อง ‘ไปต่อ’ สำรวจคุ้งน้ำ ‘ฝั่งธนฯ’ วางแผน ‘เส้นทาง’ ของพรุ่งนี้ appeared first on มติชนออนไลน์.

ก่อนเดือนมีนาจะพ้นผ่าน ชีวิตในม่านฝุ่นPM2.5 มลพิษในเขตเมือง เรื่อง‘ซีเรียส’กว่าที่เคยรู้

$
0
0

“ในช่วงเวลาที่เกิดปัญหามลพิษทางอากาศมากๆ คือเดือนพฤศจิกายนจนถึงมีนาคม การติดตามข่าวสารและปฏิบัติตามคำแนะนำเป็นสิ่งสำคัญที่สุด”

คือคำแจ้งเตือนจากผู้เชี่ยวชาญอย่าง นพ.ศิระ เลาหทัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ศัลยศาสตร์ทรวงอกเฉพาะทาง ด้านโรคปอด โรงพยาบาลวชิรพยาบาล ในช่วงเวลาที่หลายจังหวัดโดยเฉพาะในเขตเมืองของพื้นที่ภาคเหนือ โดยเฉพาะเชียงใหม่ เชียงราย รวมถึงกรุงเทพมหานคร กำลังประสบปัญหามลภาวะทางอากาศที่มีความรุนแรงมากขึ้นทุกที

จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกพบว่าปัญหามลภาวะทางอากาศเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในลำดับที่ 5 ประชากรที่เสียชีวิตในโลก จำนวน 4.2 ล้านคน มีสาเหตุเกี่ยวเนื่องจากปัญหามลพิษทางอากาศ ที่พบบ่อยเป็นลักษณะแบบ Particulate matter (PM) เป็นฝุ่นละอองที่มีทั้งของเหลวและของแข็ง ซึ่งเป็นโลหะพิษ (toxic compound) และสารประกอบไฮโดรคาร์บอน (hydrocarbon) แขวนลอยในอากาศโดยที่ผิวของฝุ่นละอองจะมีโลหะพิษผสมอยู่เช่น สารหนู (arsenic) ตะกั่ว (lead) แคดเมียม (cadmium) ส่งผลให้มีสภาพความเป็นกรดที่ผิวของฝุ่นละออง การแยกชนิดของฝุ่นละอองขนาดเล็กแบ่งตามขนาดออกได้เป็น 4 ประเภทโดยขนาดยิ่งเล็กเท่าไรยิ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพ

ฝุ่นละอองขนาดเล็ก จะเกาะติดบริเวณช่องปาก คอ และลิ้น ส่งผลให้คัดจมูก แสบตา เจ็บคอ จาม ไปจนถึงการลงไปยังหลอดลม และขั้วปอดส่วนต้น ก่อให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อบริเวณดังกล่าว ทำให้มีอาการ ไอ หอบเหนื่อยมากขึ้นในผู้ป่วยโรคหืด และในกรณีของฝุ่น PM2.5 จะสามารถลงไปจนถึงหลอดลมฝอย และถุงลม ได้

นพ.ศิระ ย้ำด้วยว่า มาตรการรณรงค์เพื่อป้องกันและลดปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 ในระยะยาว ควรรณรงค์ให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชน โดยเฉพาะประชาชนกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กทารก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง เป็นต้น ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำในการ ลด ละ เลิก กิจกรรมกลางแจ้งเมื่อมีคำเตือน และใช้หน้ากากอนามัย หรือหน้ากาก N95 ถ้ามีความจำเป็นต้องสัมผัสฝุ่นละออง โดยฝุ่นละออง
ขนาดเล็กในอากาศมีผลต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยเฉพาะฝุ่น PM2.5 ที่สามารถลงไปจนถึงถุงลมปอดก่อให้เกิดปัญหาทางเดินหายใจและเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น

ด้าน นพ.ยุทธนา อภิชาตบุตร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อายุรกรรมโรคปอด โรงพยาบาลวชิรพยาบาล หยิบยกข้อมูลของ กรมควบคุมมลพิษ ซึ่งมีรายงานในปี 2561 ว่า ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรม รวมไปถึง
ยานพาหนะก่อให้เกิดฝุ่นละอองอย่าง PM2.5 โดยสาเหตุมักเกิดจากการเผาไหม้ในที่โล่งในทางเกษตรกรรม การเผาไหม้น้ำมันดิบ ไอเสียรถยนต์ดีเซล การเผาไหม้ในเตาเผาครัวเรือน

การรายงานระดับความรุนแรงของมลพิษในอากาศ จะรายงานเป็นภาพรวม โดยรวมเอา particulate matter (PM10, PM2.5), carbon monoxide, ozone, nitrogen dioxide และ sulfur dioxide มาคำนวณเรียกว่า Air Quality Index (AQI) โดย AQI ในประเทศไทยจะแบ่งเป็น 5 ระดับโดยระดับสูงสุด คือ AQI ที่มากกว่า 201 ขึ้นไป ในเรื่องของค่าความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศที่เทียบเท่ากับค่าดัชนีคุณภาพอากาศ โดยค่าเฉลี่ย PM2.5 นั้น จะรายงานเป็นค่าเฉลี่ยต่อเนื่อง

“PM2.5 นั้น ส่งผลทำให้การต่อต้านอนุมูลอิสระลดลง ธาตุโลหะ เช่น เหล็ก ทองแดง วาเนเดียม และแมงกานีส บนผิว PM2.5 ทำให้ความแข็งแรงของเซลล์ลดลงเกิดการตายของเซลล์ นำไปสู่การอักเสบของเนื้อเยื่อ และการทำงานของอวัยวะต่างๆ ผิดปกติ โดยฝุ่นละอองขนาดเล็กกับระบบทางเดินหายใจนั้น อาจก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้กำเริบได้โดยเฉพาะในส่วนโรคระบบทางเดินหายใจ และยังส่งผลทำให้มีอัตราการ
เจ็บป่วยเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ โรคหอบ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ปอดติดเชื้อ โดยเฉพาะกลุ่มโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังพบว่าอัตราการเสียชีวิตจะเพิ่มขึ้นในระดับของ PM2.5 ที่เพิ่มขึ้น” นพ.ยุทธนากล่าว ทั้งยังอธิบายเพิ่มเติมถึงผลของฝุ่นละอองต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ที่ส่งผลทำให้ระบบเยื่อบุหลอดเลือดผิดปกติ ซึ่งก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดแข็งตัว ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจโต และหัวใจวาย

สำหรับอีกหนึ่งประเด็นที่ผู้คนหวาดหวั่น อย่างโรคร้ายอย่าง ‘มะเร็ง’ นั้น ฝุ่น PM2.5 มีความเป็นพิษต่อยีนโดยตรง ทำให้สารพันธุกรรมเสียหาย โดยสัมพันธ์กับการก่อให้เกิดมะเร็งปอด นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบถึงระบบอื่นๆ เช่น ระบบไต ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบประสาทส่วนกลาง
และอื่นๆ อีกด้วย

แม้สังคมไทยจะรับรู้ถึงพิษร้ายของฝุ่นจิ๋วตัวฉกาจอย่างแพร่หลาย แต่การอัพเดตข้อมูลใหม่ๆ ผลิตซ้ำย้ำเตือนถึงอันตรายของมลพิษทางอากาศครั้งสำคัญในห้วงเวลานี้ ก็สำคัญยิ่ง

The post ก่อนเดือนมีนาจะพ้นผ่าน ชีวิตในม่านฝุ่นPM2.5 มลพิษในเขตเมือง เรื่อง‘ซีเรียส’กว่าที่เคยรู้ appeared first on มติชนออนไลน์.

Viewing all 6405 articles
Browse latest View live